สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 29 มี.ค. 67
รักน้ำเกลี้ยงในพระสมเด็จ : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > พระเนื้อผง
ความเห็น: 3 - [9 ก.ค. 61, 19:00] ดู: 7,594 - [27 มี.ค. 67, 20:59] ติดตาม: 1
รักน้ำเกลี้ยงในพระสมเด็จ
to focus (69 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
6 ก.ค. 61, 12:15
1
รักน้ำเกลี้ยงในพระสมเด็จ
ภาพที่ 1
บันทึกตำนานโดย “ตรียัมปวาย”
                พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมแร่ทองเนื้อเก้า  ( แร่ทองคำบางสะพาน ทองนพเก้า ) ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย  “ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย “  ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน ได้บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ”แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก และ ในหน้า 404  กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จ จะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม
                นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงวรรณะของพระสมเด็จฯ ในหน้า 464 ในข้อ 3. เนื้อพระสีงาช้าง (วิสาณวรรณะ – Ivory white) เป็นวรรณะขาวอมเหลืองหม่นอ่อนนวล คล้ายสีงาช้าง เป็นวรรณะที่ปรากฏโดยทั่วไปของเนื้อพระสมเด็จฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเภทเนื้อหนึกนุ่ม เช่น เนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อปูนนุ่ม ที่ผ่านสัมผัสมาบ้าง หรือแม้กระทั่งองค์ที่ปราศจากสัมผัสก็ตาม
              ในหน้า 406 ข้อ 9 กล่าวถึงการลงรักทองเก่า พระสมเด็จฯ มีจำนวนมากพอสมควรทีเดียวที่ได้รับการลงรักเก่าทองเก่า หรือลงรักเก่าไม่ได้ปิดทอง หมายความว่า เป็นรักและทองที่ปิดและลงมาตั้งแต่เดิม หรือในสมัยใกล้เคียงการสร้าง
              ก. มูลกรณีการลงรักเก่าทองเก่า สืบเนื่องมาจากคตินิยมโบราณ ในการลงรักปิดทองพระพุทธประติมากรรม โดยถือว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของกรรมวิธีการสร้างพระ ตามอุดมคติที่ว่า พระพุทธฉวีมีวรรณะผุดผ่องดังทองชมพูนุท
                  รักเก่าน้ำเกลี้ยง เป็นรักเก่าดั้งเดิม ซึ่งเข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ลงไว้ตั้งแต่สมัยการสร้าง การปรากฏตัวของรักเก่าชนิดนี้ จะต้องมีทองฉาบอยู่ข้างหน้าเสมอ เนื้อรักมีสัณฐานเป็นแผ่นบางๆ ลักษณะแห้งเกราะหรือหลุดร่วนหมดยางเหนียวมีวรรณะดำแกมน้ำตาลไหม้  แต่เป็นวรรณะแห้งซีด ไม่สดใส เนื่องจากความเหนียวแน่นมีน้อยมาแต่เดิมและสัณฐานบาง รวมทั้งมีอายุเก่าแก่จึงอาจหลุดลุ่ยออกมาจากผิวเนื้อเป็นหย่อมๆ รักชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดการแตกลายงาอย่างจัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับที่เกิดกับประเภทเนื้อหนึกนุ่มด้วยแล้วเกือบจะไม่แตกลายงาเลย
                    และ ในหน้า 460 กล่าวถึงลักษณะของพระสมเด็จเก่าเก็บ คือ พระที่ไม่ได้ใช้ หรือผ่านการสัมผัสจับต้องน้อยที่สุด ผิวเนื้อและวรรณะของพระจะแห้งผาก ไม่สดใส
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024