สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 4 พ.ค. 67
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 46 - [5 ก.พ. 55, 23:09] ดู: 14,143 - [4 พ.ค. 67, 13:09] โหวต: 16
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
shinova offline
23 พ.ค. 53, 00:28
1
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 1
          คิดว่าน้าๆที่ใช้รอกประเภทนี้ทุกท่านคงไม่มีใครที่ไม่เคยเจอนะครับไม่ว่าจะเป็นชำนาญแล้วหรือมือใหม่หัดเล่นล้วนเจอกันมาแทบทุกคนซึ่งตัวผมเองก็เจออยู่เป็นประจำ
แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าอาการจะสาหัสมากน้อยแค่ใหน ถ้าเบาก็พอแก้ได้ แต่ถ้าหนักหน่อยอาจจะต้องตัดสายแล้วเริ่มต้นใหม่  ซึ่งสาเหตุคิดว่าน้าๆทุกท่านคงพอทราบแต่การแก้ต้นเหตุล่ะ
แก้ยังไง  ผมลองอ่านในกระทู้ต่างๆที่น้าๆหลายท่านได้เขียนไว้เกี่ยวกับการตีเหยื่อของ รอกเบส หรือการเอา รอกทอลลิ่ง มาตีเหยื่อพอสรุปได้ว่า

- การใช้คันที่เหมาะกับรอก
- การฝึกฝนให้ชำนาญ
- การปรับหน่วงตัวรอกให้เหมาะกับน้ำหนักเหยื่อ (อันนี้สำคัญ)
- ใช้นิ้วหัวแม่มือเกลี่ยที่สปูนขณะที่เหยื่อพุ่งออกไป

        แต่มาคิดดูถ้าหากตีเหยื่อออกไปแล้วมีอะไรมาเกลี่ยที่สปูนแทนเราและแรงที่เกลี่ยก้อสม่ำเสมอ แล้วเราค่อยหยุดการหมุนของสปูนเมื่อเหยื่อกำลังตกลงผิวน้ำหรือกำลังจะข้ามฟากไปโดนหัวคน
คนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบ่อจะดีกว่าไหม

