สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 10 - [18 ธ.ค. 53, 12:51] ดู: 13,855 - [26 เม.ย. 67, 03:12] โหวต: 4
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ดาวกระจาย (1714 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
20 มิ.ย. 53, 18:36
1
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 1
เนื่องด้วย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้รับโทรศัพท์จากพี่สาวที่ กทม.ว่าหลานชายซึ่งเป็นลูกของลูกพี่สาวถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตที่อำเภอท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
เมื่อวันพฤหัสจึงได้เดินทางไปพิธีฝังศพ ตอนแรกนึกว่าเผาศพพอดีแฟนของหลานสาวนับถือคริสต์ พิธีสวดก่อนฝังทำในโบส์วัดแม่นางในอ.ท่ามะกา พอฝังศพเสร็จเลยถามถึงเหตุการที่เกิดขึ้น ก็ได้ทราบว่า เด็กอาบน้ำตามลำพังพออาบเสร็จก็ได้ตะโกนบอกแม่ว่าเดี๋ยวเปิดพัดลมเป่าให้ตัวแห้งก่อนนะ แม่ก็ปล่อยให้เสียบปั๊กเองทั้งที่ตัวเด็กยังเปียกอยู่ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการจุดที่เด็กจับปั๊กพัดลมนั้นปั๊กมันแตกแผ่นทองเหลืองโผล่ออกมาแต่ว่าคนโตเขาไม่ได้พันผ้าเทปพอเสียบปุ๊บ........ผมคงไม่ขอพูดต่อแล้วกัน มันเป็นความประมาทของคนโตแท้ๆเพราะกว่าแม่ของเด็กจะรู้ว่าลูกถูกไฟดูด..มันก็สายไปแล้ว............






แต่ว่า การถูกไฟดูดมีวิธีช่วยเหลือคนป่วยเบื้องต้นเล็กๆน้อยๆนำมาฝาก

บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 2
การช่วยเหลือผู้ประสบอันตราย
ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้อง ในการช่วยเหลือดังนี้
1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วย
2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้า โดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊กหรืออ้าสวิตซ์ออกก็ได้
3. ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็วเขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย
4. หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้าให้เร็วที่สุด
5. อย่าลงไปในน้ำ กรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้น หรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย
การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า ดังที่กล่าวมาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบและระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย



การปฐมพยาบาล
เมื่อได้ทำการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้แล้ว จะด้วยวิธีใดก็ตาม หากปรากฎว่าผู้เคราะห์ร้ายที่ช่วยออกมานั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นดังนี้ คือริมฝีปากเขียว, สีหน้าซีด,เขียวคล้ำ, ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว, ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก, ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคลำชีพจรไม่พบ, ม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลงหมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันทีเพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า"เป่าปาก" ร่วมกับการนวดหัวใจก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 3
ตำแหน่งและวิธีการนวดหัวใจผู้ป่วย





บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 4
ตำแหน่งและวิธีการนวดหัวใจผู้ป่วย
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 5
ตำแหน่งและวิธีการนวดหัวใจผู้ป่วย
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 6
ตำแหน่งและวิธีการนวดหัวใจผู้ป่วย



