สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
การเลือกใช้แบตเตอรี่สำหรับรอกไฟฟ้า : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > อื่นๆ
ความเห็น: 3 - [4 ธ.ค. 54, 17:34] ดู: 5,413 - [28 เม.ย. 67, 10:48] โหวต: 1
การเลือกใช้แบตเตอรี่สำหรับรอกไฟฟ้า
ตุ้ย อาดิดาส (170 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
2 ธ.ค. 54, 15:17
1
การเลือกใช้แบตเตอรี่สำหรับรอกไฟฟ้า
ภาพที่ 1
มีหลายคน ถามมาเยอะมากครับ ว่า จะใช้แบตเตอรี่ สำหรับรอกไฟฟ้าอย่างไรดี

จะประสบการที่ใช้มาหลายตัว กับได้ความรู้จากกูรู เรื่องรอกไฟฟ้า น้า ป้อ ฟิชฟีเว่อร์

ต้องบอกก่อนว่า หากใครเคยถอดรอกไฟฟ้า จะพบว่าป็นรอกที่มีเฟืองยอะมากที่เดียวในฝาด้านข้าง เพื่อใช้ทดแรงให้มีแรงกว้านสาย 

และเป็นรอกที่พังยากมาก สมราคากับที่ถูกตั้งราคาไว้สูง  หลายครั้ง ที่รอกมีอาการเป็นไป ก็เนื่องมาจากต้นกำเนิดพลังงานไม่ดีพอ นั่นคือ แบตเตอรี่

ผมอยากให้มองว่ามันป็นเครื่องมืออีเล็คทรอนิคนะครบ  ดูใกล้ตัวก่อน

1 โทรศัพท์มือถือ หากแบตที่ใช้เป็นของ เสือป่า ก้อนละ 50-80 บาท ใช้ไม่นาน โรศัพท์ก็จะเกิดการรวน บางโหมดจะใช้งานไม่ได้  และ การใช้งาน ติดๆดับๆ

2 คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค  เมื่อใช้งาน เต็มที่ไปซัก 1ปี จะเกิดอาการ แบตหมดเร็วมาก จนต้องเสียบหม้อแปลงไว้ตลอด หากจะเปลี่ยน ราคาจะสูงมาก แต่ถ้าเปลี่ยนเอาของเทียมใส่  ไม่นานเครื่องจะออกอาการรวนและเสียหาย

3 คอมบ้าน จะเห็นได้ว่า ตามองค์ร หรือร้านคอมที่ทราบหรือมีความรู้อยู่ จะมีตัวสำรองไฟ เพื่อกันไฟกระชาก ซึ่งจะก่อความเสียหาย

ผมไม่ได้บอกว่า จะใช้รอกไฟฟ้าจะมีปัญหาวุ่นวาย  เพียงแต่จะบอกว่า หลายท่านไปตกปลา ก็จะถอดแบตรถยนต์ตัวเองลงไปด้วย  หรือไม่ก็จะหิ้วแบตที่เปลี่ยนออกจากรถทิ้งไว้หลายเดือน พอจะออกทริปก็จะไปจ้างร้านแบตเตอรี่ชาร์จไฟ  และเมื่ออกทริป จะเกิดปัญหาตามที่ว่าไว้

หากมีการเตรียมตัวที่ดี การออกทริปตกปลาที่ต้องมีการใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานมาเกี่ยวข้อง จะทำให้คุณได้รับความสะดวกสบายใจในการออกตกปลาเช่น

1 การใช้แบตเตอรี่ กับรอกไฟฟ้า

2 การใช้กับมอเตอร์ไกค์

3 การใช้เพื่อ เครื่องเรือที่เป็น ทิมสตาร์ทไฟฟ้า

4 การใช้เพื่อขับรถกลับบ้าน เมื่ออทริปตกปลา

------------------------------------------------------------------------------------------

แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว

นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ 1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูก ใหม่ได้แล้ว

แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ

การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว


แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่

ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือการประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อม สภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีชา ร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่
เนื่องจากในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่

ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรีด้วย

ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา

ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่

การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด

ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป

ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ

ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด

เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

ข้อความของคุณ วรพล สิงห์เขียวพงษ์
เว็บไซด์ของ 3k แบตเตอรี่,
เว็บไซด์ Yuasa แบตเตอรี่
เว็บไซด์ Bosch แบตเตอรี่
คุณกริช เกษมรัชดารักษ์ 
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024