สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้... : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > พระเหรียญ
ความเห็น: 5 - [16 ก.ค. 61, 15:07] ดู: 9,841 - [26 เม.ย. 67, 08:46] โหวต: 3
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ripper_ma (245 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
13 ก.ค. 61, 08:56
1
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 1
ขณะนี้ พระเครื่อง ที่หลวงพ่อกวยได้มีเมตตา ให้จัดสร้างขึ้น มีราคาขยับมากมาย...แต่ยังคงมีบางรุ่นที่จะพอหาได้...โดยไม่รบกวนเงินในกระเป๋าอยู่ครับ...
ประวัติหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2448 ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้านบ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของนาย ตุ้ย ปั้นสน บ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อ นางต่วน เดชมา เป็นคนบ้านแค หลวงพ่อกวยท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา เมื่อโตขื้นบิดามารดาจึงได้นำมาฝากไว้กับ หลวงปู่ขวด วัดบ้านแค เพื่อเรียนหนังสือในสมัยนั้นบ้านเมืองยังเป็นป่าเป็นดง จะหาโรงเรียนเรียนก็ยาก เพราะห่างไกลความเจริญ ต่อมาหลวงปู่ขวดก็มรณภาพ บิดามารดาจึงได้นำเด็กชาย กวย มาเรียนหนังสือขอมต่อกับ อาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ชึ่งใกล้ๆกับวัดบ้านแค และต่อมาบิดามารดาจึงได้ย้ายโรงเรียนให้มาเรียนที่โรงเรียนวัดโพธิ์งาม ต. ดอนกำ อ.สรรคบุรี เมื่อท่านอายุครบบวช บิดามารดาท่านจึงได้จัดการอุปสมบทให้ ณ วัดโบสถ์ ต. โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร โดยมีพระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อปา(องค์นี้ดังมากครับ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หริ่ง เป็นอนุวจาจารย์ บวชเมื่อวันที่ 5 เดือนกรกฏาคม พ.ศ 2467 และครั้งหนึ่งในระหว่างบวชเรียน หลวงพ่อได้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณกับ หมอเขียนหมอเขียนคนนี้ สามารถรักษาโรคระบาดหรือโรคห่า โรคไข้ทรพิษ ได้ และต่อมา หลวงพ่อกวยท่านอยากจะเรียนวิปัสสนากัมมักฏฐานและอาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับ หลวงพ่อศรีวิริยะโสภิต(ดังมากครับ) แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี ชาวบ้านเรียก คุณพ่อศรี วัดพระปรางค์ ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2477 ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาทอีก 1 พรรษา ได้เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณต่อกับ หมอใย บ้านบางน้ำพระ ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยวไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทวดารักษา จึงได้มาชักชวนพระกวย ให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่ในโพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนต้นไม้ พระภิกษุกวยจึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิฐานว่า ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอาตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิฐานขื้นใหม่ว่า ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น แล้วก็จุดธูปขื้นเป็นครั้งสุดท้าย ปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง 3 ดอก หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำรา แล้วอัญเชิญเอาตำรานั้นมาเก็บไว้ ในตำรามีพระมนต์และยันต์ต่างๆ มากมายหลายร้อยยันต์ เป็นยันต์กันอาวุธ , กันกระทำ , กันคุณ , กันของ คาถาก็มีมากมายหลายบท เป็นภาษาของคนโบราณ แต่มีบทหนึ่งเขียนไว้ว่า พระมนต์พระพุทธเจ้าชนะมาร ใช้เรียกนางแม่ธรณี ใชทำน้ำมนต์ ฆราวาสห้ามเรียน ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่า ครูแรง ด้วยสีแดง หลวงพ่อกวย ได้จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายแบบ หลายรุ่น โดยมีราคาค่านิยม ตั้งแต่เป็นแสนบาท ไปถึงหลักร้อย...หลวงพ่อกวย เป็นพรสมถะเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ฉันวันละหนึ่งมื้อ ทำให้ ในปี พ .ศ 2521 หลวงพ่อได้อาพาธลง จึงได้เข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท ชึ่งหมอได้วินิจฉัยโรคว่า ท่านเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ในเดือนมีนาคม พ .