การผายปอดโดยวิธีให้ลมทางปาก

1. ให้ผู้ป่วยนอนราบ จัดท่าที่เหมาะสมเพื่อเปิดทางอากาศเข้าสู่ปอด โดยผู้ปฐมพยาบาลอยู่ด้านข้างขวา หรือข้างซ้ายบริเวณศรีษะของผู้ป่วย ใช้มือข้างหนึ่งดึงคางผู้ป่วยมาข้างหน้า พร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งดันหน้าผากไปทางหลัง เป็นวิธีป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปอุดปิดทางเดินหายใจ แต่ต้องระวังไม่ให้นิ้วมือที่ดึงคางนั้นกดลึกลงไปในส่วนเนื้อใต้คาง เพราะจะทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กๆ
สำหรับเด็กแรกเกิดไม่ควรนอนหงายคอมากเกินไป เพราะแทนที่จะเปิดทางเดินหายใจ อาจจะทำให้หลอดลมแฟบ และอุดตันทางเดินหายใจได้
2. สอดนิ้วหัวแม่มือเข้าไปในปากจนปากอ้า ล้วงสิ่งของในปากที่จะขวางทางเดินหายใจออกให้หมด เช่นฟันปลอม เศษอาหาร เป็นต้น
3. ผู้ปฐมพยาบาลอ้าปากให้กว้างหายใจเข้าเต็มที่ มือข้างหนึ่งบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่นสนิท ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังคงดึงคางผู้ป่วยมาข้างหน้า แล้วจึงประกบปิดปากผู้ป่วยพร้อมเป่าลมเข้าไปทำในลักษณะนี้เป็นจังหวะ 12-15 ครั้งต่อนาที

4. ขณะทำการเป่าปาก ตาต้องเหลือบดูด้วยว่าหน้าอกผู้ป่วยมีการขยายขึ้นลงหรือไม่ หากไม่มีการกระเพื่อมขึ้นลงอาจเป็นเพราะท่านอนไม่ดีหรือมีสิ่งกีดขวางทางเดินทางหายใจ
ในรายที่ผู้ป่วยอ้าปากไม่ได้ หรือด้วยสาเหตุใดที่ไม่สามารถเป่าปากได้ ให้เป่าลมเข้าทางจมูกแทน โดยใช้วิธีปฎิบัติทำนองเดียวกับการเป่าปาก  ในรายเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากและจมูกไปพร้อมกัน


บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 7
เมื่อผู้ป่วยล้มในท่านอนคว่ำหน้าให้พลิกตัวและจัดท่านอนใหม่แล้วตรวจชีพจรและสังเกตที่หน้าอกเพื่อดูการหายใจ
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 8
เมื่อผู้ป่วยล้มในท่านอนคว่ำหน้าให้พลิกตัวและจัดท่านอนใหม่แล้วตรวจชีพจรและสังเกตที่หน้าอกเพื่อดูการหายใจ
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 9
เมื่อผู้ป่วยล้มในท่านอนคว่ำหน้าให้พลิกตัวและจัดท่านอนใหม่แล้วตรวจชีพจรและสังเกตที่หน้าอกเพื่อดูการหายใจ
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 10
เมื่อผู้ป่วยล้มในท่านอนคว่ำหน้าให้พลิกตัวและจัดท่านอนใหม่แล้วตรวจชีพจรและสังเกตที่หน้าอกเพื่อดูการหายใจ



