สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 16 เม.ย. 67
พาพี่ไปรู้จักอุปกรณ์ BFS: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 >
 กระดาน > Finesse
ความเห็น: 161 - [23 ก.ค. 57, 13:28] ดู: 41,599 - [16 เม.ย. 67, 17:55]  ติดตาม: 28 โหวต: 96
พาพี่ไปรู้จักอุปกรณ์ BFS
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,453
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 25 มิ.ย. 57, 20:58
+1 ตามเชียร์ครับน้ากิ๊ก
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 27: 25 มิ.ย. 57, 20:59
หลังจากที่หาายเหนื่อยกันแล้ว พี่ป้อมก็จัดเสือพ่นน้ำไปอีกตัวด้วยอุปกรณ์ BFS ครับ :laughing:
หลังจากที่หาายเหนื่อยกันแล้ว พี่ป้อมก็จัดเสือพ่นน้ำไปอีกตัวด้วยอุปกรณ์ BFS ครับ
กระทู้: 3
ความเห็น: 186
ล่าสุด: 20-03-2567
ตั้งแต่: 06-05-2554
ความเห็นที่ 28: 25 มิ.ย. 57, 21:02
ตามชมครับพี่โปรกิ๊ก
กระทู้: 43
ความเห็น: 3,115
ล่าสุด: 10-04-2567
ตั้งแต่: 24-02-2550
TANISORN(607 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 29: 25 มิ.ย. 57, 21:04
กระทู้: 0
ความเห็น: 58
ล่าสุด: 27-08-2566
ตั้งแต่: 15-08-2554
ความเห็นที่ 30: 25 มิ.ย. 57, 21:04
+1 กำลังศึกษาอยู่พอดีเลย ขอความรู้แน่นๆนะครับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 439
ล่าสุด: 21-02-2567
ตั้งแต่: 14-11-2553
ความเห็นที่ 31: 25 มิ.ย. 57, 21:04
ตามชมครับโปรกิ๊ก 
กระทู้: 4
ความเห็น: 28,342
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 09-09-2552
ความเห็นที่ 32: 25 มิ.ย. 57, 21:04
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 33: 25 มิ.ย. 57, 21:05
หลายครั้งที่พี่ป้อมพลาดโอกาศเนื่องจากพี่ไม่ได้ตกปลามานาน ปลากระสูบช๊าตพี่เค้าอาจจะตกใจหยุดเหยื่อเลยท
หลายครั้งที่พี่ป้อมพลาดโอกาศเนื่องจากพี่ไม่ได้ตกปลามานาน ปลากระสูบช๊าตพี่เค้าอาจจะตกใจหยุดเหยื่อเลยทำให้ปลากระสูบหนีไปครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 351
ล่าสุด: 09-12-2566
ตั้งแต่: 23-11-2552
ความเห็นที่ 34: 25 มิ.ย. 57, 21:09
กระทู้: 0
ความเห็น: 113
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 25-12-2555
ความเห็นที่ 35: 25 มิ.ย. 57, 21:10
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 25 มิ.ย. 57, 21:12
พอประมาณ 10 โมงกว่าแดดเริ่มร้อนผมเลยชวนพี่ทั้งสองไปหลบร่มตกปลาหน้าดินดีกว่า พี่โลกตกได้ปลาสายยูเป็นต
พอประมาณ 10 โมงกว่าแดดเริ่มร้อนผมเลยชวนพี่ทั้งสองไปหลบร่มตกปลาหน้าดินดีกว่า พี่โลกตกได้ปลาสายยูเป็นตัวแรกครับ
กระทู้: 40
ความเห็น: 7,754
ล่าสุด: 10-04-2567
ตั้งแต่: 06-02-2550
ความเห็นที่ 37: 25 มิ.ย. 57, 21:13
อย่าลืมพาน้องคนนี้ไปตกด้วยนะครับบบบบบ
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 38: 25 มิ.ย. 57, 21:13
ปลากดเหลืองตัวเล็กๆเป็นตัวที่2ครับ :laughing: :laughing:
ปลากดเหลืองตัวเล็กๆเป็นตัวที่2ครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 1,263
ล่าสุด: 02-04-2567
ตั้งแต่: 14-12-2555
Nung47(8 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 39: 25 มิ.ย. 57, 21:15
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 40: 25 มิ.ย. 57, 21:16
หลังจากที่ตกปลาหน้าดินกันอยู่พักใหญ่ พอ4โมงผมก็ชวนพี่ๆออกไปตีเหยื่อปลอมกันอีกรอบครับ ผมตกกระสูบได้ด้
หลังจากที่ตกปลาหน้าดินกันอยู่พักใหญ่ พอ4โมงผมก็ชวนพี่ๆออกไปตีเหยื่อปลอมกันอีกรอบครับ ผมตกกระสูบได้ด้วยอุปกรณ์ BFS ครับ

