สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 29 เม.ย. 67
ทีมวิจัยมะกันพบรังสีนุกปนเปื้อนในปลาทูน่า : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 6 - [5 มิ.ย. 55, 14:20] ดู: 4,098 - [26 เม.ย. 67, 09:35] โหวต: 2
ทีมวิจัยมะกันพบรังสีนุกปนเปื้อนในปลาทูน่า
Maple offline
30 พ.ค. 55, 20:54
1
ทีมวิจัยมะกันพบรังสีนุกปนเปื้อนในปลาทูน่า
ภาพที่ 1
ทีมวิจัยของสหรัฐฯ ตรวจพบร่องรอยของสารกัมมันตรังสีชนิดซีเซียมในปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่ถูกจับ ขึ้นมาจากน่านน้ำนอกชายฝั่งมลรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ถือเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า กัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา-ไดอิจิ ของญี่ปุ่นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก…

สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 29 พ.ค. ว่า ทีมวิจัยของสหรัฐฯ ตรวจพบร่องรอยของสารกัมมันตรังสีชนิดซีเซียม ในปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ที่ถูกจับขึ้นมาจากน่านน้ำนอกชายฝั่งมลรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อเดือนส.ค.ปีที่ แล้ว ถือเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า กัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา-ไดอิจิของ ญี่ปุ่นหลังเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อเดือน มี.ค. 2011 ได้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสัตว์ทะเลเป็นวงกว้างในมหาสมุทรแปซิฟิก
รายงาน ซึ่งอ้างข้อมูลจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า ปลาทูนาครีบน้ำเงิน 15 ตัวที่ถูกจับได้จากนอกชายฝั่งเมืองซานดิเอโก ทางตอนใต้ของมลรัฐแคลิฟอร์เนียนั้น มีสารกัมมันตรังสีประเภทซีเซียม 134 ปนเปื้อนอยู่ในปริมาณราว 4 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม และยังพบสารซีเซียม 137 ปนเปื้อนในสัดส่วน 6.3 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัมเช่นกัน แต่ทีมวิจัยยืนยันว่า ปริมาณที่พบยังไม่ถือเป็นอันตรายต่อมนุษย์หากนำไปบริโภค
ทั้งนี้ ทีมวิจัยลงความเห็นว่า สารกัมมันตรังสีที่พบปนเปื้อนอยู่ในปลาทูนาครีบน้ำเงิน น่าจะมาจากการรั่วไหลของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมา-ไดอิจิ บนเกาะฮอนชูของญี่ปุ่น ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักหลังเกิดเเผ่นดินไหวระดับ 9.0 และสึนามิซัดถล่มพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว.

กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024