สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 4 พ.ค. 67
เรื่องของหู(โรคหูตึงตอน2) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 1 - [1 ต.ค. 52, 16:52] ดู: 5,390 - [27 เม.ย. 67, 08:21] โหวต: 1
เรื่องของหู(โรคหูตึงตอน2)
ล้อโต (1310 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
25 ก.ย. 52, 10:06
1
หูตึง ( หูหนวก )  หมายถึงภาวะการได้ยินเสียงลดลง อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ยินเลย ( หูหนวกสนิท )  อุบัติการณ์ของการสูญเสียการได้ยินแตกต่างกันในกลุ่มอายุและความรุนแรง  ในเด็กอายุต่ำกว่า  1  ปี  พบ  1.5-6  ต่อ 1,000
สาเหตุ  ของการสูญเสียความสามารถในการได้ยินที่สำคัญ  ได้แก่
1.การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง ( Conductive  hearing  Loss )  เป็นภาวะการรับฟังเสียงบกพร่อง  เนื่องจากมีสิ่งกีดขวาง  เช่น ขี้หู หรือ  น้ำในช่องหู  เป็นผลจากโรคที่ทำให้มีความผิดปกติที่หูชั้นนอก  และหูชั้นกลางไม่สามารถส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นในได้  โรคที่พบบ่อย  แก้วหูทะลุ  หูชั้นกลางอักเสบ
2.การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่องหรือประสาทเสื่อม( Sensorineual  hearing  Loss -SNHL )  เกิดจาก ความผิดปกติของหูชั้นในหรือประสาทรับฟัง  เสียงสามารถเดินทางเข้าไปในหูส่วนในได้แต่เซลส์ขนในหูส่วนในตายหรือหมดสมรรถภาพสัญญาณจึงไม่สามารถเดินทางไปถึงสมองได้  โรคที่พบ  เช่น  โรคเมเนียส์  โรคซิฟิลิส  หัดเยอรมัน  พิษจากยา  หูตึงในคนสูงอายุ( 80% มักเกิดจากสาเหตุนี้ )  หูตึงจากการประกอบอาชีพ
พยาธิสภาพและลักษณะทางคลินิก
ตรวจร่างกายพบว่าพยาธิสภาพอยู่ที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางมีประวัติผิดปกติ มีของเหลวไหลจากหู เช่น เลือดหรือหนอง  ฟังเสียงชัดเจนในที่มีเสียงดังมากกว่าในที่เงียบ  มักพูดเสียงเบามีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงต่ำ  ในกรณี  หูชั้นในผิดปกติจะได้ยินเสียงชัด  ในที่เงียบมากกว่าที่จอแจมักพูดเสียงดัง  พูดไม่ชัด  มีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงสูง  เวียนศีรษะ  ถ้าประสาทฟังเสียงบกพร่องในระดับรุนแรงแต่กำเนิดจะเป็นใบ้
ายการตลอดมีชีพ  ในผู้ใหญ่อายุ18-80 ปี พบ ร้อยละ 16.1
การแบ่งระดับความพิการของหูออกเป็น  6  ระดับ  โดยเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่
500 – 2,000 Hz  เริ่มตั้งแต่หูปกติจนถึงระดับหูหนวก

                    มากกว่า           ไม่มากกว่า
หูปกติ -       27 -     - ปกติ
หูตึงระดับ 1     27     40 หูตึงน้อย     - ไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ
หูตึงระดับ 2     40     55 หูตึงปานกลาง     - พูดเสียงธรรมดาไม่ได้ยิน
หูตึงระดับ 3     55     70 หูตึงมาก     - พูดดังเต็มที่แล้วยังไม่ได้ยิน
หูตึงระดับ 4     70     93 หูตึงอย่างรุนแรง - ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน
      110 หูหนวก     - ใช้เครื่องขยายเสียงแล้วยังไม่เข้าใจ

การรักษา  การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยการรักษาทางยา หรือการผ่าตัดส่วนการสูญเสียการได้ยินทางประสาทรับฟังบกพร่อง ( ประสาทเสื่อม ) ในปัจจุบันนี้ไม่มีวิธีการใดๆ ทั้งการให้ยาหรือการผ่าตัดที่จะสามารถใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง หรือหูตึงอย่างถาวรไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟัง

การป้องกัน   
1. ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง  ระวังมิให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ  โดยเฉพาะโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
                    เชื้อโรคจะเข้าหูได้                                   
2. หลีกเลี่ยงการแคะหู เพราะ จะเกิดแผลเยื่อแก้วหูทะลุ
3. หลีกเลี่ยงการกระแทกบริเวณหูและศีรษะ
4. หลีกเลี่ยงการรับเสียงดัง  โดยมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงตลอดเวลาทำงาน
5. รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำ  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6. ถ้ามีอาการผิดปกติเรื่องการได้ยินควรพบแพทย์ทันที

อ้างอิง
กรมควบคุมโรคติดต่อ  สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม                                                                                                                   
    คู่มือการเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยิน : กุมภาพันธ์ 2547 หน้า 1-4
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024