หลายคนคงจะงงว่า BFS คืออะไร ถ้าน้าๆท่านใหนสนใจก็อ่านตามบทความนี้เลยครับ ไอ๊ได้แปลบทความใว้แล้วครับ หรือล๊อกออินในสยามชื่อ All DAY Long

Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 1 “Finesse Style”

ใน 2 ปีผ่านมานี้ เราจะหรือได้ยินเห็น รอกเบท (Bait Casting Reel) และ คันเบท (Bait Casting Rod) ที่เป็น Bait Finesse หรืออุปกรณ์ที่มีรหัสว่า F-spec (Finesse Spec), BFS (Bait Finesse System), BFC (Bait Finesse Custom) และอื่นๆ จากทางประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างเยอะ

แต่มันคืออะไร ??? หลายคนอาจจะรู้จักดี หลายคนอาจสงสัย ผมขอถือโอกาสนี้แบ่งบันข้อมูลที่ได้มาจากทางญี่ปุ่น เผื่อจะเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆนักตกปลานำไปประยุกต์ใช้กับการตกปลาปลาในบ้านเราให้สนุกมากขึ้นได้ครับ

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จัก Bait Finesse กัน ผมขอกล่าวถึงความเป็นมาของการตกปลาแบบ Finesse Style ในประเทศญี่ปุ่นก่อนครับ

Finesse Style เป็นชื่อเรียกแทนกลยุทธ์การตกปลาแบส ภายใต้สภาวะที่ปลากัดเหยื่อยาก เนื่องจากการที่มีคนมาร่วมตัวกันตกปลาจำนวนมากในวันหยุด หรือการตกปลาแบสในระหว่างการแข่งขัน รวมถึงตกปลาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือหนาวจัด จนปลาไม่อยากจะกัดเหยื่อ ซึ่งกลยุทธ์การตกปลาแบบนี้ถูกใช้มามากกว่า 20 ปีแล้ว แต่ก็จะมีวิธีการ Rig หรือเทคนิคการใช้เหยื่อ และสร้างแอคชั่นใหม่ๆเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ

โดยกลยุทธ์นี้ จะใช้การตกด้วยเหยื่อยางที่น้ำหนักน้อยมาก ด้วยเทคนิคการตกแบบ No-sinker Rig, Jighead Rig, Drop Shot Rig (Down Shot Rig), Wakky Rig, Neko Rig, Small Rubber Jig, และอื่นๆ รวมถึงการใช้ปลั๊กที่มีขนาดเล็กๆด้วยเช่นกัน

โดยในอดีตนั้นนักตกปลาจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นชุดสปินนิ่ง (Spinning Tackle) ทั้งหมด ในการตกปลาแบบ Finesse Style โดยจะเน้นการสร้างแอคชั่นที่มีความละเอียดและพริ้วไหวเหมือนธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้ปลาแบสกัดเหยื่อภายใต้สภาวะที่ปลากัดเหยื่อยากดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นส่วนหนึ่งที่แทบขาดไม่ได้สำหรับนักกีฬาตกปลาแบสในญี่ปุ่น



“ณ เวลานั้น ถ้าพูดถึงอุปกรณ์ตกปลาแบสแบบ Finesse Style ในญี่ปุ่น ก็คือ Spinning Tackle แน่นอน”
กระทู้: 26
ความเห็น: 1,275
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-10-2554
ความเห็นที่ 41: 25 มิ.ย. 57, 21:18
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 42: 25 มิ.ย. 57, 21:25
นั่งพักผ่อนรอฝูงปลากระสูบขึ้นครับ 