การให้โลหิตไหลเวียนโดยวิธีนวดหัวใจ
เมื่อพบว่าหัวใจผู้ป่วยหยุดเต้นโดยทราบได้จากการฟังเสียงหัวใจเต้น และการจับชีพจรดูการเต้นของหลอดเลือดแดงที่คอ ที่ขาหนีบ ที่ข้อพับแขน หรือที่ข้อมือ ต้องรีบทำการช่วยให้หัวใจกลับเต้นทันที การนวนหัวใจดังวิธีการต่อไปนี้
1. ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้นแข็งๆ หรือใช้ไม้กระดานรองที่หลังของผู้ป่วยผู้ปฐมพยาบาลหรือผู้ปฎิบัติคุกเข่าลงข้างขวาหรือข้างซ้ายบริเวณหน้าอกผู้ป่วยคลำหาส่วนล่างสุดของกระดูกอกที่ต่อกับกระดูกซี่โครง โดยใช้นิ้วสัมผัสชายโครงไล่ขึ้นมา (หากคุกเข่าข้างขวาใช้มือขวาคลำหากระดูกอก หากคุกเขาซ้ายใช้มือซ้าย)
2. วางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงตำแหน่งที่กระดูกซี่โครงต่อกับกระดูกอกส่วนล่างสุด วางสันมืออีกข้างบนตำแหน่งถัดจากนิ้วชี้และนิ้วกลางนั้น
ซึ่งตำแหน่งของสันมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอกนี้ จะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องในการนวดหัวใจต่อไป
3. วางมืออีกข้างทับลงบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วเหยียดนิ้วมือตรงแล้วเกี่ยวนิ้วมือ 2 ข้างเข้าด้วยกันแล้วเหยียดแขนตรงโน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วยทิ้งน้ำหนักลงบนแขน ขณะกดกับหน้าอกผู้ป่วย ให้กระดูกลดระดับลง 1.5-2 นิ้ว
เมื่อกดสุดให้ผ่อนมือขึ้นโดยที่ตำแหน่งมือไม่ต้องเลื่อนไปจากจุดที่กำหนด ขณะกดหน้าอกนวดหัวใจ ห้ามให้นิ้วมือกดลงบนกระดูกซี่โครงผู้ป่วย
4. เพื่อให้ช่วงเวลาการกดแต่ละครั้งคงที่และจังหวะการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจพอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการใช้วิธีนับจำนวนครั้งที่กดดังนี้ หนึ่ง และ สอง และ สาม และ สี่และห้า...โดยกดทุกครั้งที่นับตัวเลขและปล่อยตอน คำว่าและ สลับกันไปอย่างนี้ให้ได้อัตราการกดประมาณ 80-100 ครั้งต่อนาที
5. ถ้าผู้ปฎิบัติมีคนเดียว ให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก2ครั้งทำสลับกันเช่นนี้จนครบ 4 รอบแล้วให้ตรวจชีพจรและการหายใจ หากคลำชีพจรต้องนวนหัวใจต่อ แต่ถ้าคลำชีพจรได้และยังไม่หายใจต้องเป่าปากต่อไปอย่างเดียว
6. ถ้ามีผู้ปฎิบัติ 2 คน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง โดยขณะที่เป่าปากอีกคนหนึ่งต้องหยุดนวดหัวใจ
7. ในเด็กแรกเกิดหรือเด็กอ่อน การนวดหัวใจใช้เพียงนิ้วหัวแม่มือกดกลางกระดูกหน้าอกให้ได้อัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที โดยใช้นิ้วมือโอบรอบทรวงอกสองข้างแล้วใช้หัวแม่มือกด
ในการนวนหัวใจตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ต้องทำอย่างระมัดระวังและถูกวิธีถ้าทำไม่ถูกวิธีหรือรุนแรงอาจเกิดอันตรายได้ เช่นกระดูกซี่โครงหัก ตับและม้ามแตกได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
การเป่าปากเพื่อช่วยหายใจและการนวดหัวใจเพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดนี้ต้องทำให้สัมพันธ์กัน แต่อย่าทำพร้อมกัน เพราะจะไม่ได้ผลทั้งสองอย่างเมื่อช่วยหายใจและนวดหัวใจอย่างได้ผลแล้ว 1-2 นาทีให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีหัวใจเต้นได้เองอย่างต่อเนื่องหรือไม่ สีผิวการหายใจและความรู้สึกตัวดีขึ้นหรือไม่ม่านตาหดเล็กลงหรือไม่ หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวแสดงว่าการปฐมพยาบาลได้ผล แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ควรเลิกช่วยเหลือจนกว่าจะส่งผู้ป่วยให้อยู่ในความดูแลของแพทย์แล้ว
บทความน่ารู้ เรื่อง ไฟฟ้าดูด
ภาพที่ 11
สรุปเป็นขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูด





อ้างอิงข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ของฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง

กองบรรณาธิการ
คัดมาจาก : อิเล็กทรอนิกส์แฮนด์บุ๊ค ฉบับที่ 96 สิงหาคม




.........................................................
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024