สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 30 เม.ย. 67
เอารูปปลามานั่งเทียบกัน 5 ( ตอนที่3) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 5 - [6 มิ.ย. 52, 09:19] ดู: 5,627 - [30 เม.ย. 67, 02:07] โหวต: 3
เอารูปปลามานั่งเทียบกัน 5 ( ตอนที่3)
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
9 มิ.ย. 51, 22:07
1
เอารูปปลามานั่งเทียบกัน 5  ( ตอนที่3)
ภาพที่ 1
ข้อมูลสุดท้ายที่ผมได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อน และได้รับความช่วยเหลือทางด้านข้อมูล ที่เพื่อนผมมีรายงานอยู่กับมือ " พรรณปลาบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ของกรมทรัพยากรชายฝั่งทะเล ปี2548. มีการกล่าวถึงสกุล และ ชนิดของปลา ที่ถูกเรียกว่า " ปลาหางกิ่ว." จากชื่อที่ถูกระบุ มีทั้งปลาในวงศ์ต่างๆ แต่ ในวงศ์ปลาจวดมีการกล่าวอ้าง 2 ชนิด ชนิดแรกมีรายละเอียดไปแล้ว เลยจะขอเน้นเนื้อหาในชนิดที่ 2 ครับผม.
1) Nibea soldado ( Lacepede,1802) อ่านรายละเอียดได้ในตอนที่ 2 ครับ.

2) Boesemania microlepis ( Bleeker,1858)
ชื่อทั่วไป  =  ปลาม้า  หรือ Boeseman croaker.
Diagnostic characters  : เป็นปลาขนาดใหญ่ ( โดยเฉลี่ย 50 ซม. และอาจยาวได้ถึง 1 เมตร) ที่มีคอดหางเรียวยาว ( ประมาณ 26%-28% ของความยาวมาตราฐาน.) ปากอยู่ในแนวต่ำ ลาดเอียงลง ขากรรไกรบนยาวใต้ขอบตา , upper rostral pores 3, marginal rostral pores 5,mental pores in 3 pairs  ฟันมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ฟันขนาดใหญ่อยู่แถวนอกของขากรรไกรบน และแถวไหนของขากรรไกรล่าง เส้นเหงือก = 7-12 เส้นบนขาล่างของซี่กรองเหงือกแรก ครีบหลังมี 2 ครีบ ครีบแรกเป็นก้านครีบแข็งมีจำนวน = 10 ก้าน ครีบที่สองมีก้านครีบแข็ง(ต่อเนื่องจากก้านครีบแรก) = 1 ก้านต่อด้วยก้านครีบอ่อน = 27-34 ก้านครีบอ่อน ( ก้านครีบอ่อนนี้มีจำนวนแตกต่างกันตามแหล่งที่พบ แต่อยู่ในจำนวน 27-34 ก้านครับ) ครีบก้นมีก้านครีบแข็งสองก้าน ก้านครีบแรกสั้นกว่าก้านครีบที่2  ซึ่งมีลักษณะที่ยาวและใหญ่ ( 44%-53% ของความยาวส่วนหัว) ครีบหางกลม  เกล็ดเรียบแบบ cycloidพบบริเวณช่วงจมูก และ แก้ม ส่วนเกล็ดหยาบแบบ ctenoid. พบในส่วนอื่นของร่างกาย เกล็ดเส้นข้างลำตัวยื่นยาวสุดปลายหาง ครีบหางปกคลุมด้วยเกล็ดละเอียด.


สุดท้ายแล้วครับ ขอขอบคุณน้าๆน้องๆที่เข้ามาชมบทความนี้ครับผม.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024