 
Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 2 “Spinning T
นั่งพักผ่อนรอฝูงปลากระสูบขึ้นครับ



Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 2 “Spinning Tackle”

จากที่ได้กล่าวใน Part 1, ในอดีต ก่อนที่จะมี Bait Finesse Tackle ออกมา ถ้าพูดถึง Finesse Style ทุกคนก็จะเข้าใจว่าเป็นการตกปลาด้วยเหยื่อขนาดเล็ก ด้วย Spinning Tackle ทันที

ดังนั้นผมขอพูดถึง Spinning Tackle ก่อนที่จะไปถึง Bait Finesse Tackle ครับ

ชุด Spinning Tackle ที่ใช้ในการตกปลาแบบ Finesse Style สำหรับนักตกปลาในญี่ปุ่น

&#183; รอก – รอก spinning เบอร์ 1000 – 2500 และเป็นรุ่นที่มีมีกำลังเบรคค่อนข้างต่ำ หรือเป็นรอกที่มีการปรับแต่งเบรคเป็น Finesse Drag เพื่อใช้กับกับสาย Nylon หรือ Fluorocarbon ขนาดเล็ก

&#183; สาย - สาย Nylon หรือ Fluorocarbon ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้กันไม่เกินประมาณ 6 ปอนด์ แต่สาย Fluorocarbon จะได้รับความนิยมสูงมากกว่า เนื่องจากทนความเสียดสีได้ดีกว่า ทำให้สายขาดยากกว่าเมื่อเจอเข้ากับอุปสรรคใต้น้ำ และเนื้อสายยังมีความใสสูง ทำให้ช่วยลดความระแวงของปลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ปลากัดเหยื่อยาก และสาย Fluorocarbon นี้ยังมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าสาย Nylonทำให้สามารถสร้างแอคชั่นที่ต้องความละเอียดได้ดีกว่า แต่ตัวสาย Fluorocarbon นั้นจะค่อนข้างแข็ง ปัญญาที่เกิดจากสายในขณะใช้งานก็จะมากกว่าสาย Nylon ที่มีความอ่อนนุ่มกว่า

&#183; คัน – คัน Spinning Finesse คันกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมี Power (หรือรหัส) เป็น Extra Light (XL), Ultra Light (UL) และ Light (L) ซึ่งเหมาะขนาดสายที่เล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 6 ปอนด์ และตัวแบลงค์ของคันนอกจากที่เป็น Tubular ก็ยังมีคันที่เป็น Solid Tip ให้เลือก เพื่อนักตกปลาสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะกับเทคนิคการใช้เหยื่อและสร้างแอคชั่นแต่ละวิธีในแบบ Finesse Style เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เพื่อให้ปลากัดเหยื่อในสถานการณ์ที่ปลากัดเหยื่อยาก

&#183; เหยื่อปลอม - เหยื่อยางขนาดเล็ก รวมถึงปลั๊กขนาดเล็ก ประมาณ 1/64 – &#188; ออนซ์ หรือ Finesse Lure

เป็นที่แน่นอนว่าชุด Spinning Tackle ในการตีเหยื่อปลอมขนาดเล็ก ด้วยสายขนาดเล็ก แบบ Finesse Style ได้ผลลัพธ์ที่ดี และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักตกปลาในญี่ปุ่น

แต่ในบางสถานะการณ์ของการตกปลาแบส ด้วย Finesse Style โดยเฉพาะพื้นที่ที่ค่อนข้างมีอุปสรรคใต้น้ำพอสมควร โดยชุด Spinning Tackle ก็ยังมีข้อจำกัด ซึ่งเกิดจากโครงสร้างรอก spinning ที่ใช้ตัวกว้านสายในการเก็บสาย จึงเกิดการตีเกลียวของสายเวลาใช้งาน

เมื่อต้องการใช้สายที่ใหญ่ขึ้น เพื่อจะเอาชนะอุปสรรคดังกล่าว ก็ทำให้ปัญหาสายตีเกลียวเด่นชัดขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการสร้างแอคชั่นให้กับเหยื่อปลอม และความถี่ในการเกิดปัญหาของสายระหว่างใช้งานก็ตามมาด้วย และยังส่งผลให้ระยะตีเหยื่อสั้นลงด้วย จึงทำให้เกิดเป็นข้อจำกัด ทำให้นักตกปลาไม่สามารถเลือกใช้ขนาดสายได้ตามความต้องการสักเท่าไหร่

