สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 มี.ค. 67
พระกรุวัดราชนัดดา : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > อื่นๆ
ความเห็น: 2 - [9 ส.ค. 61, 13:28] ดู: 5,492 - [28 มี.ค. 67, 20:27] โหวต: 1
พระกรุวัดราชนัดดา
ripper_ma (245 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
9 ส.ค. 61, 10:59
1
พระกรุวัดราชนัดดา
ภาพที่ 1
ตามประวัติการขุดพบพระเนื้อดิน กรุวัดราชนัดดา เล่าว่า เมื่อพ.ศ.2514 รถบรรทุกขนวัสดุในการก่อสร้างโลหะปราสาทได้ชนพระเจดีย์องค์หนึ่งภายในวัดราชนัดดา พระเจดีย์องค์นี้สูงประมาณ 3 วา อยู่นอกเขตพุทธาวาสทางด้านทิศใต้ คืออยู่ข้างทางเดินเข้าวัดทางด้านถนนมหาชัย และอยู่กึ่งกลางระหว่างพระฉายกับหอระฆัง พระเจดีย์เมื่อถูกรถชนได้พังทลายลงมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้เข้าไปคุ้ยตามซากพระเจดีย์ ก็พบพระเครื่องเข้าจำนวนหนึ่ง เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีชาวบ้านมาคุ้ยหาพระเครื่องกันเรื่อย ๆ โดยตอนแรกทางวัดยังไม่ทราบเรื่องพระแตกกรุจากองค์พระเจดีย์ แต่ต่อมาชาวบ้านที่ไปขุดคุ้ยหาพระเครื่องได้นำพระที่ได้มาออกไปขายจนเป็นข่าวกระจายออกไป เมื่อทางวัดทราบข่าว เจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดไปทำการสำรวจและทำการขุดเอาพระที่เหลือมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของทางวัดต่อไป ตอนที่จะทำการขุดรื้อพระเจดีย์เพื่อเอาพระขึ้นมาเก็บรักษา ขณะนั้นเป็นเวลาตอนเย็น แต่เมื่อขุดลงไปจนถึงบริเวณที่เป็นกรุพระแล้ว ก็ไม่อาจเอาพระขึ้นมาจากกรุได้ เนื่องจากขณะนั้นได้มีชาวบ้านที่ทราบข่าวว่ามีการขุดกรุได้พากันมามุงดูกันเป็นจำนวนมาก และพยายามจะเฮโลเข้าแย่งพระกัน ทางวัดจึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจสำราญราษฏร์มาทำการรักษาความสงบจำนวนสองนาย แต่ก็ยังไม่อาจจะเอาพระขึ้นมาได้อยู่ดี เพราะชาวบ้านที่มามุงดูมีจำนวนมากเกินไป จึงได้แต่รักษาความสงบอยู่อย่างนั้นมาตลอด ครั้งพอถึงเวลา 03.00น. ชาวบ้านที่มามุงดูได้กลับไปแล้วเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน ทางวัดจึงได้ทำการขุดเอาพระขึ้นมาและทำการขุดเสร็จสิ้นเอาเมื่อเวลา 10.30น. ของวันต่อมา พระเครื่องที่ขุดขึ้นมาทั้งหมดประมาณ 2 กระสอบใหญ่ประมาณแล้วก็ได้เป็นหมื่นๆองค์โดยเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด แบ่งเป็นพิมพ์แล้วได้มากกว่า 10 พิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ พิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมปรกโพธิ์ พิมพ์ยืนประทานพร พิมพ์ยืนรำพึง พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ พิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์อัครสาวก พิมพ์ปิดทวาร พิมพ์ช้างป่าเลไลยก์ชูกระบอกน้ำ ฯลฯ พระกรุวัดราชนัดดาเป็นพระเนื้อดินเผา มีหลายโซนสี และลักษณะที่พบบ่อยจะเป็นเนื้อออกสีน้ำตาลอ่อน มักจะปรากฏรารักสีดำประปรายตามผิว (ไม่ปรากฏก็มี อยู่ที่องค์พระนั้น ๆ) เนื้อไม่แน่นตัวและหนึกนุ่มเหมือนพระกรุเมืองกำแพงเพชร เรื่องประวัติว่าใครเป็นผู้สร้างไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่ดูจากศิลปะและอายุความเก่าพระกรุวัดราชนัดดาน่าจะสร้างอยู่ในราวสมัยรัชการลที่ 5-6 อายุคงราวๆ 100 ปีโดยประมาณ ค่านิยมเช่าหาสำหรับพระกรุนี้ก็ยังถือว่าไม่สูงมากนัก มีมากมายหลายพิมพ์ให้เลือกเก็บสะสม เป็นของดีอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นพระดี ชัดเจนเรื่องที่มาที่ไป และมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

คัดลอกมาจาก Colection 9.net ครับ
พระกรุวัดราชนัดดา
ภาพที่ 2
  พระกรุวัดราชนัดดา นั้นเป็นพระเครื่อง ที่มีศิลปะสวยงาม มีอายุ ค่านิยม พันกว่าบาท คนเก่า เค้าบอกว่า น่าจะสร้างในสมัยรัชการที่ 5 หรือ รัชกาลที่ 6 แต่วัดนี้ ผมเข้าใจว่า สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งการสร้างพระเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์นี้ ก็น่าจะจัดสร้างขึ้นในปี 2395 ซึ่งเป็นปีที่ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี สิ้นพระชนม์ เพื่อเป็นถวายพระราชกุศล
พระกรุวัดราชนัดดา
ภาพที่ 3
ทำไมถึงคิดอย่างนั้น นะหรือขอรับ เกล้า ขอเรียนว่า มีพระเครื่องเนื้อดินเผา ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน อยู่หนึ่งถึงสองพิมพ์ ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกับพระกรุวัดราชนัดดา ก็คือ พิมพ์นางกวัก และพิมพ์ป่าเลยไลย์  เกล้าคิดว่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้มาศึกษาและจำพรรษาอยู่ที่ วัดชนะสงครามอยู่พักหนึ่ง และวัดชนะสงคราม กับวัดราชนัดดา ตั้งอยู่ไม่ห่างกันมากนัก เดินแค่เหงื่อแตกลงร้อยหวาย ท่านคงจะได้รับแจกพระพิมพ์นางกวัก พิมพ์ป่าเลย์ไลย์ ในคราวที่มีการจัดสร้างบรรจุกรุ และเมื่อท่านกลับไป จ.พิจิตร จึงได้มีการถอดพิมพ์ไปสร้างพระของท่านเอง นะขอรับ
พระกรุวัดราชนัดดา
ภาพที่ 4
นางกวัก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ครับ
พระกรุวัดราชนัดดา
ภาพที่ 5
นางกวักกรุวัดราชนัดดา นะขอรับ...
แก้ไข 9 ส.ค. 61, 11:06
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024