สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 24 เม.ย. 67
+ ทำไมปลาช่อนมีฟอง? + : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 12 - [19 ม.ค. 56, 13:03] ดู: 4,106 - [24 เม.ย. 67, 01:25] โหวต: 5
+ ทำไมปลาช่อนมีฟอง? +
Mr.Frog2009 (2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
13 ธ.ค. 55, 22:58
1
+ ทำไมปลาช่อนมีฟอง? +
ภาพที่ 1
ทำไมปลาช่อนมีฟอง?
เหล่าสาวกเท็กซัสทั้งหลายคงเจอบ่อยนะครับ เวลาสไลด์หนอนแล้วไปสะดุดอะไรซักอย่าง ก็ต้องชั่งใจกันว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ถ้ามีฟองฟอดขึ้นมาก็เป็นอันว่าเปิดหน้ารอกได้เลย ก็สงสัยมานานแล้วนะครับว่าทำไมปลาช่อนต้องทำฟองฟอดออกมา วันนี้ก็พอสรุปคำตอบที่น่าพอใจได้แล้ว
ปลาช่อน หรือ ภาษาสุภาพเรียกว่า ปลาปอด เป็นปลาล่าเหยื่อที่มีนิสัยชอบซุ่มอยู่นิ่งๆ เงียบๆ ในจุดที่มีที่หลบซ่อนหรือฝังตัวอยู่ในโคลนโดยบริเวณอกระหว่างครีบคู่หน้าจะมีลักษณะที่ทำให้ปลาช่อนสามารถยึดตัวอยู่กับหน้าดินได้ การซุ่มนี้ก็เพื่อรออะไรซักอย่างที่พอเป็นอาหารได้ผ่านมา แล้วก็โจมตีอย่างรวดเร็ว การซุ่มแบบนี้ถึงแม้ว่าจะทำให้ปลาสามารถเซฟการใช้พลังงานได้แต่ก็ทำให้ขาดอ็อกซิเจนได้เช่นกัน เพราะไม่มีการเคลื่อนไหว น้ำไหลผ่านเหงือกได้น้อย ปลาช่อนจึงมีวิวัฒนาการในการอุบอากาศมาเก็บไว้ในตัวเพื่อสามารถนำอ็อกซิเจนในอากาศมาใช้ได้โดยไม่ต้องอาศัยเหงือก ซึ่งก็ทำให้ปลาช่อนอยู่แบบนิ่งสนิทได้ ถ้าเป็นปลาอื่นๆ ซุ่มอยู่นิ่งๆ อย่างน้อยก็ต้องขยับเหงือกเพื่อให้น้ำไหลผ่าน แต่ปลาซ่อนสามารถอยู่นิ่งสนิทจริงๆ แบบไม่ขยับเหงือกได้
อย่างไรก็ตามการที่ปลาช่อนฮุบอากาศเข้าไปก็มีข้อเสียเช่นกัน คืออากาศที่ฮุบเข้าไปทำให้ความหนาแน่นของตัวปลาน้อยลง ก็เสมือนกับว่าน้ำหนักของตัวปลาในน้ำนั้นน้อยลง ดังนั้นเมื่อปลาช่อนกัดเหยื่อจะพ่นอากาศออกมาเพื่อให้ตัวมันเองมีน้ำหนักมากขึ้นทันทีทันใด เป็นการทิ้งน้ำหนักตัวเพื่อให้การกัดรุนแรงและสร้างความบาดเจ็บให้เหยื่อมากที่สุด และอาจมีการกดเหยื่อไว้กับหน้าดินเพื่อให้เหยื่อไม่เคลื่อนไหวและตาย ก่อนที่จะกลืนกินเหยื่อต่อไป
นอกจากนี้ปลาช่อนยังใช้การพ่นฟองอากาศเป็นการขู่ผู้รุกรานอีกด้วย หากสนใจเรื่องการโจมตีเหยื่อของพวกปลาช่อนหรือชะโดก็ลองหาใน youtube ดูได้นะครับ จะมีพวกเลี้ยงปลาตู้ที่ถ่ายคลิปตอนปลากินเหยื่อมาให้ดูกัน ดูโรคจิตนิดๆ แต่ก็ดูเพื่อการศึกษาได้เช่นกันนะครับ
ขอให้มีความสุขกับการตกปลานะครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024