สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 4 พ.ค. 67
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 20 - [10 ส.ค. 52, 21:39] ดู: 3,824 - [3 พ.ค. 67, 19:47] ติดตาม: 1 โหวต: 13
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
M_NANO (69 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
11 ก.ค. 52, 16:07
1
  ว่าด้วยเรื่อวงเทคนิคการตีเหยื่อปลอม......!!!!!!


เนื่องจากตอนแรก มีเนื้อหาและรูปมากมายไปหน่อย  ดูนานฯ  อาจจะทำให้น้าฯ ตาลาย  และตาเหล่ได้ครับ  อีกอย่างเพื่อให้หัวข้อได้ แสดงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จึงมาคุยกันในตอนที่2 จะดีกว่า 
    เหมือนเดิมครับ  สิ่งที่นำมาคุยกันในตอนนี้  ก้อได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัว และพูดคุยสอบถาม  ตามประสาคนอยากรู้  อยากเห็น  และก้ออยากตกปลาด้วยเหยื่อปลอมเป็น  เมื่อเริ่มตกปลามาใหม่ฯ  เป็นข้อมูลสำหรับผู้เริ่มต้น  แต่คงไม่มีคำว่าจบ  สำหรับคำว่าตกปลา  มีอะไรช่วยกันเพิ่มเติมได้ครับ บนพื้นที่ว่างอันมากมาย  สำหรับเทคนิก และความคิดสร้างสรรค์  บนกระทู้นี้      ( ยืมรูปน้าๆเค้ามาใส่อีกทีเน้อ มีอะไรรับไปเต็มฯ )
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 2
ตอนนี้เราก้อมีเหยื่อปลอมและชุดตกปลาแล้ว  เราก้อพาไปตกกันเลย    ตีเหยื่อปลอมประเภท  ผิวน้ำครับ
      รูปแบบแรก    ตีไปเรื่อยฯ  บ่อยฯ  ในกรณีที่เราไปเจอหมายที่กว้างขวาง  ไม่มีอุปสรรคมากมายนัก  อาจจะมีสาหร่ายขึ้นบ้างประปราย  หรือจอก  และแหน เริ่มตีเหยื่อ
                      ออกไปข้างหน้า โดยการส่งเหยื่อออกไปให้ไกลที่สุดที่เท่าจะทำได้ ควรจะเริ่มจากซ้ายมาขวา  เป็นลักษณะครึ่งวงกลม  หรือรูปพัด    เมื่อเหยื่อตกกระทบผิว
                      น้ำแล้วรอให้เหยื่อหยุดนิ่งสักสี่ ห้า วินาที แล้วค่อยลากกลับเข้ามาช้าฯ  ระหว่างนั้นดูธรรมชาติของการเคลื่อนไหวของเหยื่อที่ใช้ ว่ามันสวยงาม มีเสียงสดใส
                      ขนาดใหน  นี่แหละคับ ลีลาของการตกด้วยเหยื่อปลอม ที่นักตกปลาส่วนใหญ่ ติดใจ  ส่วนใหญ่ถ้ามีปลาอยู่บริเวณนั้น มันก้อจะไล่กัดเหยื่อโดยธรรม
                      ชาติเลยครับ  อาจจะฮุบผิด บ้าง  ไล่กัดแต่ไม่ถูกบ้าง  เราไม่ต้องตกใจครับ  ถ้าผิด อย่างน้อยก้อมีตัวแน่  เมื่อเก็บเหยื่อเข้ามาแล้วเราก้อ  ตีเหยื่อนั้นกลับไป
                      ในแนวที่ปลาไล่กัดเหยื่อ  แต่ให้เลยไปกว่าเดิม มากฯหน่อย  แล้วลากกลับมาเหมือนเดิม 
                                  คราวนี้ปลาตัวนั้น  อาจจะวนเวียนรอ ซ้ำกับความผิดพลาดของมัน  เมื่อลากมาแล้วปลากัด ข้อสำคัญ อย่าตกใจครับ 
