สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 5 พ.ค. 67
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 249 - [23 ก.ย. 50, 20:27] ดู: 164,239 - [5 พ.ค. 67, 17:48]  ติดตาม: 2 โหวต: 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
กระทู้: 60
ความเห็น: 7,841
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 14-09-2550
ความเห็นที่ 126: 3 พ.ย. 50, 13:47
เข้ามาเก็บความรู้ล้วนๆครับ ขอบคุณน้า จิรชัย มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกครับ 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 127: 3 พ.ย. 50, 22:06
COSMOCHILUS HARMANDI.
ตะกาก , หมากบาน ( ลาว )
แหล่งที่พบ = แม่นำเจ้าพระยา , แม่นำโขง.
ยาว = 1 เมต
COSMOCHILUS HARMANDI.
ตะกาก , หมากบาน ( ลาว )
แหล่งที่พบ = แม่นำเจ้าพระยา , แม่นำโขง.
ยาว = 1 เมตร.
อาหาร = บางตำราเป็น HERBIVORES.(กินพืช) , บางตำราเป็น OMNIVORES(กินทั้งพืชและสัตว์ - ซึ่งสัตว์ที่ว่าเป็นสัตว์เปลือแข็งขนาดเล็ก เช่น หอย เป็นต้น) ผมว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่างครับผม.
สวัสดีครับน้าพรานระพิน. เชิญตามสบายครับผม กลายเป็นตอนนี้เริ่มติดใจแล้วครับ ยอมรับว่าดีใจมากๆครับที่กระทู้ผมมีคนติดตาม แต่ส่วนตัวยอมรับนะครับ บางครั้งกลัวจะทำให้น้าๆบางท่านผิดหวัง หากน้าๆโพสท์ภาพปลามาถามผมแล้วผมหาคำตอบให้ไม่ได้ ผมอยากจะให้น้าๆทุกท่านรับผมเป็นส่วนนึงของชาวเว็บที่ชอบเลี้ยงปลาครับผม ไม่ได้เก่งกาจอะไร ถือว่ามีคนๆนึงมาโพสท์ภาพปลาให้ชมก็แล้วกันนะครับ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้น้องๆเด็กๆเข้ามาชมแล้วติดตามไปเรื่อยๆ ผมจะพยายามสอดแทรกรายละเอียดที่คิดว่า เป็นหลักทั่วไปในการดูลักษณะปลาจากภายนอก ข้อสังเกตว่าเป็นไปได้มั๊ยอย่างนี้. ขอบคุณอีกครั้งครับน้าที่เข้ามาชมกระทู้ของผมครับ ก่อนจากขอฝากไว้ประโยคนึงเป็นคำขวัญส่วนตัวใหม่ของผมครับ
" DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 128: 6 พ.ย. 50, 19:54
AMBLYRHYNCHICHTHYS TRUNCATUS.
ชื่อไทย = ตามิน.
ขนาด = 40 ซม.
แหล่งที่พบ = ลุ่มแม่นำ เจ้าพระยา แม่
AMBLYRHYNCHICHTHYS TRUNCATUS.
ชื่อไทย = ตามิน.
ขนาด = 40 ซม.
แหล่งที่พบ = ลุ่มแม่นำ เจ้าพระยา แม่นำโขง คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา  ตะวันตก และ ทางใต้ ของบอร์เนียว.
อาหาร = เป็นOMNIVORES.คือกินทั้งพืชและสัตว์(สัตว์ ในความหมายนี้เป็น แพลงค์ตอน)แต่สัดส่วนของพืช/สัตว์ = 80/20.
ช่วงเวลาวางไข่ = จากการสำรวจในเขื่อน สิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์ ปลาจะวางไข่ในช่วง เดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน.
"DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 129: 7 พ.ย. 50, 21:01
COILIA LINDMANNI.
ชื่อไทย = หางไก่.
ถิ่นที่อยู่ = ในข้อมูลพบใน เวียตนาม ไทย ตะวันออกเฉียงใต้ของสุม
COILIA LINDMANNI.
ชื่อไทย = หางไก่.
