สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 24 เม.ย. 67
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > พระเหรียญ
ความเห็น: 8 - [10 ก.ย. 63, 20:53] ดู: 2,862 - [24 เม.ย. 67, 10:07] โหวต: 4
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ripper_ma (245 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
1 ก.ย. 63, 13:19
1
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 1
ด้วยความที่ ทวด ของผม เป็นคนนครชัยศรี เลยรู้สึกผูกพันกับ วัดกลางบางแก้ว เป็นพิเศษ พักนี้เลยเจอแต่หลวงปู่วัดกลางเยอะหน่อยครับ

เหรียญหลวงปู่นี้  เรียกกันว่า เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ปี 2518 เหรียญยอดนิยม พิธีใหญ่จัดสร้างขึ้นโดยใช้ชนวนโลหะชุดเดียวกับพระกริ่งพุทธชัยศรี เพื่อหาทุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเพิ่มวิทยา โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังถึง ๑๐๘ รูปมาร่วมทำพิธีปลุกเสกพร้อมกับพระกริ่งพุทธชัยศรี และ วัตถุมงคลอีกหลายๆแบบในคราวนั้น ซึ่งในครั้งนั้นถือว่าเป็นพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของวัดกลางบางแก้ว  ในปี๒๕๑๗ ถึง ปี๒๕๑๘ มูลนิธิเพิ่มวิทยา มีการจัดพิธีพุทธาภิเษก ๓ วาระ
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 2
เหรียญนี้ เรียกว่า หน้าตรงรุ่นเททอง เป็นเหรียญที่จัดสร้างโดยมูลนิธิเพิ่มวิทยา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เหรียญนี้เป็นเหรียญที่สร้างและปลุกเสกในปี 2517 ตามประวัติการสร้างต่อไปนี้ ในปี 2517 ถึง 2518 มูลนิธิเพิ่มวิทยา มีการจัดพิธีพุทธาภิเษก3 ครั้ง

ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 3
เหรียญหลวงปู่เพิ่มฉลองอายุ 92 ปี หรือหลายท่านเรียกว่า เหรียญสมัครเมื่อปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่เพิ่มมีชนมายุได้ 92 ปี และอุปสมบทมาเป็นเวลา 70 พรรษาแล้ว มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อ แจกเหรียญแก่ทหาร-ตำรวจนี้ โดยเนื้อทองแดงสร้าง 20,000 เหรียญ โดยมีพิธีพุทธาภิเษ ก่อนวันคล้ายวันเกิดท่านราว 10 กว่าวัน ในปีนั้นวันเกิดท่านตรงกับวันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2520 และหลวงปู่ก็เสกเดี่ยวมาตลอด 10 วันเศษ ก่อนจะประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกถึง 2 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี ต่อมาวัดได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ทราบกำหนดการนำเหรียญไปมอบเพื่อแจกทหาร-ตำรวจที่ไปรบ ซึ่งในสมัยนั้น (นายสมัคร สุนทรเวช)  เป็น รมว.จนมีการเรียกขานเหรียญรุ่นนี้จนติดปากว่า "เหรียญสมัคร หรือ เหรียญนายสมัคร" เพราะนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ได้นำเหรียญหลวงปู่เพิ่มไปแจกแก่ข้าราชการทหาร-ตำรวจ อีกทีหนึ่ง
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 4
เหรียญนี้ เรียกันว่า เหรียญโชคดี จัดสร้างโดยมูลนิธิ เพิ่มวิทยา โดยจัดสร้างปี 2521 โดยมีหลวงปู่เพิ่มเป็นผู้อธิฐานจิต สร้างน้อยหายากครับ
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 5
เหรียญข้าวหลามตัด พิมพ์ถือไม้เท้า หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เนื้อเหรียญข้าวหลามตัด พิมพ์ถือไม้เท้า หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เนื้อทองแดง จัดสร้างในปี พศ.2521
ลักษณะรูปทรงของเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีหูเหรียญในตัว ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่เพิ่ม ยืนถือไม้เท้าเต็มองค์ ส่วนด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์ " นะโมพุทธายะ " แบบ พุทธซ้อน แต่ขึ้นยอดหลายชั้น อยู่บริเวณกึ่งกลางของเหรียญ และด้านหลังเหรียญใต้ยันต์ มีอักษรคำว่า " วัดกลางบางแก้ว ๒๕๒๑ "ทองแดง จัดสร้างในปี พศ.2521
ลักษณะรูปทรงของเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีหูเหรียญในตัว ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่เพิ่ม ยืนถือไม้เท้าเต็มองค์ ส่วนด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์ " นะโมพุทธายะ " แบบ พุทธซ้อน แต่ขึ้นยอดหลายชั้น อยู่บริเวณกึ่งกลางของเหรียญ และด้านหลังเหรียญใต้ยันต์ มีอักษรคำว่า " วัดกลางบางแก้ว ๒๕๒๑ "
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 6
เหรียญรุ่น 5 หน้าตรง หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว.โดยเหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบ 90 ปี “พระพุทธวิถีนายก(เพิ่ม) ปุญญวสโน วัดกลางบางแก้ว”..เหรียญรุ่นนี้แกะแม่พิมพ์โดยนายช่างสนั่น ..จำนวนจัดสร้างแบ่งได้ เนื้อทองแดงรมดำจำนวน 5,000 เหรียญ และ เนื้อเงินจำนวน 100 เหรียญ แต่เหรียญนี้พิเศษ เป็นพิมพ์ที่มีไม่เกิน 500 เหรียญ เรียกว่า พิมพ์จีวรชิด ครับ
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 7
เหรียญอยุธยาทรงเครื่อง สร้างปี 2518 โดย พระปลัดใบเป็นผู้จัดสร้าง โดยมีอาจารย์ อวบ สานะเสน เป็นผู้ออกแบบ จัดเป็นเหรียญรุ่นที่ 5 เนื้อทองแดงผิวไฟ สร้างเพียง 2000 องค์
ช่วงโควิด 5 วัดกลางบางแก้ว
ภาพที่ 8
เหรียญรุ่นนี้นับเป็นเหรียญรุ่นที่สิบสองสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบรอบ 94 ปี พ.ศ. 2522 ลักษณะเหรียญเป็นแบบเหรียญรูปอาร์มมีลายกนก ตัดขอบโค้งลาดกว้างออกไปคล้ายกลมป้อม แหลมปลายล่างคล้ายผลลูกท้อ มีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ และอักษรใต้รูปเขียนว่า “วัดกลางบางแก้ว” รวมทั้งมีเส้นลายกนกคั่นอักษรล่างสุดเขียนว่า “หลวงปู่เพิ่ม (เพิ่ม ปุญญวสโน)” ส่วนด้านหลังเหรียญ เชิญยันต์นะโมพุทธายะแบบพุทธซ้อน สร้างเฉพาะเนื้อทองแดงรมน้ำตาล จำนวนสร้างประมาณ 2,000 เหรียญ
แก้ไข 1 ก.ย. 63, 19:04
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024