                      มักจะเกิดกับนักตกปลาใหม่ฯ  ถ้าปลาโดด แสดงว่าโดนเบ็ดมันกำลังจะสะบัดให้หลุด โดยธรรมชาติของปลา แค่เก็บสายให้ตึง แล้วลากกลับมาตามจังหวะ
                      ของการอัดปลา  แต่ถ้าตูม  แล้วเงียบ รอสักนิดนึง ก้มคันให้สายหย่อน  ปลาอาจจะกัด หรืออม  พอสายเริ่มถูกลาก ก้อวัดเบาฯครับ  ที่เหลือก้อตัวใครตัวมัน
                      แต่โดยส่วนใหญ่ ปลากัดแล้วเงียบ มันอาจจะอมอยู่ ถ้าเป็นเหยื่อปลอม มันรู้แล้วครับ  ว่ากัดกับอะไรก้อไม่รู้  แข็งฯ แต่อาจจะไม่ถูกตัวเบ็ด เช่น กัดสวนกับ
                      เหยื่อทางด้านหน้า  หรือทางด้านข้าง  เป็นผมก้อรอนิดนึงแล้ววัดเหมือนกัน 
 
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 3
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 4
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 5
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 6
--------------------------------------------------------------------------------
  รูปแบบที่2    เลือกตีเหยื่อไปที่หมายแบบจำเพาะเจาะจง  การตีเหยื่อปลอมแบบนี้  จะว่าต้องมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยจากแบบแรกครับ  คือนักตกปลาเริ่มคิดได้ว่าการตีในแบบแรกนั้น  ยิ่งปลาไม่กินแล้วด้วย มันเมื่อยขนาดใหน    วันฯตีออกไป นับได้เป็นร้อยเป็นพัน  ทั้งเดิน  ทั้งร้อน ทั้งเหนื่อย  แต่ถ้าเป็นการเริ่มต้น ถือว่าเป็นการฝึกฝน  ความอดทน  เก็บออมทักษะต่างฯ ระหว่างตีเหยื่อเช่น  เหยื่อขาดออกไป  อาจจะเกิดจากลืมดูว่าสายพันปลายไกด์  ติดตอ  ติดกิ่งไม้ เศษอวน เศษหญ้า จะได้มีเวลาคิด
และจดจำ ว่า  คราวหน้าจะระวัง    แล้วคิดต่อว่า  จะทิ้งเหยื่อ  หรือลงไปงมมาดี  อยู่หลายคน ก้อพอจะมีเพื่อน อยู่คนเดียวนี่สิ ทำไงดี  มีงูรึปล่าว  มีเข้รึปล่าว  น้ำลึกแค่ใหน  สุดท้ายก้อคงตัดใจ และทิ้งมันไป
            เพราะฉะนั้นรูปแบบ2  เริ่มเลือกที่จะตีเหยื่อ ไปตามหมาย  หรือจุดที่คืดว่ามีปลาที่เป็นเป้าหมาย นอนเล่น ซุ่มอยู่  อันนี้ต้องใช้ประสบการณ์ครับ  มันสอนกันไม่ได้
  ในกรณีที่หมายเป็นชายหญ้าขึ้นตามชายตลิ่ง    หรือมีแนวของสาหร่าย  หรือแหน แคบฯ เราจะตีเหยื่อออกไปให้ไกลที่สุดครับ  โดยให้เหยื่อนั้นตกขนานกับหญ้าเหล่านั้น
  แล้วค่อยนลากกลับมาให้เป็นไปตามธรรมชาติของเหยื่อตัวที่ใช้  ปลาส่วนใหญ่มักจะหลบอยู่ตามใต้หญ้า    ต้นธูป  กกหรือสาหร่ายแถวนั้น  เมื่อเหยื่อผ่านมาก้อจะออกมากัดโดยทันที
ซึ่งอาจจะเกิดจากการตีครั้งที่  สอง หรือสาม ถ้ามีตัว
            หรือถ้าไปเจอสภาพหมายที่มีจอก หรือแหน  อยู่เต็มพื้นที่  แต่มีบางส่วนเป็นช่องว่าง  เป็นรูโหว่  อยู่  หมายแบบนี้ผมชอบครับ  มักจะได้ตัวเสมอฯ  คือเราจะตีให้