ถิ่นที่อยู่ = ในข้อมูลพบใน เวียตนาม ไทย ตะวันออกเฉียงใต้ของสุมาตรา. ส่วนในไทย มีรายงานพบในบึงบอระเพ็ด และจากรายงานการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบางปะกงในช่วงปี2547. หรือจากรายงานเรื่องประเด็นปัญหาและสภาวะวิกฤตของนิเวศลุ่มนำบางปะกงในปี2545.กับปี2548.  ได้กล่าวว่าปลาหางไก่เป็นอีกสายพันธุ์นึงที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์.
ความยาว = ในบางตำราระบุ 4-5ซม. แต่ก็มีบางเว็บอ้างอิงว่าเค้ายาวได้ถึง 20 ซม.
หมายเหตุ = ที่น่าเสียดายคือไม่มีรายงานถึงช่วงเวลาในการผสมพันธุ์และวางไข่ครับผม. ถ้าน้าๆท่านใดมีรายละเอียดรบกวนช่วยโพสท์มาแจ้งให้ทราบด้วยครับผม.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 130: 8 พ.ย. 50, 09:09
SETIPINNA MELANOCHIR.
ชื่อทั่วไป = DUSKY-HAIRFIN ANCHOVY.หรือ ปลาแมวหูดำ.
ขนาด = 33 ซม.
แหล่งที่พ
SETIPINNA MELANOCHIR.
ชื่อทั่วไป = DUSKY-HAIRFIN ANCHOVY.หรือ ปลาแมวหูดำ.
ขนาด = 33 ซม.
แหล่งที่พบ = พบได้ทั้งปากแม่นำ และแม่นำขนาดใหญ่ทั้งเจ้าพระยา ม.โขง หรือ แม้แต่ในอินโดนีเซีย ผมขออนุญาตอ้างอิงจากFISHBASE. มีการบันทึกว่าปลาชนิดนี้สามารถอพยพจากทะเลเข้ามาในแม่นำได้ตั้งแต่ 90-210 กิโลเมตร.ปลาชนิดนี้กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักในวงกว้าง ลักษณะที่โดดเด่นจาก สกุลปลาหางไก่ และ สกุลปลาแมวเขี้ยว คือ สีดำที่ครีบหู (PECTORAL FIN.) ที่ติดตัวมา แต่จะค่อยจางหายไปในตัวโตเต็มวัยครับ.
อาหาร = กินแมลง และลูกปลาขนาดเล็ก.
หมายเหตุ = จากที่ได้หาข้อมูลคร่าวๆในไทยแล้ว พบว่ามีการสำรวจลุ่มนำสงครามในปี2544-2546ได้พบปลาชนิดนี้อยู่และที่น่ายินดีสุดๆคือ พบปลาหมากผางที่นี่ด้วย "ปลาหมากผาง"จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์สุดๆครับอีกชนิดนึงส่วนปลาแมวหูดำชนิดนี้ก็เข้าข่ายใกล้จะสูญพันธุ์ ยอมรับตรงๆว่าไม่อยากค้นคว้าหาว่าพบในไทยส่วนไหนให้ชมจริงๆครับ เพราะข้อมูลบางอย่างที่ได้มามันเหมือนดาบสองคมครับน้า คือมีข่าวที่เขาโพสท์ให้อ่านเล่นๆจากต่างประเทศเกี่ยวกับ "การสูญพันธุ์" ของปลาทั่วโลก แต่วิธีนึงที่ทำให้สูญพันธุ์ มาจากการตกปลาที่ไม่คำนึงถึงผลเสียอะไรเลย. ซึ่งมีการยอมรับว่าไม่สามารถควบคุมได้ แต่ขอเสริมส่วนตัวนะครับ แต่สิ่งเหล่านี้เรารับทราบข้อมูลได้ เพียงอย่าปิดใจตัวเอง ปลาไทยสมัยก่อนที่ผมพอทราบจาก ดร.