สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 29 เม.ย. 67
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:<< < | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 ทุกหน้า
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 347 - [20 ก.ย. 50, 00:18] ดู: 269,140 - [29 เม.ย. 67, 14:31] โหวต: 21
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 326: 20 ก.พ. 51, 19:38
วันนี้ขอนำเสนอตัวนี้ดีกว่าครับ เป็นปลาที่ถูกพบใน แม่น้ำ Amur. หรือที่เรียกอีกอย่างว่า แม่น้ำ Heilong
วันนี้ขอนำเสนอตัวนี้ดีกว่าครับ เป็นปลาที่ถูกพบใน แม่น้ำ Amur. หรือที่เรียกอีกอย่างว่า แม่น้ำ Heilong jiang. จัดว่าเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกอันดับที่9ครับ.

Siniperca chuatsi. ( Basilewsky,1855)
ชื่อทั่วไป    = Chinese perch. (ไช-นีส-เพิรช์)

แหล่งที่พบ  = บริเวณตอนกลาง และ ตอนล่างของแม่น้ำ Amur.

ขนาด        = ในบางเว็บระบุว่ายาวได้ถึง 70 ซม. ในหนังสือระบุอยู่ที่ 30 ซม.

อาหาร        = เป็นปลาล่าเหยื่อ.
** ในบางประเทศ นำปลาชนิดนี้เข้า เพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และบางประเทศ นำเข้าเพื่อนำมาทำเป็นปลาเศรษฐกิจ **

** อุณหภูมิ = 4-22 องศาเซลเซียส ค่า Ph>7.

ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 327: 28 ก.พ. 51, 19:51
กลับไปที่แอฟริกากันอีกสักครั้ง ต้องยอมรับว่าดินแดนแห่งกาฬทวีปมีอะไรที่น่าสนใจมากทั้งบนบก และในน้ำ ถ้
กลับไปที่แอฟริกากันอีกสักครั้ง ต้องยอมรับว่าดินแดนแห่งกาฬทวีปมีอะไรที่น่าสนใจมากทั้งบนบก และในน้ำ ถ้าในน้ำคงจะพูดถึงทะเลสาบ ทะเลสาบที่นักตกปลา นักเลี้ยงปลา กล่าวขวัญหลักๆคงไม่หนี ทะเลสาบมาลาวี ทังกันยิกา และวิคตอเรีย ปลาที่อยู่ในแต่ละทะเลสาบก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป วันนี้มีโอกาสน้อยๆหยิบเอาหนังสือ Tfh. ไปอ่านขณะนั่งรถไปหาน้านุ้ย ที่กรมฯ เพื่อถามรายละเอียดเกี่ยวกับ "ปลาเม็ง" ชนิดในไทยแท้ๆ ในหนังสือผมเจอปลาสกุลนึงที่ จะบอกว่า เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีก็ว่าได้ครับ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 328: 28 ก.พ. 51, 20:11
Bagrus meridionalis.

ชื่อทั่วไป     = ในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า " kampango."

ขนาด         = ตัวผู
Bagrus meridionalis.

ชื่อทั่วไป    = ในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า " kampango."

ขนาด        = ตัวผู้โตเต็มวัยประมาณ 50 ซม. ขณะที่ตัวเมียจะใหญ่กว่าประมาณ 70 ซม. มีรายงานว่าเคยพบใหญ่สุดเป็นตัวผู้ยาว 150 ซม.ในปี ค.ศ.1992.

แหล่งที่พบ  = เป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบได้ในที่เดียวคือ ทะเลสาบมาลาวี

อาหาร        = ในช่วงเลากลางวันจะหลบพักผ่อนตามหลืบหิน และ ถ้ำ มักหากินในช่วงกลางคืน อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกปลาหมอสี ปู เป็นต้น

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 329: 5 มี.ค. 51, 22:05
ในกลุ่มปลาหนวดที่มีเสน่ห์สำหรับคนที่รักปลา วันนี้ผมขอพูดถึงปลาในสกุล Synodontis. หรือที่บ้านเราเรียก
ในกลุ่มปลาหนวดที่มีเสน่ห์สำหรับคนที่รักปลา วันนี้ผมขอพูดถึงปลาในสกุล Synodontis. หรือที่บ้านเราเรียกปลาแมวบ้าง ปลาแมวกลับหัวแอฟริกันบ้าง. จำนวนชนิดของปลาในสกุล( Genus.) นี้มีมากถึง 120 กว่าชนิดทีเดียวเชียวแหละครับ แต่ละชนิดก็มีลวดลายสวยงามแตกต่างกันไป บางชนิดก็เป็นลายริ้ว บางชนิดเป็นจุด เป็นต้น แต่ตัวเองดันมาสะกิดใจอยู่ชนิดนึงครับ แต่อย่าเพิ่งตกใจกับภาพที่นำออกมาให้ชมกันน่ะครับน้าๆน้องๆ. 