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ที่จะมาเติมเต็ม เพื่อให้สามารถเอาชนะอุปสรรคในการตกปลาให้ได้ โดยเฉพาะความต้องการจากนักกีฬาตกปลาอาชีพ ที่ปลาทุกตัวที่ตกในระหว่างการแข่งขันมีความสำคัญมาก จึงได้เกิดการพัฒนาชุดอุปกรณ์ Bait Finesse ขึ้นมาให้นักตกปลาได้ใช้งานเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานี้

แต่ก่อนที่จะมีชุดอุปกรณ์ Bait Finesse มาให้นักตกปลาชาวญี่ปุ่นได้ใช้นั้น เมื่อเจอสถานการณ์ “ใต้น้ำมีอุปสรรค” และ “ปลาไม่กัด ถ้าไม่ใช่ Finesse Lure” นักตกปลาชาวญี่ปุ่นแก้ปัญหาอย่างไร???


กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 25 มิ.ย. 57, 21:28
ผมได้ปลากระสูบอีกตัวด้วยอุปกรณ์ BFS ครับ

Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 3 “Power Fin
ผมได้ปลากระสูบอีกตัวด้วยอุปกรณ์ BFS ครับ

Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 3 “Power Finesse”

จากที่ได้ทิ้งท้ายไว้ใน Part 2, เมื่อเจอสถานการณ์ “ใต้น้ำมีอุปสรรค” และ “ปลาไม่กัด ถ้าไม่ใช่ Finesse Lure” นักตกปลาชาวญี่ปุ่นแก้ปัญหาอย่างไร

จากการที่นักตกปลาประสบกับปัญหาในการตกปลาแบส ในสถาณการณ์ดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาของรอก Bait Casting ในขณะนั้นยังไม่สามารถรองรับการตีเหยื่อขนาดเล็กมากๆได้ จึงได้เกิดเป็นกลยุทธ์ที่แตกแขนงออกมา เป็นที่รู้จักกันว่า “Power Finesse”

“Power Finesse” เป็นการเรียกกลยุทธ์การตกปลาด้วย Finesse Lure โดยใช้สายพีอี (PE) หรือสายเบรด (Braided) ด้วยชุด Spinning Tackle

โดยขนาดสาย PE ที่นิยมใช้งานอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.5 โดยการใช้สาย PE นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสายที่มีขนาดเล็กและรับแรงดึงได้สูง เพื่อที่จะสามารถดึงปลาให้หลุดพ้นออกมาจากอุปสรรคใต้น้ำได้รวดเร็ว เพราะถ้าใช้สาย Fluorocarbon ที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 6 ปอนด์ขึ้นไปกับ Spinning Tackle นี้ ก็จะเจอเข้ากับปัญหาของสายที่จะเกิดขึ้น ตามที่ได้เคยกล่าไว้ใน Part 2

แต่เนื่องจากสาย PE นั้นทนต่อการเสียดสีได้ไม่ดีนัก รวมถึงมีความยึดหยุ่นต่ำ จึงจำเป็นต้องต่อเข้ากับ Shock Leader โดย Shock Leader ที่นิยมใช้คือ Fluorocarbon ที่ทนต่อการขีดข่วนได้ดี ขนาดที่นิยมอยู่ที่ประมาณ 6-12 ปอนด์ ส่วนความยาวในการต่อขึ้นอยู่กับสภาพหมายที่ตก

ส่วนคันเบ็ดที่ใช้ ก็คือคัน Spinning ที่เป็น Power Finesse โดยไกด์จะออกแบบสำหรับรองรับการใช้สาย PE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนใหญ่คัน Power Finesse จะมี Power ประมาณ Medium Light (ML)

ในอดีตนั้น Power Finesse ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของนักตกปลาเช่นกัน ทำให้หลายๆผู้ผลิต พัฒนาทั้งสาย, Shock Leader และคัน Spinning ที่เป็น Power Finesse โดยเฉพาะออกมาจำหน่าย ให้นักตกปลาได้ใช้จนถึงปัจจุบัน

แต่ทำไมยังมีความต้องการ Bait Finesse Tackle อยู่!!!!!