ปกรณ์(ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน) ท่านบอกว่ามีกว่า500 สายพันธุ์ ปัจจุบันเหลือ 200กว่าๆ อันนี้สิครับน่าตกใจ แต่ผมไม่ได่ว่าเกิดจากการตกปลา หรือ หาปลาทั้งหมดนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผมผิดไปกันใหญ่มันมีทั้งปัจจัยทางตรง และทางอ้อม เช่น สมัยก่อนบ้านเรามีแหล่งนำท่วมถึง(FLOODPLAIN.) ตรงแถวๆภาคกลางซึ่งจากที่ผมทราบมาว่า ปลาหลายชนิดที่สูญพันธุ์เข้ามาวางไข่ หนึ่งในนั้นก็คือ "ปลาฉลามหางไหม้ของไทย" ที่ผมเคยลงรายละเอียดไปบ้างแล้วนั้นละครับ ในปัจจุบันที่แห่งนี้ก็ยังเป็นที่นำท่วมถึงเหมือนกันครับ แต่เป็นบ้านคนนะครับ. น้าๆหลายท่านที่พอจะเข้าใจรายที่ผมเคยพิมพ์ไว้คือ " DISAPPEARANCE OF ONE SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES." ก็คือว่า " การหายไปของปลาชนิดนึงอาจจะนำไปสู่การลดลงของปลากลุ่มนึงในอีกชนิดหนึ่ง " วัฏจักร หรือ ห่วงโซ่ ของธรรมชาติ มันเป็นอะไรที่ละเอียดและลึกซึ้งเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมด เพราะปลาบางอย่างที่เราถูกแต่งแต้มลงในธรรมชาติบางชนิด บางสกุล ไม่ใช่สายเลือดไทยนะครับ จึงอยากฝากรายละเอียดเหล่านี้ไว้ให้น้องๆรุ่นหลังๆไว้ด้วยครับผม ขอบคุณนะครับน้าๆที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
หมายเหตุ = น่าเสียดายอีกละครับที่กลับไม่มีข้อมูลรายละเอียดในช่วงเวลาผสมพันธุ์และช่วงเวลาที่ปลาวางไข่ครับผม.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 131: 8 พ.ย. 50, 09:12
ส่วนภาพนี้ดูเป็นภาพวาดแต่น่าจะชัดกว่านะครับสำหรับ " ปลาแมวหูดำ".
 :grin: :grin: :grin: :grin: :grin
ส่วนภาพนี้ดูเป็นภาพวาดแต่น่าจะชัดกว่านะครับสำหรับ " ปลาแมวหูดำ".
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 132: 8 พ.ย. 50, 20:05
อันนี้ถือเป็นความผิดพลาดและอาจจะทำให้คนอื่นผิดพลาดไปด้วยครับน้าเลยอยากจะแก้ไขสิ่งที่ตนเองบอกผิดครับ
อันนี้ถือเป็นความผิดพลาดและอาจจะทำให้คนอื่นผิดพลาดไปด้วยครับน้าเลยอยากจะแก้ไขสิ่งที่ตนเองบอกผิดครับ " ปลาไทยมีจริงๆประมาณ700 กว่าๆชนิดลดลงไปประมาณ200กว่าๆ" อันนี้ผมจำผิดพลาดเองครับจากที่บอกไว้ว่ามี500กว่าๆแล้วลดเหลือ200กว่าๆ ต้องขอประทานโทษอย่างแรงเลยครับน้า. เพราะวันนี้บังเอิญเข้าไปเจอ ด็อคเตอร์ส่วนตัวผมจะเรียกท่านว่าอาจารย์ครับ ก็เลยถามท่านว่าอันนี้จริงๆเป็นอย่างไร ท่านก็เลยบอกมาว่าต้องแก้ไขให้เขาเข้าใจกันนะ คุยไปคุยมาท่านเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบ และท่านยังบอกผมเลยว่าด็อคเตอร์อีกท่านเป็นศิษย์เก่าคริสเตียน. อ้าวงั้นก็รุ่นพี่เราสิ.
 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 133: 10 พ.ย. 50, 09:11
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ.
เราเคยเห็นปลามังกร หรือ สกุลปลาอะโรวาน่า มีลิ้นใช้มั๊ยครับ แต่ยังมีปลาอีก2 สกุล ที
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ.
