สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 4 พ.ค. 67
ข่าว 2 คม. :
 
ความเห็น: 7 - [24 ม.ค. 51, 11:14] ดู: 8,629 - [30 เม.ย. 67, 07:15] โหวต: 1
ข่าว 2 คม.
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
1 ธ.ค. 50, 08:06
1
ข่าว 2 คม.
ภาพที่ 1
ในการประชุม CITES. ครั้ังที่14 ที่กรุงเฮก ( HAGUE.) ประเทศ ฮอลแลนด์ ในปีนี้  ในที่ประชุม USA. ประกาศขอให้ทาง CITES.ขึ้นบัญชีแดง หรือ RED LIST. ใน Appendix II (กับปลาทะเลในแนวปะการังชนิดนึง คือ " BANGGAI CARDINAL." หรือ " PTERAPOGON KAUDERNI." เนื่องจากทางUSA.ได้ให้การชี้แจงว่า ปลาชนิดนี้กำลังลดจำนวนลงอย่างรุนแรงทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการค้าปลา ที่มีการสต็อคปลาชนิดนี้สูงขึ้น ซึ่งจากข่าวที่ชี้แจงได้ให้ว่า จากปีก่อนๆที่มีปริมาณ700,000ตัว ขึันไปเป็น 900,000 ตัว ปลาชนิดนี้พบเห็นทางแถบอินโดนีเซียตะวันออก และส่วนนึงของ สุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย. นอกจากนี้มีการอธิบาย ว่าปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่พ่อแม่ดูแลลูกในปาก ปริมาณการฟักตัว 50-90 ตัวเท่านั้น นั่นหมายถึง การเสียโอกาสในการเพิ่มประชากร มีมากมายมหาศาลที่ไม่สามารนับค่าได้  เพราะไข่หนึ่งฟองเมื่อเติบโตมีโอกาสให้กำเนิดตัวอื่นมีประมาณเท่าไหร่ และ หลาน หรือ เหลน ต่อไปเรื่อยๆ .และเรามาดูคำตอบที่ CITES. ให้กับคำร้องขอของ USA. กันครับ
****หมายเหตุ****
CITES . ย่อมาจาก The Convention of International Trade in Endangered Species of  Wild Flora and  Fauna.
ข่าว 2 คม.
ภาพที่ 2
RED LIST. คือการจัดลำดับความเสี่ยง นับตั้งแต่น้อยในระดับนึง จนถึง สภาพที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว.
Appendix II หมายถึง ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับสูญพันธุ์ แต่ต้องควบคุมไม่ให้มีการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนใกล้สูญพันธุ์ ประเทศที่ส่งออกจะต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออก เพื่อรับรองการส่งออกนั้นไม่ได้สร้างผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์ในท้องถิ่น มี 3 ระดับครับ ของบ้านเราปลาบึก กับ ปลา ยี่สกไทย อยู่ในระดับที่1 ครับ
ข่าว 2 คม.
ภาพที่ 3
คำตอบคือ "ไม่สามารถขึ้นเป็น RED LIST.ในAppendix II. " โดยให้เหตุผลว่า ปลาชนิดนี้ ทางประเทศอินโดนีเซีย ได้ร่วมมือกับ NGOs และชุมชนท้องถิ่นในการดูแล และควบคุมอยู่ นอกจากนี้ในพื้นที่บางแห่ง ได้ทำการผสมพันธุ์ได้แล้ว นอกจากนี้ทางการพยายามควบคุมการวิธีหาปลาของชาวพื้นเมืองมากกว่าที่ชอบ ทั้งระเบิดปลา และใช้ไซยาไนด์ เป็นต้นเพราะฉะนั้นคำขอจึงตกไป. และนี่คือดาบ2คมครับ คมแรก  มีการรณรงค์ อนุรักษ์ แต่อีกคม อาจจะดีใจที่ ไม่ติดCITES. ขออนุญาตออกความเห็นส่วตัวนะครับ ปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อปลาในธรรมชาติ มันอยู่นอกเหนือการคาดเดาได้ ต่อให้มีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้แล้ว แต่คงจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆ หากความต้องการคนเข้าไปถึง และจะยิ่งรับรู้ยากขึ้นหากไม่มีการติดตามผลลัพธ์นั้น ผมจึงขอฝากนักตกปลาบ้านเรานิดนึงนะครับ ในทุกๆปีที่กรมปล่อยปลาลงสู่ธรรมชาติ ไม่ได้มีการติดตามนะครับว่าปลาที่ปล่อยลงไป ไปสร้างลูกหลานหรือไม่ น่ะครับ อันนี้ขอฝากน้าๆทุกท่านด้วยครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024