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 330: 5 มี.ค. 51, 22:31
Synodontis xiphias.

ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1864 หรือในปี พ.ศ.2407 โดย กุนเธอร์ 

ถูกค้นพบใน
Synodontis xiphias.

ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1864 หรือในปี พ.ศ.2407 โดย กุนเธอร์

ถูกค้นพบในแถบประเทศ ไนเจอร์ ไนจีเรีย มาลี และกินี.

ความยาวโดยประมาณ = 58-70 ซม.

อาหาร  = สกุลปลาชนิดนี้โดยทั่วไปถือว่าเป็น Omnivorous. คือกินทั้งเนื้อและพืช.

ในรายละเอียดของปลาชนิดนี้มีไม่มากนักครับ แต่เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปทรงแปลกไปถ้าเทียบกับปลาแมวชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน ถ้าจะให้อธิบายลักษณะภายนอกหรือที่นักอนุกรมวิธานเรียกว่า มอร์โฟโลยี่ ก็มีครับแต่เกรงว่าตนเองจะแปลให้น้องๆที่สนใจตีความหมายผิด หรือ ถ้าจะให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษถ้าน้องๆหรือน้าท่านใดต้องการโพสท์มาบอกเลยน่ะครับ ยินดีอย่างยิ่งครับผม. สุดท้ายขอขอบคุณที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับ.

กระทู้: 3
ความเห็น: 478
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 09-12-2550
aoot dy(59 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 331: 6 มี.ค. 51, 01:38
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 332: 11 มี.ค. 51, 01:08
คงจะพูดได้เต็มปากว่า ปลาสวยงามส่วนใหญ่ เป็นปลาที่ถูกจับจากธรรมชาติ ( wild caught.) เสน่ห์ของปลาในแต่
คงจะพูดได้เต็มปากว่า ปลาสวยงามส่วนใหญ่ เป็นปลาที่ถูกจับจากธรรมชาติ ( wild caught.) เสน่ห์ของปลาในแต่ละทวีปดึงดูดความสนใจของผู้เลี้ยงไม่มากก็น้อย เลยอยากนำเสนอสกุลปลาสกุลหนึ่งที่ถูกขนานนามว่า " Freshwater Barracuda." หรือ สกุล Acestrorhynchus. ในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 19 ชนิดที่ถูกระบุเอาไว้ในขณะนี้ สมัยก่อนผมเคยไปแอบเปิดอ่านหนังสือ Atlas. ของ Dr.Herbert R. Axelrod. ต้องขอบอกว่าสมัยนั้นใฝ่ฝันอยากได้เป็นเจ้าของ แต่ติดสนนราคาที่เกือบๆ 5,000 บาท นี่แหละครับ ในกลุ่มปลาบาราคิวด้าน้ำจืดมีอยู่ชนิดนึงที่ถูกใจมาก จากในหนังสือน่ะครับ คือ Acestrorhynchus grandoculis. ผมถูกใจกับปลาล่าเหยื่อมาก ถึงขนาดถูกทำให้หลงซื้อเจ้า ปลาบาราคิวด้าสกุล Altus. มาเลี้ยงในราคาที่เขางอกบนหัวเลยล่ะครับ. ลองมาดูว่าเจ้านี่ซึ่งไม่มีคนขายเท่าไหร่ จะเป็นเพราะไม่รู้จัก ราคาสูง หรือ อย่างไรไม่ทราบได้ตรับ. จะมีเสน่ห์อย่างไร ลองดูรูปที่ลงไว้น่ะครับ.

Acestrorhynchus grandoculis.Menezes  & Gery,1983.

ไม่มีชื่อเรียกทั่วไป ในกลุ่มนี้มักจะเรียกรวมๆอย่าง "Pike characin. หรือ Cachorros."

ความยาว      = ยาวสูงสุดประมาณ  38 ซม.

แหล่งที่พบ    = แม่น้ำริโอ เนโกร แม่น้ำโอริโนโค ในเขต ประเทศบราซิล และ เวเนซูเอลล่า.