เราเคยเห็นปลามังกร หรือ สกุลปลาอะโรวาน่า มีลิ้นใช้มั๊ยครับ แต่ยังมีปลาอีก2 สกุล ที่มีลิ้นและก็มีฟันอยู่บนลิ้นด้วย?
คำตอบคือ สกุลปลากราย( CHITALA ) และในสกุลปลาสลาด( NOTOPTERUS) อย่างที่ได้กล่าวมาเกริ่นๆว่า ปลาทั้ง2สกุลนี้มีฟันอยู่บนลิ้นด้วย และลิ้นมีหน้าที่ผลักดันอาหารลงสู่ช่องคอ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 134: 10 พ.ย. 50, 21:11
ได้มีโอกาสเข้าไปชมรายละเอียดต่างๆของปลาไทยที่น้าบางท่านจากเว็บต่างๆได้โพสท์ลงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ
ได้มีโอกาสเข้าไปชมรายละเอียดต่างๆของปลาไทยที่น้าบางท่านจากเว็บต่างๆได้โพสท์ลงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆให้กับผู้หลงใหลในการเลี้ยง หรือ การตกก็แล้วแต่ ส่วนตัวผมถือว่าเป็นคุณประโยชน์ทั้งนั้น แต่ส่วนนึงที่ผมยังเป็นห่วงสำหรับนักสะสมปลาไทย หายาก บางท่านสามารถทะนุทะนอมเขาได้จนลงตู้และเลี้ยงได้รอดจนถึงทุกวันนี้ กับบางท่าน หรือ บางร้านใช้วัดดวงเอาโดยไม่มีการเช็คค่านำต่างๆ อันนี้น่าเป็นห่วงครับ อาศัยปลาช่วยตัวเอง รอดก็รอด ไม่รอดก็มาเอาใหม่ อย่างนี้คงไม่ดีแน่นะครับ พูดซะยืดยาวเลย วันนี้จะลองดูคงอาจจะมีซำแน่นอนเลยเรา.ขอพูดถึงสกุลปลานำหมึก (GENUS OPSARIUS.) จากรายละเอียดที่พบใน ม.โขง หรือ ลุ่มนำบางแห่ง หรือ นำตกบางที่ เอาเป็นว่าตัวที่ได้รับความสนใจคงหนีไม่พ้น OPSARIUS KORATENSIS. กับ OPSARIUS PULCHELLUS.แต่ก่อนที่เราจะเข้าไปดูในแต่ละชนิด( SPECIES.)นั้น เรามาดูลักษณะเด่นๆร่วมของสกุลนี้ก่อนดีกว่านะครับ.
1) มีแนวแถบสีรูปร่างคล้ายลักษณะเป็นแท่งตรั้งตรงตลอดทั้งสองข้างของตัวปลา.
2) เส้นข้างลำตัว( LATERAL LINE.)ที่อยู่ครึ่งล่างของลำตัวลงมาโดยวัดตามยาวจากการแบ่งครึ่งขอดหาง จะได้ส่วนบน และล่างตามยาวให้นึกภาพว่าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และแบ่งครึ่งความสูง เป็นต้นนึกภาพออกแล้วนะครับ ในปลาสกุลนี้เส้นข้างลำตัวจะอยู่ส่วนล่างหรือครึ่งล่าง ปลาบางชนิดมีเส้นข้างลำตัวอยู่ด้านบน หรือ อยู่ตรงกลาวลำตัวพอดีครับผม.
3)มีหนวดเส้นเล็กบางมากๆครับ.
OPSARIUS KORATENSIS.
ชื่อทั่วไป = ปลานำหมึก.(ขออนุญาตไม่เสริมต่อจากนำหมึกนะครับ เพราะในรายงานของอาจารย์ไม่ได้ระบุอะไรเพิ่มครับผม)
ขนาด = โดยเฉลี่ย 10 ซม.
แหล่งที่พบ = พบในแหล่งนำไหลทั้งใน ม.โขง และ ม.เจ้าพระยา.