ศ 2522 หลวงพ่อได้วงปฏิทินวันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทินวันที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วย ตัวหนังสือสีแดง คือ วันที่ 11 มีนาคม และ 11 เมษายน 2522 พร้อมไดเขียนพระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็นคาถา แคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า อาต มาภาพกวย นะตันโต นะโมตันติ ตันติโตตัน นะโมตันตัน จะมรณภาพวันที่ 11 เมษายน เวลา 7 นาฬิกา 55 นาที พอวันที่ 11 มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ได้เข้ารับการรักษา แต่เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 ท่านก็ได้มรณะภาพ ในขณะมีอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 54
[/b]
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 2
เหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นที่สาม เรียกว่า เหรียญฝังลูกนิมิตร จัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี 2521 เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างประมาณ ๔๐,๐๐๐ เหรียญ โดยแบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองประมาณ ๕๐๐ เหรียญสมนาคุณแก่ผู้ที่จองบริจาคข้าวสาร ๑ กระสอบ ในงานผูกพัทธสีมา พ.ศ.๒๕๒๑ ก็จะได้รับเหรียญรุ่น ๓ กะไหล่ทอง ๑ เหรียญที่เหลือเป็นเหรียญเนื้อทองแดง มีทั้งรมดำและรมน้ำตาลแดงหรือผิวไฟ ออกให้บูชาเหรียญละ ๒๐ บาท เหรียญด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ มียันต์ นะอุดปืน อยู่สองข้าง ใต้องค์หลวงพ่อระบุ หลวงพ่อกวย ชุตินฺโร วัดโฆสิตาราม ด้านหลังจะเป็น ยันต์ไตรสรณคมณ์ ที่ระลึกในงาน พ.ศ. ๒๕๒๑ ผูกพัทธสีมา จัดเป็นเหรียญที่มีประสพการณ์มาก[/b]
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 3
เหรียญผูกพันธสีมา เป็นเหรียญที่มีการปลอมแปลงเยอะมา พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ หลังยนต์ไตรสรณคม อีกแบบ จะเป็นหนุมาน เชิญธง ซึ่งที่ค่านิยมสูงกว่า ขอรับ
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 4
เหรียญจตุพิธพรชัย...ประวัติเหรียญว่าไว้ว่า นายนุ่ม เรียนดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ 1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ 2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา 3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี 6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา 7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ 8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา 10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา 11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน) โดยในครั้งนั้น จัดสร้างวัตถุมงคลหลายอย่าง มีเหรียญรูปเหมือนเกจิอาจารย์ จำนวน 8 รูป(ลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม )เมื่อสร้างเสร็จ ก็ขอบารมีหลวงพ่อแต่ละองค์ ไปอฐิษฐานจิต เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนนำมาเข้าพิธี จตุรพิธพรชัย โดยมีจำนวน 5,999ท เหรียญ ต่อพระอาจารย์หนึ่งรูป ถือเป็นเหรียญหลวงพ่อที่มีความนิยมในปัจจุบัน[/b]
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 5
ด้านหลังเหรียญครับ...
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 6
ยังไม่มีตังไปถ่ายรูปครับ อาศัยกล้องมือถือ...ส่วนเหรียญจะแท้หรือไม่...ขอให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ชี้แนะครับ...

เห็นราคาพระในเว็บนี้ แทบเป็นลม
http://www.thaprachan.com/search-amulet/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A2

http://www.thaprachan.com/search-amulet/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A2
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 7
ชอบเหรียญนี้มาก ช่างแกะหน้าหลวงพ่อมีชีวิต เหลือเกิน
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 8
ตำหนิ...ที่ดูกันมาแต่โบราณ
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 9
ตำหนิ...ที่ดูกันมาแต่โบราณ
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 10
ตำหนิ...ที่ดูกันมาแต่โบราณ
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 11
ตำหนิ...ที่ดูกันมาแต่โบราณ
หลวงพ่อกวย ชุติโร ที่ยังพอหาได้...
ภาพที่ 12
หน้าหลวงพ่องดงาม...
แก้ไข 1 ส.ค. 61, 10:11
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024