เหยื่อเลยรู  หรือช่องว่างที่คาดการว่าจะมีปลาว่ายวนอยู่  แล้วค่อยฯลากกลับมา  ให้ผ่านช่องว่างนั้น  ถ้าปลาตัวนั้นแม่น ก้อจะกัดถุกทันที  แต่ส่วนใหญ่ มักจะกัดในการตีครั้งที่
สองหรือสามอีกเหมือนกัน  เพราะบางทีการลากเหยื่อครังแรก จะไปเรียกปลามารออยู่  หรืออาจจะตามมา แต่ด้วยความเร็วของเหยื่ออาจจะเลยไป  ปลากัดไม่ทัน 
          ถ้าเป็นกอบัว  กอหญ้า  ผมก้อจะตีให้ตกบนกอบัว  หรือหญ้านั้น  รอสักพัก  แล้วลากให้ตกลงมาบนพื้นน้ำ รอสักพัก แล้วค่อยฯลากกลับ  สลับไปมาเป็นจังหวะ หยุด
บ้าง ลากบ้าง อันนี้ก้อใช้ได้ผลดีครับ
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 7
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 8
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 9
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 10
รูปแบบที่3      ในกรณีที่หมาย เป็นสองฝั่งแคบฯ มีต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มฯชายน้ำ แต่มีช่องว่าง  อยู่บ้าง ตีเข้าระหว่างช่องนั้นเลยครับ  แต่การตีต้องแม่น และพิถีพิถันพอสมควร ไม่งั้นเหยื่อจะติด ตามกิ่งไม้  และจะเสียโอกาสไปปล่าวฯ  ควรจะตีเผื่อลมด้วย  ถ้ามีลมมาบ้าง  และเวลาได้ปลาจะเอายากครับ  ต้องลงน้ำแทบจะทุกกรณี
          หรือถ้าเป็นสองฝั่งแคบมีหญ้าขึ้น เล็กน้อย  หรือสาหร่าย  ก้อมักจะตีเหยื่อให้ตกลงบนชายตลิ่งก่อน  รอสักพัก ปลาที่ชอบหลบอยู่แถวนั้น เมื่อได้ยินเสียงกระแทกของเหยื่อ  ก้อจะมารอ เสร็จแล้วเราก้อค่อยฯลากเหยื่อให้ตกลงมาบนผิวน้ำ  ส่วนใหญ่วิธีนี้  ปลาจะกินหรือกัด  เหยื่อครั้งแรกทันทีครับ 
          หรือกระชากเหยื่อให้กระโดดลงมาในน้ำ    รอให้เหยื่อลอยอยู่สักนิดนึง  ส่วนใหญ่  กบเวลาตกน้ำ หรือโดดลงน้ำ มักจะลอยตัวอยู่นิ่งฯ  ถ้ามันรู้ตัวว่า จะ มีอันตรายกับมัน  แล้วพอเริ่มเคลื่อนไหว  หรือเริ่มว่าย  ปลาที่จ้องอยู่นั้นจะเข้ากัดทันที กรณีนี้เกิดกับผมหลายครั้งโดยไม่ตั้งใจ  คือตีเหยื่อออกไปแล้ว  สายเกิดพัน  เหยื่อลอยอยู่ในน้ำนิ่งฯ
ขณะกำลังแกะ  หรือแก้สายที่พันเสร็จแล้ว  ก้อจะกรอสายเก็บ  ปลาก้อกัดเหยื่อทันที  บ่อยฯ  หรือตีไปคล่อมกิ่งไม้  พาดกิ่งไม้  แล้วกรอกับ  ปลามักจะกัด  ขณะที่ลากเหยื่อเข้าใกล้โคนกิ่งไม้นั้น  ถ้าติดปลา ก้อต้องลงน้ำทุกกรณี  อีก เหมือนกัน
          บางครั้งเวลาไปตกตามเขื่อน  เวลาไปเจอเกาะที่โผล่พ้นน้ำ  ปริ่มฯ ใหญ่บ้าง  เล็กบ้าง  ก้อใช้วิธีเดิมครับ  อาจจะตีให้ข้ามเกาะนั้นไปหน่อย  แล้วลากข้ามเกาะมาเลย
หรือตีเลาะชายเกาะ  ค่อยฯลากเหยื่อเลาะมาตามชายเกาะนั้น  ปลากระโดดขึ้นมากัด ชายตลิ่งก้อมีบ่อยฯ  ในรูปแบบที่สามนี้ส่วนใหญ่จะเลียนแบบธรรมชาติของเหยื่อที่ตกใจ
หนีตาย  หรือรีบแหวกว่าย  กระโจนเพื่อหาที่ปลอดภัยเวลาโดดลงน้ำครับ 