อาหาร = แมลงนำขนาดเล้กต่างๆ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 135: 10 พ.ย. 50, 21:14
รูปนี้เป็นภาพวาด ที่โพสท์คู่เพื่อจะได้เห็น รายละเอียดที่ผมพูดถึงอย่าง LATERAL LINE. ได้ชัดเจนขึ้น แล
รูปนี้เป็นภาพวาด ที่โพสท์คู่เพื่อจะได้เห็น รายละเอียดที่ผมพูดถึงอย่าง LATERAL LINE. ได้ชัดเจนขึ้น และเพื่อสังเกตถึงข้อแตกต่างของปลาทั้งสองชนิดได้ง่ายขึ้นอีกหน่อยนะครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 136: 10 พ.ย. 50, 21:27
OPSARIUS PULCHELLUS.
ชื่อทั่วไป = นำหมึก., stream barilius.
ขนาด = ใกล้เคียงกันมากครับโดยเฉลี่ย 11
OPSARIUS PULCHELLUS.
ชื่อทั่วไป = นำหมึก., stream barilius.
ขนาด = ใกล้เคียงกันมากครับโดยเฉลี่ย 11ซม.
แหล่งที่พบ = พบในแหล่งนำไหลทั้งใน ม.โขง และ ม.เจ้าพระยา นอกจากนี้ตำราบางฉบับ เพิ่มเติมรายละเอียด พบได้ใน ลำธารที่มีนำไหลเย็นบนดอยทางภาคเหนือ และ ภาคกลางตอนบน
อาหาร = ผมขออนุญาตใช้เป็นแมลงนำขนาดเล็กต่างๆดีกว่านะครับ เพราะบางตำราเขียนว่าปลาชนิดนี้สามารถกินลูกปลา และ ลูกกุ้งได้ ผมกลัวผู้อ่านท่านนึกตลก ให้ลูกปลานิลกินนะครับ.
 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 137: 10 พ.ย. 50, 21:41
คราวนี้ลองมาดูข้อแตกต่างทั้ง 2 ชนิดกันบ้างนะครับ บางตำราบอกให้ดูที่จำนวแถบบ้าง หรือให้ดูคลิปสีดำที่ค
คราวนี้ลองมาดูข้อแตกต่างทั้ง 2 ชนิดกันบ้างนะครับ บางตำราบอกให้ดูที่จำนวแถบบ้าง หรือให้ดูคลิปสีดำที่ครีบหลังหรือรูปทรงครีบหลัง( DORSAL FIN.) หรือสีของลำตัว และรูปทรงของลำตัว ทั้งหมดนี้อาจจะใช้ได้หากดูจากสายตา เอาเป็นว่าผมขอเพิ่มข้อมูลที่ได้จากตำราบางเล่มเพิ่มเติมนะครับ.
1) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว ใน O.PULCHELLUS.=38-39. ใน O.KORATENSIS.=32-34.
2)นับจำนวนเกล็ดเริ่มต้นที่หลังหัวไปจนถึงจุดเริ่มของครีบหลัง. ใน O.PULCHELLUS.=21-25. ส่วนO.KORATENSIS=17-18.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 138: 10 พ.ย. 50, 21:47
ก่อนจากจะขอยกตัวอย่างภาพปลาที่อาจทำให้สับสนได้นะครับ.
BARILIUS BARNA.
ขนาด = 15ซม.
แหล่งที่พบ = ใ
ก่อนจากจะขอยกตัวอย่างภาพปลาที่อาจทำให้สับสนได้นะครับ.
BARILIUS BARNA.
ขนาด = 15ซม.
แหล่งที่พบ = ในอินเดีย เนปาล พม่า รวมถึงมีรายงานว่าพบใน ม.โขงด้วยครับ.
ก่อนจากขอบคุณครับที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
กระทู้: 23
ความเห็น: 1,884
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-10-2546
Naibae(55 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 139: 10 พ.ย. 50, 22:03
.. มาชมต่อ ... ขอบคุณครับ .. จัดให้ตามคำขอเลย .. กิ้ว ๆ ..     