เนื่องจากคุณสมบัติของสาย PE ที่มีความเบา ทำให้ลมพัดสายได้ง่าย ทำให้ควบคุมทิศทางได้ยากกว่า ให้ความแม่นยำในการส่งเหยื่อสู่เป้าหมายในขณะที่ลมแรงเป็นไปได้ยาก ซึ่งความแม่นยำในการส่งเหยื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการตกปลาแบส โดยเฉพาะระหว่างการแข่งขัน และตัวสายยังมีความสามารถในการจมน้ำที่ต่ำ ทำให้มีปัญหาในการตกปลาแบสในน้ำลึกด้วย Finesse Lure พอสมควร

ยิ่งไปกว่านั้น สาย PE เมื่อเสียดสีเข้ากับอุปครรคที่ความแข็งหรือคมก็จะขาดได้ง่าย จึงยังมีข้อจำกัดในการใช้งานในบางสถาณการณ์ แต่นักตกปลาแบสในขณะนั้นก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องใช้ Power Finesse Tackle

สำหรับนักกีฬาตกปลาอาชีพในญี่ปุ่น ที่ต้องแข่งขันกันใน Tournament ระดับประเทศ ที่ปลาทุกตัวมีเข้ามากัดเหยื่อมีความหมายมาก ต้องเอาขึ้นมาจากใต้น้ำให้ได้ จะต้องเจอเข้ากับแรงกดดันที่สูงมากเมื่อตกตกด้วยกลยุทธ์ Finesse ภายใต้อุปสรรคใต้น้ำ ด้วย Power Finesse Tackle ซึ่งหลายครั้งก็ต้องพลาดท่าให้กับอุปสรรคใต้น้ำ จึงเกิดเป็นความต้องการอุปกรณ์ที่จะมาเติมเต็ม ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหญ่ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ปรับแต่งรอกในประเทศญี่ปุ่น พยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสำเร็จเป็น Bait Finesse Tackle ให้นักตกปลาได้ใช้งานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

กล่าวได้ว่า “ข้อจำกัดของ Power Finesse ก็คือ จุดกำเนิดของ Bait Finesse” นั่นเองครับ
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 44: 25 มิ.ย. 57, 21:31
เราล่องเรือตีกันมาเรื่อยๆ ได้ปลาเทโพมาอีกตัวกับชุดBFS ครับ

 
Japanese Style Bait Finesse by ADL>
เราล่องเรือตีกันมาเรื่อยๆ ได้ปลาเทโพมาอีกตัวกับชุดBFS ครับ