อาหาร            = ปลา หรือ สัตว์น้ำขนาดเล็ก  ปลาชนิดนี้หากินในระดับพื้นน้ำ กลางน้ำ หรือ บริเวณเกือบจะถึงผิวน้ำในบางครั้ง.

เนื่องจากปลาบาราคิวด้าน้ำจืดมีหลายชนิด เลยมีการแยกกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อสังเกตุแบบง่ายๆครับ.

1) แถบยาวขนานลำตัว ปลาในกลุ่มนี้มีขนาดเล็กไม่เกิน 6 นิ้ว.
2) สังเกตุจุดดำต่อจากที่เปิดปิดเหงือก นี่ก็อีกกลุ่ม
3) กลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มปลาที่มีขนาดยาวสุด เกิน 12 นิ้ว สังเกตได้จากปลายปากจะโค้วลงเล็กน้อย.

สุดท้ายขอขอบคุณน้าๆน้องๆที่เข้ามาชมน่ะครับ.

กระทู้: 287
ความเห็น: 35,960
ล่าสุด: 29-04-2567
ตั้งแต่: 14-07-2549
kanok(17611 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 333: 11 มี.ค. 51, 05:29
 :laughing: :laughing:
 [q]มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP [/q]
ตาม ชื่อกะทู้ ตอบตามคว

มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP

ตาม ชื่อกะทู้ ตอบตามความเป็นจริง ประสบการณ์ จริง อิอิ
....ตัวนี้ไง ที่ตกได้ด้วยMINI FAT RAP ....ทีนี้ตอบตรงคำถามซะที ฮ่าๆๆๆ...
หวัดดีน้าจิรชัย ง่วงแล้วนอนก่อนนะ แล้วจามาป่วนใหม่




กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 334: 16 มี.ค. 51, 09:34
เล่าสู่กันฟังสำหรับคอสกุลปลาช่อน ในวงการปลาสวยงามของต่างประเทศรู้จักปลาชนิดนึงที่คล้ายปลาชะโดมาก ตั้
เล่าสู่กันฟังสำหรับคอสกุลปลาช่อน ในวงการปลาสวยงามของต่างประเทศรู้จักปลาชนิดนึงที่คล้ายปลาชะโดมาก ตั้งแต่ไซส์ลูกยันไซส์ใหญ่ ปลาชนิดนี้มีนามกรชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa diplogramma.( ชาน-นา-ดิพ-โพล-แกรม-มา.) ในขณะที่ปลาชะโดบ้านเรามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes ( ชาน-นา-ไมร-โคร-เพลล์-เทส.) ถ้าอย่างนั้นเรามาลองดูรายละเอียดของปลาชนิดนี้กันก่อนน่ะครับว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างเอ่ย?

Channa diplogramma.?

ชื่อทั่วไป      = ยังไม่ถูกระบุอย่างแน่นอน.

ขนาด          = ยังไม่ระบุ.

แหล่งที่พบ    = บริเวณแหล่งน้ำจืดแถบชายฝั่งทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ( Malabar coast.) ในรัฐ เคราล่า ( Kerala state.)

อาหาร          = สัตว์น้ำขนาดเล็กต่างๆ.

**หมายเหตุ** ชื่อ Channa diplogramma. ในเดือนตุลาคมตรงกับปีพุทธศํกราชไทยในปี พ.ศ.2406 ท่านด็อคเตอร์ Day. ท่านมีการระบุชื่อของปลาชนิดนี้ไว้ด้วยจากตัวอย่างที่พบในเมือง โคชิน ( Cochin.) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย.

    ต่อมามีการระบุว่าจริงๆแล้วปลา Channa diplogramma. เป็นปลาเบบี๋ของปลาชะโด ( Channa micropeltes.)

    แต่ถึงกระนั้นอยากฝากบอกกับน้าๆน้องๆที่หลงใหลปลาสกุลนี้ อย่าเพิ่งตัดความเป็นไปไม่ได้ ว่า Channa diplogramma.ไม่มีจริงหรอก? หรือ จริงๆแล้วมันคงเป็นเพียงแค่ปลาชะโดที่พบในอินเดีย เราคงต้องรอคำตอบ จากที่พอทราบมาเมื่อมีการตีพิมพ์เอกสารออกมาให้ทั่วโลกรับรู้ล่ะครับ  ส่วนตัวผมก็รออยู่และหวังว่าคงไม่นาน.
     
