สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
มีบทความสั้นๆ มาให้อ่านครับ "โศกนาฏกรรมของทรัพยากรและชุมชน" : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 11 - [6 พ.ย. 56, 11:30] ดู: 3,540 - [12 เม.ย. 67, 05:44] โหวต: 4
มีบทความสั้นๆ มาให้อ่านครับ "โศกนาฏกรรมของทรัพยากรและชุมชน"
Sarachan (282 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
25 ต.ค. 56, 13:34
1
ชะตากรรมจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างไม่มีขอบเขต อันนำไปสู่ความเจ็บปวดนั้นเป็นโศกนาฏกรรมของทรัพยากรและชุมชน

ในปี 1968 นิตยสาร Science ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งต่อมามีการกล่าวขวัญถึงทั่วโลกของ Garrett Hardin ชื่อ “The Tragedy of the Commons”
ข้อเขียนพยายามอธิบายว่าเหตุใดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงยากที่จะแก้ไขได้ Hardin ผู้ประดิษฐ์วลี “โศกนาฏกรรมของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน” ซึ่งเป็นชื่อของบทความนี้อธิบายว่า ลองจินตนาการว่าที่ดินแปลงหนึ่งที่ “เป็นของทุกคนจนไม่มีใครเป็นเจ้าของ (อย่างแท้จริง)” “เปิดกว้างสำหรับทุกคน” ถูกใช้เป็นที่เลี้ยงวัว สถานการณ์เช่นนี้จะจูงใจให้แต่ละคนเอาวัวเข้าไปเลี้ยง เพราะวัวทุกตัวที่นำไปเลี้ยงจะนำกำไรมาสู่เจ้าของ จำนวนวัวก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงจูงใจ

ด้วยการเป็นที่ดินซึ่งมีพื้นที่จำกัดและทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ จะทำให้ไม่สามารถใช้เลี้ยงวัวได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่จำกัดจำนวน ณ จุดหนึ่งที่มีจำนวนวัวมากเกินไป ระบบธรรมชาติก็จะล้มเหลว ความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียขึ้นเช่นนี้สังคมจะเป็นผู้รับไปไม่ใช่ผู้เลี้ยงแต่ละคน

** ตรงนี้เราลองนึกถึง เขื่อนหนึ่งเขื่อน ที่มีคนเข้าไปตกปลา(เล่นๆ) และทำการประมงดู **
ถ้าเราทุกคนเข้าไปเพื่อหวังว่า วันนี้ฉันจะซัดชะโดให้หมดเขื่อนแล้วเอากลับทุกตัว
ชะโดอาจจะไม่หมดแบบสูญพันธุ์ซะทีเดียว แต่มันจะทำให้ระบบนิเวศน์ห่วงโซ่อาหารด้านยอดปิระมิดเริ่มไม่สมดุลย์ เพราะผู้ล่าเริ่มไม่มีประสิทธิภาพในการล่า
ปลาที่อยู่ด้านล่างๆ ปิระมิดจะเริ่มมีจำนวนมากขึ้น พืชน้ำลดลง และนำมาซึ่งความล่ำสลายของระบบนิเวศน์นั้นๆ

ถ้าคนที่เข้าไปวางข่ายดักปลาทำประมง เข้าไปแล้วคิดว่าจะเอาตั้งแต่ปลาซิวยันปลาเค้า
ถึงแม้ปลาที่อยู่ห่วงโซ่อาหารจะไม่หมดไปแบบรวดเดียว แต่ปลาที่อยู่บนยอดปิระมิดก็จะเริ่มหาอาหารไม่ได้ และเริ่มเสียสมดุลย์ไป
สุดท้ายพืชน้ำ สาหร่ายและซากพืชตายที่มีมากจนเกินไป เพราะไม่มีปลากินพืชมาคอยควบคุม ก็จะทำให้น้ำเริ่มเน่าเสีย ระบบนิเวศน์นั้นๆ ก็จะล่มสลายไปเช่นกัน

เราลองมองระบบนิเวศน์ที่เราเข้าไปหาผลประโยชน์อยู่ ในรูปแบบของเกมส์ Uno ที่การล้มทะลายจะไม่เกิดในรอบแรกๆ แต่มันจะค่อยๆ คลอนแคลน ไม่มั่นคงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันพังครืนลงมา

ลองคิด ลองทำดูใหม่ กันครับ ตกได้เยอะ ก็ปล่อยไปบ้าง ตัวเล็กไปทำอะไรไม่ได้เนื้อ ก็ปล่อยมันไปบ้าง ถึงแม้วันหน้าปลาเหล่านั้นมันจะเขี้ยว จะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ
แต่ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ปลามันเขี้ยวไม่กินเหยื่อหรอก มันคือไม่มีปลาที่จะมากินเหยื่อเรามากกว่า
ใช่มั้ยครับ?

อ่านบทความเต็ม คลิก
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024