งั้นมาเริ่มกันเลยครับ concept  คือ
- ชะลอไม่ให้สปูนหมุนเร็วเกินไปในจังหวะที่ออกตัวหรือตีแต่ไม่ฉุดแรง ซึ่งทำให้ตีได้ไม่ไกล
- เกลี่ยที่สปูนขณะที่เหยื่อพุ่งออกไปแล้วและลดแรงเกลี่ยลงตามระยะทาง(ใกล้แรง  ไกลเบา)
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 2
          เริ่มจากเตรียมแผ่นสเตนเลส ที่ความหนา 0.15 มม.(ที่นิยมเอาทำคลิกเสียง รอกสปินนิ่งกัน)
ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10-15 มม. ยาว 60-80 มม. ขนาดกว้างและยาวเอาตามเหมาะสมนะครับไม่มีตายตัว
ลบมุมทั้ง4 ด้าน และบากด้านใดด้านหนึ่งตามรูปนะครับเพื่อสอดเข้าระหว่างฐานรอกกับโครงรอกตรงที่มีน๊อตยึด
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 3
            นำแผ่นสเตนเลสที่ตัดแต่งเสร็จแล้วมาสอดเข้ากับฐานรอกโดยปลายด้านที่บากไว้สอดเข้าระหว่างฐานรอกกับโครงจุดที่ยึดน๊อต
และปลายอีกด้านก็จะวางอยู่บนโครงรอกเหนือหัวน๊อตที่ยึดโครงกับฐานรอกอีกตัวนึง
ทีนี้ก็กำหนดจุดที่จะพับแผ่นสเตนเลสให้กดกับสปูนโดยจุดที่พับให้เลยหัวน๊อตออกมาข้างนอกตัวรอกประมาณ 5 มม.
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 4
          มุมหรือองศาจะเป็นตัวกำหนดแรงกดและระยะทางในการกด  คือถ้ามุมแคบมากแรงกดก็มากและแรงกดจะลดลงช้า
แต่ถ้ามุมกว้างแรงกดก็จะน้อยและผ่อนแรงกดเร็ว แต่ในนี้ผมพับที่มุมประมาณ 60 องศา กำลังดี
ตอนที่พับก็ระวังเรื่องของมุมคืออย่าหักมุมมากไปให้ดีควรให้มีโค้งนิดนึงเดี๋ยวจะหักก่อนได้ใช้
เอาเป็นว่าพับตามตัวอย่างละกันครับ
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 5
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 6
        เสร็จแล้วนำมาประกอบเข้ากับฐานรอกตามรูปครับ แล้วก็ทดลองดึงออกนอกโครงรอกดูและลองดันกลับเข้าไปในโครงรอกดูว่าสามารถทำได้หรือไม่
วิธีนี้เอาไว้สำหรับเวลาที่ต้องการหรือไม่ต้องการใช้ครับถ้าใช้ได้ก็เป็นอันเสร็จถ้าไม่ได้ก็ตัดปลายด้านบนออกแล้วพับปลายใหม่ครับ
การแก้ปัญหาตีเหยื่อแล้วเอ็นฟู่(รอกเบส คลาสติ้ง)
ภาพที่ 7
        จากนั้นก็ประกอบสปูนและชุดเฟืองขับเข้ากับโครงรอกเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
ต่อไปเป็นการทดสอบเบื้องต้นโดยการกดฟรีสปูน และปรับหน่วงให้หลวมๆไว้แล้วลองดึงสายออกดูจะเห็นว่าสามารถดึงออกได้ง่ายปกติ  แต่สปูนจะไม่หมุนฟรีให้สายฟู่
แสดงว่าผ่านการทดสอบเบื้องต้นครับ แต่ถ้าตรงกันข้ามแสดงว่าพับมุมมากกว้างหรือแคบไปครับให้ปรับมุมใหม่ครับ
      ทีนี้มาดูผลการทดสอบของจริงครับ
10 ไม้แรก ตอนที่ตีออกไปไม่ได้เอานิ้วเกลี่ยที่สปูนเลยใช้ครั้งเดียวตอนที่ตะกั่วกำลังตกถึงผิวน้ำ
คัน 8 ฟุต
สาย 25 ปอนด์
ปรับหน่วง หลวม(สปูนขยับ ซ้าย-ขวาได้ ประมาณ0.5-1 มม.)
แรงตีสุดเหวี่ยง
ตะกั่ว 80 กรัม
ผลที่ได้เหนื่อยมากแต่สายไม่ฟู่เลยครับพี่น้องระยะที่ได้ถือว่าไกลเอาการเหมือนกันไม่ได้วัดแต่ไกลที่สุดเท่าที่เคยตีมาเลยครับ
เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ไม้ที่ 11-20  ตอนที่ตีออกไปไม่ได้เอานิ้วเกลี่ยที่สปูนเลยใช้ครั้งเดียวตอนที่ตะกั่วกำลังตกถึงผิวน้ำ
คัน 8 ฟุต
สาย 25 ปอนด์
ปรับหน่วง ไม่ได้ปรับเลยเปลี่ยนตะกั่วแล้วตีเลย
แรงตีสุดเหวี่ยง
ตะกั่ว  40 กรัม
ผลที่ได้เหนื่อยมาก กว่า10ไม้แรกอีกแต่สายไม่ฟู่เลยครับพี่น้อง ระยะที่ได้ตามน้ำหนักตะกั่วครับใกล้กว่าเดิมพอสมควร
เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สรุปเลยนะครับ
ข้อดี
โดยรวมถือว่าโอเคเลยที่สำคัญไม่เกะกะเวลาใช้งาน
ตีแล้วสายไม่ฟู่
สามารถใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามความต้องการ
ทำได้เอง
ราคาถูก/ประหยัดตังค์(จนครับ)
ข้อเสีย
ส่วนเกิน
ไม่สวย
มีเสียงเวลาตีออกไป(เสียงแผ่นสเตนเลสกรีดกับสายเอ็นแต่ไม่บาดสายเอ็นขาดนะครับยืนยันได้)
ถ้ารับได้สำหรับเสียงที่ดังส่วนตัวถือว่าไม่มากไปครับ
ก้อจบลงแล้วครับสำหรับตัวป้องกันสายฟู่ งัยก้อผิดถูกประการใดก้อแนะนำด้วยนะครับ น้าๆ


shinova
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024