ส่วนตัวมีการตั้งข้อสังเกตุเล็กๆอยู่ว่า ปลาชะโดถูกตั้งคำถามว่า พบในพม่าบ้างหรือไม่? เพราะถ้าพบว่ามีอยู่จริง แสดงให้เห็นถึงว่าการกระจายของปลาในโซน ซุนดาเบอร์มีส เป็นจริงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอะไร และ มีความเป็นไปได้สูงว่า Channa diplogramma. คงเป็นชะโดจริงๆ แต่ถ้าไม่พบปลาชะโดในพม่า แสดงว่า การกระจายไม่ต่อเนื่อง จากข้อมูลที่ส่วนตัวพอทราบ ( ผิดถูกอย่างไรคงต้องรบกวนผู้รู้จริงๆช่วยโพสท์มาบอกด้วยน่ะครับ เพื่อประโยชน์กับผมและน้าๆน้องๆที่สนใจศึกษาปลา.) อย่างคร่าวๆการแบ่งชนิดของปลา ถ้าไม่ใช้เรื่องของโมเลกุลเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามความคิดผมน่าจะแบ่งตาม
1) จากสรีระภายในบางอย่างและภายนอกที่สังเกตุได้ชัดเจนหรือ ที่ผมเข้าใจว่าคือ หลัก Morphology.
2) แบ่งตามการกระจาย.

**หมายเหตุ** 
1) ปลาบางชนิดที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่เมื่อถูกนำไปตรวจ DNA. ผลตรวจระบุว่าเป็นคนละชนิดกันก็มีครับ.

สุดท้ายขอบคุณครับผมสำหรับที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ โดยส่วนตัวก็คงต้องรอสิ่งตีพิมพ์ออกมานั่นแหละครับ ว่าปลาที่มีลักษณะภายนอกทั้ง 2 ชนิดที่เหมือนกันมาก จะเป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่?

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 335: 31 มี.ค. 51, 07:38
Barbus bynni bynni ( Forsskal,1775.)

ชื่อทั่วไป         = ไนล์บารบ์ (Nile barb.) หรือ บีนนี่ ( Bi
Barbus bynni bynni ( Forsskal,1775.)

ชื่อทั่วไป        = ไนล์บารบ์ (Nile barb.) หรือ บีนนี่ ( Binni.)

ขนาด            = โดยเฉลี่ยประมาณ 60 - 82 ซม.

แหล่งที่พบ      = พบในแม่น้ำไนล์ แถบประเทศอียิปต์ และ ประเทศซูดาน นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในทะเลสาป Turkana.ของประเทศเคนยา และพบในประเทศเอธิโอเปีย.

อาหาร            =  เป็น Omnivores. กินทั้งพืช และ สัตว์น้ำเปลือกแข็ง.

อย่างที่เราทราบๆกันน่ะครับว่า ปลาในประเทศไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 90.เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน. อาจสรุปได้ว่าเท่าที่ทราบปลาในวงศ์ปลาตะเพียนยังสามารถพบเห็นการกระจายได้ในอีกทวีป คือ ทวีปแอฟริกา. ด้วยน่ะครับ.
สุดท้ายขอขอบคุณน้าๆน้องๆที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 336: 7 เม.ย. 51, 00:34
จากกระทู้บอกเล่าเก้าสิบตอน Freshwater puffer fishes. ผมได้พูดถึงปลากะทิงที่พบในเมืองไทยทั้ง 5 ชนิดไป
จากกระทู้บอกเล่าเก้าสิบตอน Freshwater puffer fishes. ผมได้พูดถึงปลากะทิงที่พบในเมืองไทยทั้ง 5 ชนิดไปแล้ว. เลยอยากจะทำความเข้าใจในวงศ์ปลากะทิงให้น้าๆน้องๆที่ต้องการข้อมูลของปลาในวงศ์นี้มากขึ้น.

วงศ์ปลากะทิง หรือ วงศ์ Mastacembelidae. ประกอบด้วยปลาใน 3 สกุลดังนี้คือ.
1) ปลาในสกุลปลาหลด หรือ สกุล Macrognathus.
2) ปลาในสกุลปลากะทิง หรือ สกุล Mastacembelus.
3) ปลาในสกุล Sinobdella. ปรากฏชนิดเดียวที่กล่าวถึงคือ Sinobdella sinensis. ซึ่งพบในจีน และ เวียตนาม.