Japanese Style Bait Finesse by ADL>>>> Part 4 “Bait Finesse”
“ข้อจำกัดของ Power Finesse ก็คือ จุดกำเนิดของ Bait Finesse”
จากข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงความต้องการของนักกีฬาตกปลาที่ได้พูดถึงใน Part ที่ผ่านมา ผู้ผลิตผู้ผลิตรายใหญ่ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ปรับแต่งรอกในประเทศญี่ปุ่น จึงได้พยามพัฒนา Bait Finesse Tackle ออกมาให้นักตกปลาได้ใช้งาน โดยมีอุปสรรคสำคัญคือการพัฒนารอกเบทเคสติงค์ (Bait Casting Reel)
ถึงแม้ว่าการตกปลาด้วย Finesse Style จะมีมามากกว่า 20 ปีแล้วก็ตาม แต่การที่จะพัฒนารอก Bait Casting ที่จะสามารถตีเหยื่อที่มีขนาดเบา หรือ Finesse Lure ได้ โดยให้เกิดปัญหาการฟู่ของสาย (Backlash) น้อยที่สุดนั้นถือเป็นเรื่องยากมากในอดีต แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสปูล (Spool) ที่มีน้ำหนักเบา และระบบหน่วงที่เหมาะสมออกมาได้สำเร็จ
จึงเกิดเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่แตกแขนงออกมาจาก Finesse Style ที่เรียกกันว่า “Bait Finesse”
โดยเราจะสามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ใดคือ Bait Finesse Tackle สามารถสังเกตุได้จากรหัสที่ผู้ผลิตระบุไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะระบุว่า Bait Finesse, F-spec (Finesse Spec), BFS (Bait Finesse System), BFC (Bait Finesse Custom) หรืออาจจะระบุอยู่ในส่วนรายละเอียดของการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ
รอก Bait Finesse – รอก Bait Casting ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ หรือเป็นรอกที่ถูกปรับแต่ง (Tuning) มาสำหรับการใช้งานการตกด้วยกลยุทธ์ Bait Finesse เช่น Daiwa T3 Air, Shimano Aldebaran BFS XG, KTF PX Super Finesse และอื่นๆ
รอกประเภทนี้จะมีความจุสายค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะจุสาย Fluorocarbon ขนาด 8 ปอนด์ ได้สูงสุดประมาณ 50-75 เมตร แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใส่สายแค่ครึ่งหนึ่งของความจุสปูลหรือน้อยกว่านั้นตามลักษณะการใช้งาน หรือตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อทำให้ให้สปูล (Spool) นั้นเบามากที่สุด ทำให้ส่งเหยื่อได้ไกลขึ้น และช่วยลดแรงเฉื่อยในการหมุนของสปูลเพื่อลดการฟู่ของสาย (Backlash) ในขณะตีเหยื่อ
ปัจจุบันเราสามารถปรับแต่งรอก (Tuning) รอกธรรมดาบางรุ่น ให้เป็นรอก Bait Finesse ได้โดยการหาซื้อชุดปรับแต่ง (Tuning Kit) จากผู้ผลิตรอกอย่าง และผู้ผลิตอุปกรณ์ปรับแต่งรอก เช่น ZPI และ KTF มาปรับแต่งรอกได้
สาย – สาย Fluorocarbon ขนาดประมาณ 4-12 ปอนด์ เนื่องจากทนความเสียดสีได้ดีกว่า ทำให้สายขาดยากกว่าเมื่อเจอเข้ากับอุปสรรคใต้น้ำ และเนื้อสายยังมีความใสสูง ทำให้ช่วยลดความระแวงของปลาได้ดี และมีความยืดตัวต่ำ รวมถึงสปูลของรอก Bait Finesse นี้จะค่อนข้างบางมาก จึงไม่ค่อยเหมาะกับสาย Nylon ที่มีความยืดตัวสูงกว่า ซึ่งมีโอกาสที่สายจะรัดทำให้สปูลบิดตัวได้
ในปัจจุบันมีการนำสาย PE มาใช้งานกับรอก Bait Finesse ในกลุ่มนักตกปลาแบสแบบเดินตกจากฝั่ง (Bank Fishing) หรือในภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า “OKAPPARI” ในกรณีที่ต้องการตีเหยื่อไกลๆในบางสภาพหมาย รวมถึงนักตกปลาเทราต์ก็นิยมใช้สาย PE กับรอก Bait Finesse เช่นกัน ทำให้เริ่มมีการผลิตสาย Bait Finesse PE ออกมาจำหน่ายให้นักตกปลาเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
คัน Bait Finesse – คัน Bait Casting ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการตกด้วยกลยุทธ์ Bait Finesse เช่นกัน
โดยมีตั้งแต่คันที่ออกแบบสำหรับการเล่นเหยื่อยาง และคันสำหรับเหยื่อปลั๊กโดยเฉพาะ จนถึงคันเอนกประสงค์ ซึ่งคันกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมี Power (หรือรหัส) เป็น Light (L) ขนาดสายอยู่ที่ประมาณ 4-12 ปอนด์
ตัวแบลงค์ของคันนอกจากที่เป็น Tubular ก็ยังมีคันที่เป็น Solid Tip รวมถึง All Solid ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมกับเหยื่อ และเทคนิคการสร้างแอคชั่นแต่ละวิธีในกลยุทธ์แบบ Finesse Style เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เหยื่อปลอม - เหยื่อยางขนาดเล็ก รวมถึงปลั๊กขนาดเล็ก ประมาณ 1/16 – 3/8 ออนซ์ หรือ Finesse Lure