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 140: 11 พ.ย. 50, 08:21
เกร็ดเล็กๆน้อยๆรับอรุณครับ(คือวันไหนไปทำงาน หรือ ขี้เกียจ จะไม่มีนะครับ.)
อันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่
เกร็ดเล็กๆน้อยๆรับอรุณครับ(คือวันไหนไปทำงาน หรือ ขี้เกียจ จะไม่มีนะครับ.)
อันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่าไม่เคยถ่างดูในปลาทุกชนิด สงสัยดูจากรูปกระทู้ ตัวเองก็เคยหาคำตอบในปลาชนิดนี้เหมือนกันว่า ฟันปลาปักเป้ามันเป็นยังไงน๊อ?
เลยไปเจอหนังสือเล่มเล็กๆเล่มนึง เขาบอกรายละเอียดสั้นๆของฟันปลาชนิดนี้ ว่าฟันหน้าจะเป็นแผ่นแบนคู่( PAIRED TASSILLATED PLATE.) และลักษณะฟันทั่วไป เป็น ฟันสิ่ว ฟันหน้ามีขอบคม  ปลายตัดหรือแหลมเป็นหยัก เราเรียกลักษณะฟันแบบนี้ว่า " INCISORS " กระผมอ่านออกเสียงว่า อิน-ซิส-เซอร์ ครับ ถ้าเพี้ยนๆอย่าว่ากันนะครับ ดูเจตนาเป็นหลักดีกว่าครับ. น้าๆบางท่านที่เลี้ยงปลาชนิดนี้คงสังเกตนะครับพอเวลาปลาชนิดนี้กินเหยื่อบางครั้งมันจะเคี้ยวเหมือนคนเลย เคี้ยวไปมันก็มองเราไปในใจเขาก็คงด่าเราละครับว่า มองอะไรไม่มีมรรยาท บางท่านอาจสงสัยเพิ่ม หรือ ประสงค์อย่างอื่นมิทราบได้ อาจถามว่า ในปลามีฟันนำนมมะเพ่? คำตอบคือ มีครับ อย่างผมเองแหละครับ.
แหะๆๆๆๆ

กระทู้: 15
ความเห็น: 1,139
ล่าสุด: 30-04-2567
ตั้งแต่: 05-05-2550
pepsiman2001(113 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 141: 11 พ.ย. 50, 08:31
เหอะๆๆปลาเยอะเยะเลยครับน้าจิรชัยชอบๆอิอิ
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 142: 12 พ.ย. 50, 19:02
กลับมาในช่วงสั้นๆอีกนิหน่อยครับผม ตาปลาสามารถมองเห็นได้สามมิติ และสามารถโฟกัสวัตถุในระยะต่างๆได้ดี น
กลับมาในช่วงสั้นๆอีกนิหน่อยครับผม ตาปลาสามารถมองเห็นได้สามมิติ และสามารถโฟกัสวัตถุในระยะต่างๆได้ดี นอกจากนี้ปลาสามารถมองเห็นภาพสีได้ แต่สีที่เห็นชัดสุด เป็น สีเหลือง และ สีแดง แต่แยกสีเขียว นำเงิน และดำ ออกจากันได้ยาก. ไปแล้วครับ.
 
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 143: 15 พ.ย. 50, 19:21
วันนี้อยากให้น้าลองชมปลาไทยอีกสกุลนึง และ ก็เป็นชื่อของน้าท่านนึงในเว็บสยามฟิชชิ่งเหมือนกันครับ แต่ต
วันนี้อยากให้น้าลองชมปลาไทยอีกสกุลนึง และ ก็เป็นชื่อของน้าท่านนึงในเว็บสยามฟิชชิ่งเหมือนกันครับ แต่ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่านนิดนึงครับ ใช่ครับน้า "ซิวอ้าว." ชื่อสกุล(GENUS.) LUCIOSOMA. ที่ผมหาข้อมูลได้ในตอนนี้มีอยู่ 5 ชนิด(SPECIES.) แต่ที่มีส่วนว่าพบในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด งั้นผมจะขอเริ่มทีละชนิดไปจนครบทั้ง5. เลยนะครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 144: 15 พ.ย. 50, 19:42
LUCIOSOMA BLEEKERI.