ในสกุลปลากะทิง นอกเหนือจากปลากะทิงที่พบในทวีปเอเชียแล้ว คงจะพลาดมหันต์หากไม่พูดถึงปลากะทิงที่พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจริงๆแล้วปลากะทิงเชื้อสายแอฟริกันมี 2 สกุลคือ.
1) ปลากะทิงสกุล Caecomastacembelus. ที่ผมพอจะหาชนิดได้มีดังนี้ครับ.
1.1) C. albomaculatus.  1.2) C. frenatus  1.3) C. micropectus.  1.4) C. moorii. ( ที่ปรากฏเป็นภาพ.)  1.5) C. ophidium.  1.6) C. plagiostomus.  1.7) C. tanganicae.  1.8) C. zebratus.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 337: 7 เม.ย. 51, 00:41
2) ปลากะทิงในสกุล Aethiomastacembelus. ที่มีการกล่าวถึง มีดังนี้.
2.1) A. cunningtoni.   2.2) A. el
2) ปลากะทิงในสกุล Aethiomastacembelus. ที่มีการกล่าวถึง มีดังนี้.
2.1) A. cunningtoni.  2.2) A. ellipsifer. (ดังภาพที่ปรากฏ.)  2.3) A. flavidus.  2.4) A. platysoma.

ปลากะทิงทั้ง 2 สกุลนี้ถูกระบุว่าเป็นปลาถิ่นเดียว ที่พบเฉพาะในทะเลสาปทังกันยิกา.

สุดท้ายขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม.

 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 338: 29 เม.ย. 51, 21:15
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณน้าเว็บที่ส่ง password. ให้กับผมครับ และที่ขาดไม่ได้ขอขอบคุณน้า pop-pop ที่ช่
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณน้าเว็บที่ส่ง password. ให้กับผมครับ และที่ขาดไม่ได้ขอขอบคุณน้า pop-pop ที่ช่วยเหลือเรื่องการโพสท์ ขอบคุณน้าแมน และ น้าสุริยาด้วยน่ะครับ จากสาเหตุ คอมฯมันน๊อคสนิท ต้อง setup. ใหม่ ข้อมูลเก่าที่มีหายเรียบ เป็นเพราะตัวเองไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นเลยไม่เเบ็คอัพไฟล์ต่างๆที่มีอยู่เก็บไว้  มาวันนี้เลยควานหากระทู้ผมว่าไปอยู่ที่หน้าไหนหนอ เพราะวันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับปลาปลามาเล่าให้ฟังครับ เห็นหน้าตาน่ากลัวดี เลยนำมาแชร์ให้พี่ๆเพื่อนๆน้องๆได้ชมกันบ้างครับ.

กระทู้: 6
ความเห็น: 793
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 30-10-2550
ความเห็นที่ 339: 29 เม.ย. 51, 21:25
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 340: 29 เม.ย. 51, 21:35
Oedemognathus exodon  Myers,1936

ชื่อทั่วไป     =  Tooth-lip knifefish.

ขนาด         =  25 ซม.
Oedemognathus exodon  Myers,1936

ชื่อทั่วไป    =  Tooth-lip knifefish.

ขนาด        =  25 ซม. 

แหล่งที่พบ  =  เป็นปลาแห่งอเมโซเนียอีกชนิดที่มีกระแสไฟฟ้าในตัว จากตัวอย่างที่กล่าวอ้าง เก็บได้ใน เปรู บราซิล และ เวเนซูเอลล่า.

**หมายเหตุ**  ที่ดูนูนๆรอบปากนั่นคือฟันของเขาครับ.

อาหาร        =  มีการระบุว่าปลาชนิดเป็นปลาที่กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหารครับผม.

ต้องขอโทษน่ะครับที่จบไม่ค่อยลงด้วเท่าไหร่ เนื่องด้วยสมองไม่แล่น เพราะต้องตื่นแต่เช้ามืดทุกวัน เตรียมของทำแกงเพื่อขายช่วงเช้า บังเอิญพี่ชายถูกให้ออกจากงาน ด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เลยมาเปิดร้านข้าวแกงใกล้ๆบ้านครับ สายๆก็ไปทำงานปกติ แต่อย่างไรก็ยังยึดคอนเซ็พท์เดิมครับ คือ หาปลามาโพสท์ให้ชมกันครับ มันเหมือนกับผมได้ทบทวนตัวเองไปด้วย สุดท้ายขอขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 341: 30 เม.ย. 51, 20:16
หากระทู้ตัวเองไม่เจอขอโทษน่ะครับผม.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 342: 22 พ.ค. 51, 23:29
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอโทษน้าๆหรือน้องๆหลายท่านที่สนใจในกระทู้นี้ ยอมรับตรงๆว่าช่วงนี้ก
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอโทษน้าๆหรือน้องๆหลายท่านที่สนใจในกระทู้นี้ ยอมรับตรงๆว่าช่วงนี้กำลังวุ่นวายหลายอย่างมากครับ.