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 11
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 12
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 13
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 14
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 15
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 16
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 17
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 18
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 19
รูปแบบที่3      ในกรณีที่หมาย เป็นสองฝั่งแคบฯ มีต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มฯชายน้ำ แต่มีช่องว่าง  อยู่บ้าง ตีเข้าระหว่างช่องนั้นเลยครับ  แต่การตีต้องแม่น และพิถีพิถันพอสมควร ไม่งั้นเหยื่อจะติด ตามกิ่งไม้  และจะเสียโอกาสไปปล่าวฯ  ควรจะตีเผื่อลมด้วย  ถ้ามีลมมาบ้าง  และเวลาได้ปลาจะเอายากครับ  ต้องลงน้ำแทบจะทุกกรณี
          หรือถ้าเป็นสองฝั่งแคบมีหญ้าขึ้น เล็กน้อย  หรือสาหร่าย  ก้อมักจะตีเหยื่อให้ตกลงบนชายตลิ่งก่อน  รอสักพัก ปลาที่ชอบหลบอยู่แถวนั้น เมื่อได้ยินเสียงกระแทกของเหยื่อ  ก้อจะมารอ เสร็จแล้วเราก้อค่อยฯลากเหยื่อให้ตกลงมาบนผิวน้ำ  ส่วนใหญ่วิธีนี้  ปลาจะกินหรือกัด  เหยื่อครั้งแรกทันทีครับ 
          หรือกระชากเหยื่อให้กระโดดลงมาในน้ำ    รอให้เหยื่อลอยอยู่สักนิดนึง  ส่วนใหญ่  กบเวลาตกน้ำ หรือโดดลงน้ำ มักจะลอยตัวอยู่นิ่งฯ  ถ้ามันรู้ตัวว่า จะ มีอันตรายกับมัน  แล้วพอเริ่มเคลื่อนไหว  หรือเริ่มว่าย  ปลาที่จ้องอยู่นั้นจะเข้ากัดทันที กรณีนี้เกิดกับผมหลายครั้งโดยไม่ตั้งใจ  คือตีเหยื่อออกไปแล้ว  สายเกิดพัน  เหยื่อลอยอยู่ในน้ำนิ่งฯ
ขณะกำลังแกะ  หรือแก้สายที่พันเสร็จแล้ว  ก้อจะกรอสายเก็บ  ปลาก้อกัดเหยื่อทันที  บ่อยฯ  หรือตีไปคล่อมกิ่งไม้  พาดกิ่งไม้  แล้วกรอกับ  ปลามักจะกัด  ขณะที่ลากเหยื่อเข้าใกล้โคนกิ่งไม้นั้น  ถ้าติดปลา ก้อต้องลงน้ำทุกกรณี  อีก เหมือนกัน
          บางครั้งเวลาไปตกตามเขื่อน  เวลาไปเจอเกาะที่โผล่พ้นน้ำ  ปริ่มฯ ใหญ่บ้าง  เล็กบ้าง  ก้อใช้วิธีเดิมครับ  อาจจะตีให้ข้ามเกาะนั้นไปหน่อย  แล้วลากข้ามเกาะมาเลย
หรือตีเลาะชายเกาะ  ค่อยฯลากเหยื่อเลาะมาตามชายเกาะนั้น  ปลากระโดดขึ้นมากัด ชายตลิ่งก้อมีบ่อยฯ  ในรูปแบบที่สามนี้ส่วนใหญ่จะเลียนแบบธรรมชาติของเหยื่อที่ตกใจ
หนีตาย  หรือรีบแหวกว่าย  กระโจนเพื่อหาที่ปลอดภัยเวลาโดดลงน้ำครับ 
อยากรู้แต่ไม่อยากถาม(ก็เลยเอามาฝาก)
ภาพที่ 20
ยังไม่จบโปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ(ถ้าว่าง)
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024