ชื่อทั่วไป = หลายๆท่านเรียกว่า"ปลาซิวอ้าว" 
แหล่งที่พบ = พบในประเทศที่แม่นำโขง
LUCIOSOMA BLEEKERI.
ชื่อทั่วไป = หลายๆท่านเรียกว่า"ปลาซิวอ้าว"
แหล่งที่พบ = พบในประเทศที่แม่นำโขงไหลพาดผ่านอย่าง กัมพูชา ลาว ไทย เวียตนาม ส่วนในประเทศไทย ท่านด็อคเตอร์ ชวลิต ท่านได้ให้ข้อมูลว่าพบปลาชนิดนี้ในลุ่มนำแม่กลอง ม.เจ้าพระยา ในแถบ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท นครนายก กาญจนบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลงใต้ไปที่ สุราษฎ์ธานี.ในช่วงนำหลากเดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม เขาจะว่ายทวนนำ เพื่อล่องหาอาหารไม่ว่าจะเป็น แมลงนำ ลูกกุ้ง ลูกปลา.
ขนาด = มีรายงานว่ายาวได้ถึง 25 ซม. หรือ 10 นิ้ว
ลักษณะเด่นๆของปลาชนิดนี้ = มีริ้วแถบดำของเส้นข้างลำตัวไปจนสุดปลายหาง ครีบหางตอนบนมีจุดกลมสีดำ ในส่วนของครีบหางส่วนอื่นมีจุดดำประปราย บนเส้นข้างลำตัวไม่มีจุดดำ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 145: 15 พ.ย. 50, 19:56
อารัมภบทในช่วงต้นมากไปหน่อยจนลืม "ลักษณะร่วม ของ ปลา สกุล LUCIOSOMA." ไปซะได้.
1) ไม่มีเข็มก้านครีบ
อารัมภบทในช่วงต้นมากไปหน่อยจนลืม "ลักษณะร่วม ของ ปลา สกุล LUCIOSOMA." ไปซะได้.
1) ไม่มีเข็มก้านครีบแรก (SPINES.) และมีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน
2) ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ.
3) ปากกว้าง จะสังเกตว่ามุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา
4) ลักษณะร่วมสุดท้าย อันนี้น้าลองนึกภาพแบ่งครึ่งตัวปลา จะเห็นว่าจุดเริ่มต้นครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลัง.
เมื่อกี้ตอนคีย์ข้อมูลของ L.BLEEKERI. นั้นยาวประมาณ26ซม. ลองชมชนิดต่อไปนะครับ.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 146: 15 พ.ย. 50, 20:12
LUCIOSOMA SETIGERUM.
ชื่อ = ชื่อเป็นไทย" ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาอ้าว" คือถ้าดูอีกหน่อย ในลาวเขาจะเรียก
LUCIOSOMA SETIGERUM.
ชื่อ = ชื่อเป็นไทย" ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาอ้าว" คือถ้าดูอีกหน่อย ในลาวเขาจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า"ปลาซิวอ้าว" เหมือนชนิดแรกครับ.
แหล่งที่พบ = ถ้าเทียบข้อมูลเบื้องต้นพบในลุ่มนำขนาดใหญ่เหมือนชนิดแรกคือ แม่กลอง ม.เจ้าพระยา ม.โขง และในแถบจังหวัด นนทบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย ปัตตานี และ ยะลา เป็นต้น เป็นปลาที่ชอบนำไหล.
ขนาด = 25-26.50 ซม.

กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 147: 15 พ.ย. 50, 20:35
ขอโทษนะครับน้าที่ "ลักษณะเด่น" ของปลาชนิดนี้ถูกยกลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับภาพวาด ได้เห็น
ขอโทษนะครับน้าที่ "ลักษณะเด่น" ของปลาชนิดนี้ถูกยกลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับภาพวาด ได้เห็นชัดขึ้นมาอีกนิดนึงครับ.