วันนี้เลยนำปลา salbouh abu-el-sian ชนิดเดียวที่ถูกพบในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลายท่านอาจสงสัยว่า " จริงๆแล้วมันคือปลาอะไร?" ผมไม่ขอตอบ แต่ ให้ชมภาพดูดีกว่าครับ.

 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 343: 22 พ.ค. 51, 23:48
คำตอบคือ " ปลากะทิง " แถมเป็นชนิดเดียวที่ถูกพบในตะวันออกกลาง. ลองมาชมรายละเอียดของปลาชนิดนี้ครับ.
คำตอบคือ " ปลากะทิง " แถมเป็นชนิดเดียวที่ถูกพบในตะวันออกกลาง. ลองมาชมรายละเอียดของปลาชนิดนี้ครับ.

Mastacembelus mastacembelus (Banks and Solander in Russell,1794.)

ชื่อทั่วไป        =  salbouh abu-el-sian.

แหล่งที่พบ      = ลุ่มน้ำ ไทกรีส-ยูเฟรตีส.

ความยาว        = 58 ซม. และอาจยาวได้ถึง 1 เมตร.

คุณลักษณะเฉพาะ.
1) หนามแหลมบนหลัง หรือ จริงๆแล้วคือ ก้านครีบแข็ง มีจำนวน= 30-35.
2) ขากรรไกรยาวได้ถึงขอบตาหน้า รูปทรงลูกตายาว.
3) ลวดลายลำตัวบางตัวมีทั้ง ลาย และ แถบ หรือ แม้แต่จุดกลม ส่วนท่อนบนอาจมีทั้งสีทึม สีน้ำตาล หรือ สีเทา กลางลำตัวลงมา จะออกสีเหลือง หรือ เหลืองอ่อน ซีด ปนสีขาว.

สุดท้ายขอบคุณน้าๆและน้องๆทุกท่านที่เข้ามชมกระทู้นี้น่ะครับ


กระทู้: 12
ความเห็น: 1,693
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 31-07-2550
sbb(122 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 344: 23 พ.ค. 51, 08:37
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 345: 6 มิ.ย. 51, 20:13
การบันทึกกระเบนจุดชนิดใหม่ใน suriname. แห่งอเมริกาใต้ . เจ้า Potamotrygon boesemani. ครับ


 :smi
การบันทึกกระเบนจุดชนิดใหม่ใน suriname. แห่งอเมริกาใต้ . เจ้า Potamotrygon boesemani. ครับ


กระทู้: 68
ความเห็น: 3,168
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-03-2550
ความเห็นที่ 346: 6 มิ.ย. 51, 20:55
อัปเดสเรื่อยๆเลยนะครับน้าแหมสุดยอดจริงๆน้าจริชัยของผมเนี้ยเก่งจริงๆ :cheer: :cheer:
อัปเดสเรื่อยๆเลยนะครับน้าแหมสุดยอดจริงๆน้าจริชัยของผมเนี้ยเก่งจริงๆ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 347: 7 มิ.ย. 51, 06:06
ขอบคุณครับน้าสุริยา มีข่าวสารอะไรเกี่ยวกับชนิดปลา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับปลาๆจะนำภาพและข้อมูลม
ขอบคุณครับน้าสุริยา มีข่าวสารอะไรเกี่ยวกับชนิดปลา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับปลาๆจะนำภาพและข้อมูลมาเผยแพร่ไปเรื่อยๆล่ะครับ ไม่เก่งเลยครับน้า ต้องหาไปเรื่อยๆ อยากเป็นแค่เบื้องต้นให้น้องๆน้าๆหลายท่านที่ชอบเรื่องแนวนี้มากกว่าครับ ผมยังห่างไกลกับคำว่า "เก่ง" อีกหลายขุมครับ แต่จะพยายาม.

 
หน้าที่:<< < | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 ทุกหน้า
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024