แน่นอนครับว่ากลยุทธ์ Bait Finesse ไม่สามารถตอบโจทย์ของการตกปลาได้ทุกสถาณการณ์ แต่เมื่อถึงสถานการณ์ที่ “ใต้น้ำมีอุปสรรค” และ “ปลาไม่กัด ถ้าไม่ใช่ Finesse Lure” นั่นก็คือเวลาของ “Bait Finesse” นั่นเอง
ส่งผลให้ Bait Finesse Tackle นี้ เป็นอุปกรณ์ที่มาเติมเต็มความต้องการ จนถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับนักกีฬาตกปลาแบสด้วยเรือแบสในประเทศญี่ปุ่น
แต่ในวงการตกปลาในประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีนักตกปลาทั้งมืออาชีพ และทั่วไปที่ตกปลาแบสจากฝั่ง (Bank Fishing) หรือในภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า “OKAPPARI” นั้นก็นิยมใช้ Bait Finesse Tackle เป็นจำนวนมาก เนื่องจากการที่ต้องเดินตกไปเรื่อยๆตามฝั่ง จำนวนคันที่สามารถถือติดตัวไปได้ค่อนข้างจำกัด และสภาพหมายก็หลากหลาย พวกเขาเหล่านั้นก็จะเลือกใช้คันและรอก Bait Finesse รุ่นที่ใช้งานได้หลากหลายตั้งแต่ Light Rig จนถึงปลั๊กขนาดเล็กในชุดเดียวกันติดตัวไป แทนที่จะถือคันไปมากขึ้น เพื่อความสะดวกสบายในการเดินตกปลาที่บางครั้งอาจจะต้องเดินเปลี่ยนหมายทั้งวัน
นอกจากนี้ รอก Bait Finesse ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในวงการตกปลาแบสเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันยังถูกนำไปใช้ในการตกปลาเทราต์ และปลาประเภทอื่นๆที่ต้องการใช้เหยื่อขนาดเล็กมากขึ้นเช่นกัน
ทั้งหมดนี้คือ ที่มาที่ไป ของ Bait Finesse ที่เราได้ยินกันจนติดหูในช่วงที่ผ่านมานี้
สุดท้ายนี้ ผม ADL หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆนักตกปลาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตกปลาปลาในบ้านเราให้สนุกมากขึ้นครับ
“ขอบคุณที่ติดตามครับ”
กระทู้: 0
ความเห็น: 571
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 22-03-2554
ความเห็นที่ 45: 25 มิ.ย. 57, 21:32
กระทู้: 79
ความเห็น: 6,168
ล่าสุด: 22-07-2566
ตั้งแต่: 04-02-2549
prokik(5567 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 46: 25 มิ.ย. 57, 21:32
ถึงเวลากลับบ้านกันแล้วครับ ลองอ่านบทความกันนะครับ ก็จะทราบถึงที่มาของการตกปลาแบบ Finesse ออกเสียงภาษ
ถึงเวลากลับบ้านกันแล้วครับ ลองอ่านบทความกันนะครับ ก็จะทราบถึงที่มาของการตกปลาแบบ Finesse ออกเสียงภาษาไทยว่า ฟีเนสส์ ครับ ถ้าใครสนใจก็ลองตกกันดูนะครับ

ผมขอจบกระทู้เพียงเท่านี้นะครับ ขอบคุณที่ติดตามครับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 328
ล่าสุด: 22-02-2567
ตั้งแต่: 21-11-2555
ความเห็นที่ 47: 25 มิ.ย. 57, 21:33
+1ตามชมคับน้า
กระทู้: 0
ความเห็น: 3,412
ล่าสุด: 14-01-2567
ตั้งแต่: 15-06-2550
ความเห็นที่ 48: 25 มิ.ย. 57, 21:41
+++
กระทู้: 0
ความเห็น: 86
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-12-2553
ความเห็นที่ 49: 25 มิ.ย. 57, 21:47


     
กระทู้: 94
ความเห็น: 4,864
ล่าสุด: 11-04-2567
ตั้งแต่: 03-08-2546
red fin(2609 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 50: 25 มิ.ย. 57, 21:48
สุดยอดเหมือนเดิมครับพี่กิ๊ก
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 >
siamfishing.com © 2024