สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 3 พ.ค. 67
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ(กรุเก่า) อยุธยา : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > อื่นๆ
ความเห็น: 7 - [16 ต.ค. 58, 20:34] ดู: 17,019 - [2 พ.ค. 67, 23:48] ติดตาม: 1 โหวต: 3
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ(กรุเก่า) อยุธยา
art13a (23 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
19 พ.ค. 58, 23:53
1
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ(กรุเก่า) อยุธยา
ภาพที่ 1
พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑสวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องพระกรุเนื้อดินกันซักหน่อยดีกว่านะครับ ในกระบวนการพระกรุเนื้อดินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น พระเนื้อดินที่มีขนาดเล็กและมีชื่อเสียงโด่งดังก็คือพระกรุวัดตะไกร ซึ่งเชื่อขนมกินได้เรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีครับ

วัดตะไกรปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งอยู่ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่เศษ อยู่ห่างจากคลองสระบัวประมาณ 100 เมตร ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง สิ่งก่อสร้างหลักของวัดได้แก่ พระเจดีย์และพระอุโบสถที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ล้วนสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างในครั้งแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ ประมาณปี พ.ศ. 2006 พระเจดีย์หลักของวัดและพระเจดีย์รายเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างเหมือนกันทั้งสิ้น เป็นเจดีย์ฐานต่ำ บัวฐานเป็นแปดเหลี่ยม องค์ระฆังสูงแบบเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยอยุธยายุคกลาง สำหรับพระพุทธรูปพระประธานและพระอุโบสถ เป็นแบบพระพุทธรูปอยุธยายุคกลางที่มีศิลปะสุโขทัยเจือปนอยู่มาก เช่น พระพักตร์รูปไข่ ผ้าสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบ เป็นต้น

วัดนี้คงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ แต่ที่ปรากฏชัดคงได้มีการซ่อมครั้งหนึ่งในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะปรากฏว่ามีพระปรางค์สร้างอยู่องค์หนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหาร ซึ่งพระปรางค์แบบนี้นิยมสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ต่อมาเมื่อข้าศึกมาตีกรุงศรีอยุธยาและเสียกรุงครั้งสุดท้าย วัดนี้ก็เลยกลายเป็นวัดร้างไป และต่อมามีราษฎรได้กลับมาอาศัยอยู่ในสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา และกลับมาเป็นวัดร้างอีกครั้งเมื่อประมาณ 90 ปีที่ผ่านมา

เมื่อกลับมาเป็นวัดร้างได้ประมาณ 20 ปีจึงได้มีคนเข้าไปขุดค้นหาสมบัติและพระเครื่องและได้พบพระเครื่องทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา มีพิมพ์พระหลวงพ่อโต และพระเครื่อง ขนาดเล็กอีก เรียกกันว่า "พระวัดตะไกร" มีด้วยกันสามพิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ เนื้อจากพระพักตร์มีจมูกใหญ่ยื่นออกมา มองดูคล้ายกับหน้าของครุฑ พิมพ์หน้ามงคล องค์พระจะดูชะลูดกว่า พระพักตร์ออกรูปไข่ และพิมพ์หน้าฤๅษี พระพักตร์มองดูคล้ายหน้าฤๅษี พระวัดตะไกรมีทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน บางองค์มีลงรักปิดทองด้วยก็มี พระเนื้อชินนั้นมีการพบน้อยมากจึงไม่ค่อยนิยมเท่าเนื้อดินเผา

พระเนื้อดินเผาของกรุวัดตะไกรนั้นจะเป็นประเภทเนื้อดินผสมกรวด มีทั้งสีแดง เหลือง น้ำตาลไหม้ และเขียว เอกลักษณ์พระเนื้อดินเผาของ กรุวัดตะไกรที่ก้นจะมีรู เข้าใจว่าคงจะใช้ไม้เสียบเพื่อเอาพระออกจากแม่พิมพ์ในด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี วันนี้ก็ได้นำ พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑมาให้ชมกันครับ
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ(กรุเก่า) อยุธยา
ภาพที่ 2
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024