กล่าวคือ เกล็ดเส้นข้างลำตัวมีจุด , หางของปลาชนิดนี้เราเรียกทรงหาง FORKED.คือหยักเว้าลึก เห็น2แฉกนะครับเราแยกเป็น แฉกหางบน( UPPER LOBE.) กับแฉกหางล่าง(LOWER LOBE.)ทั้ง2แฉกมีแถบดำไม่หนาชิดขอบบนของหาง ,ก้านครีบท้องแรกเป็นสายยาว , จุดทรงกลมยาวต่อเนื่องไปถึงขอดหาง(อย่าสับสนกับจุดดำบนเกล็ดเส้นข้างลำตัวนะครับ),ตรงกลางก้านครีบหางจะไม่มีสี.
**หมายเหตุ** = อันนี้เป็นลักษณะร่วมอีกอย่างของสกุลนี้นะครับ คือ มีหนวดหนาแต่ไม่ยาวมาก 4 เส้น ครับผม.
พรุ่งนี้จะขอเพิ่มเติมอีกชนิดนึงที่พบในไทย และ อีก2ชนิดเป็นโซน ซุนดา.ครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 148: 16 พ.ย. 50, 00:41
รับวันใหม่กับเกร็ดเล็กๆ อีกนิดครับ.
1) ไอ้จานที่ว่ายของปลากระเบนมันคือครีบอะไร? น้าหลายท่านคงพอทราบ
รับวันใหม่กับเกร็ดเล็กๆ อีกนิดครับ.
1) ไอ้จานที่ว่ายของปลากระเบนมันคือครีบอะไร? น้าหลายท่านคงพอทราบๆกันแล้ว แต่ถ้าไม่รังเกียจขอตอบอีกครั้งนะครับ
**คำตอบ** = ครีบหู หรือ ครีบอก (PECTORAL FIN.) ที่เปลี่ยนรูปไปเลย จัดเป็นครีบคู่ครับผม.
   
กระทู้: 1
ความเห็น: 199
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-05-2547
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 149: 16 พ.ย. 50, 13:39
ผมเคยเลี้ยงปลาน้ำหมึกครับ ลายสวยดี ลายคล้ายเหยื่อของ Yo-Zuri
กระทู้: 125
ความเห็น: 2,575
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-09-2550
ความเห็นที่ 150: 16 พ.ย. 50, 19:19
LUCIOSOMA SPILOPLEURA.
ชื่อ = ที่เช็คจากเว็บที่พอจะค้นหาได้ ยังสับสนครับ จะขออธิบายในตอนท้ายครับ จั
LUCIOSOMA SPILOPLEURA.
ชื่อ = ที่เช็คจากเว็บที่พอจะค้นหาได้ ยังสับสนครับ จะขออธิบายในตอนท้ายครับ จัดเป็นกลุ่มปลาซิวอ้าว.
ขนาด = 25 ซม.
แหล่งที่พบ = พบในมาเลย์ บรูไน อินโดนีเซีย และไทย จากข้อมูลมีการพบแถว ธนบุรี เป็นจุดเริ่มต้น
ลักษณะเด่น = ดูลักษณะคล้าย LUCIOSOMA SETIGERUM.มากครับ ในข้อมูลของปลาชนิดนี้ทางMORPHOLOGY.ไม่มีครับ เลยใช้ข้อมูลทางMORPHOMETRICS. มาดู จากข้อมูลที่สังเกตง่ายๆถ้าเทียบกับ L.SETIGERUM.ดูแตกต่างในทุกด้านครับแต่ค่าที่ทำให้L.SPILOPLEURA.ดูแตกต่างเยอะหน่อย คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกตาที่ใหญ่กว่า ความกว้างของลำตัวที่ดูกว้างกว่า ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นอันสุดท้ายคือค่า ที่จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ก่อนครึ่งลำตัว สำหรับ L.SETIGERUM.จุดเริ่มของครีบหลังเท่ากับครึ่งของลำตัวพอดีครับ.
อาหาร = แมลงนำขนาดเล็ก
 
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
siamfishing.com © 2024