สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 2 พ.ค. 67
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2 : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 2 - [17 พ.ค. 55, 17:26] ดู: 5,197 - [2 พ.ค. 67, 13:49] โหวต: 1
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
kittpong01 (311 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
17 พ.ค. 55, 16:11
1
ชื่อไทย
กะพงแดงสั้นหางปาน
ชื่อสามัญ
MALABAR RED SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus malabaricus (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่บริเวณหน้าดิน ตามแนวปะการังในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลา กุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 1 เมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ดี
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 2
ชื่อไทย
กะพงปานข้างลาย
ชื่อสามัญ
RUSSELL'S SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus russelli (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปตามเกาะ กองหินปะการัง บริเวณชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย
อาหาร
กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 16-42 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย นับเป็นอาหารที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างแพร่หลาย
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 3
ชื่อไทย
ทรายแดงใหญ่, กะพงสีน้ำเงิน
ชื่อสามัญ
SHARPTOOTH SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pristipomoides typus Bleeker
ถิ่นอาศัย
หน้าดินชายฝั่งที่มีน้ำลึก
อาหาร
กินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ขนาด
ความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภค
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 4
ชื่อไทย
กะพงแสม, ครืดคราด, ออดแอด
ชื่อสามัญ
LINED SILVER GRUNT
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pomadasys hasta (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 20-65 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 5
ชื่อไทย
กะรังแดงจุดฟ้า
ชื่อสามัญ
BLUE-SPOTTED SEABASS
ชื่อวิทยาศาสตร์
Plectropomus leopardus
ถิ่นอาศัย
พบตามกองหินปะการัง แนวปะการังที่มีน้ำขึ้นลงต่ำสุด
อาหาร
สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร
ประโยชน์
ปลาเศรษฐกิจที่มีราคาค่อนข้างแพง เนื่องจากสามารถส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ทั้งในรูปลูกปลาและปลาแช่แข็ง
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 6
ชื่อไทย
เก๋าจุดน้ำตาล, กะรังปากแม่น้ำ, ตุ๊กแก
ชื่อสามัญ
GREASY GROUPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Epinephelus tauvina Boulenger
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามซอกหิน กองก้อนหิน ตามชายฝั่งทะเล และลำคลอง ที่น้ำทะเลขึ้นถึง พบชุกชุมตามคลอง ในเขตอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
อาหาร
กินปลา ลูกกุ้ง ตัวอ่อนสัตว์น้ำ
ขนาด
มีความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึง 1.5 เมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย ใช้ปรุงอาหารได้ดี เป็นปลาที่นักตกปลานิยมตกเป็นเกมส์กีฬา
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 7
ชื่อไทย
สีกุนข้างเหลือง, ข้างลวด, กิมซัว
ชื่อสามัญ
YELLOW STRIPE TREVALLY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Selaroides leptolepis Bleeker
ถิ่นอาศัย
พบทุกระดับน้ำในทะเล มีแพร่กระจายอยู่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
พืชและสัตว์ขนาดเล็กที่ล่องลอยในน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 9-16 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภค
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 8
ชื่อไทย
กุเราสี่เส้น
ชื่อสามัญ
FOURFINGER THREADFIN
ชื่อวิทยาศาสตร์
Eleutheronema tetradactylum (Shaw)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้าอยู่ในน้ำกร่อย พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
โดยทั่วไปยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 2 เมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสชาติดีเลิศ เมื่อนำมาทำปลาเค็ม
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 9
ชื่อไทย
กุแลกล้วย, ลูกกล้วย
ชื่อสามัญ
RAINBOW SARDINE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dussumieria elopsoides Gunther
ถิ่นอาศัย
หากินบนผิวน้ำกลางทะเล พบชุกชุมในอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เคยพบว่ามีความยาวถึง 20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี ใช้ทำปลากระป๋อง
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 10
ชื่อไทย
เก๋าดอกหางตัด
ชื่อสามัญ
AREOLATED GROUPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Epinephelus areolatus (Forskal)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามกองหิน แนวปะการังและเกาะแก่ง พบแพร่กระจายอยู่ตามฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
อาหาร
กินปลา กุ้งและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
มีความยาวตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ถึง 2.8 เมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี ราคาแพง ชนชาติจีนในสมัยบรรพกาล เชื่อกันว่า เป็นอาหารที่สามารถเสริมสร้างกำลังวังชาได้ชะงัดนัก
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 11
ชื่อไทย
เก๋าแดง
ชื่อสามัญ
RED-BANDED GROUPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Epinephelus fasciatus (Forskal)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง พบแพร่กระจายทั่วไป ด้านทะเลอันดามันและอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-90 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 12
ชื่อไทย
เก๋าบั้งแฉก
ชื่อสามัญ
YELLOW GROUPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Epinephelus ragaa Boulenger
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ลูกปลาจะเข้ามาหากิน ในบริเวณน้ำกร่อย และติดค้างอยู่ตามแอ่งน้ำ ที่น้ำทะเลท่วมถึง
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นอาหาร
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 13
ชื่อไทย
เก๋าหางซ้อน
ชื่อสามัญ
BLEEKER'S GROUPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Epinephelus bleekeri (Vaillant & Bocourt)
ถิ่นอาศัย
หากินในบริเวณน้ำตื้น ตามแนวปะการังและก้อนหิน พบแพร่กระจายในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลา กุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 25-90 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสชาติดีมีจำหน่ายแพร่หลาย
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 14
ชื่อไทย
หลังเขียวกลม, โกว
ชื่อสามัญ
ROUNDBELLY SARDINE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Amblygaster sirm (Walbaum)
ถิ่นอาศัย
ตามผิวน้ำกระจายไปทั่วอ่าวไทย
อาหาร
กินจุลชีพที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 13-23 เซนติเมตร
ประโยชน์
ในสภาพสดใช้ในการแปรรูปคือ ปลากระป๋อง แต่ถ้าไม่สดใช้ทำอาหารปลาป่น
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 15
ชื่อไทย
สร้อยนกเขาทะเล, ข้างตะเภา, ขี้นก
ชื่อสามัญ
PAINTED SWEETLIP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Plectorhynchus pictus (Thunberg)
ถิ่นอาศัย
อาศัยอยู่ตามหน้าดินหรือแนวปะการัง พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามหน้าดินและแนวปะการัง
ขนาด
ทั่วไปมีความยาวประมาณ 35-45 เซนติเมตร แต่เคยพบว่าบางตัวมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 16
ชื่อไทย
แข้งไก่, หางกิ่วหม้อ, หางแข็ง
ชื่อสามัญ
HARDTAIL SCAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Megalaspis cordyla (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาอาศัยทั้งบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำ พบทั่วไปทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 17
ชื่อไทย
คลุด
ชื่อสามัญ
SPADEFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ephippus orbis (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในในอ่าวไทยและอินโดแปซิฟิค
อาหาร
ส่วนใหญ่หากินตามพื้นหน้าดินที่เป็นโคลน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นอาหารได้
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 18
ชื่อไทย
ตะเพียนน้ำเค็ม ,โคก, มักคา
ชื่อสามัญ
CHACUNDA GIZZARD-SHAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Anodontostoma chacunda (Hamilton-Buchanan)
ถิ่นอาศัย
หากินตามพื้นหน้าดินตามชายฝั่งทะเลและบริเวณตามปากแม่น้ำ พบทั่วไป ในอ่าวไทย
อาหาร
กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อย
ขนาด
ความยาวประมาณ 14-17 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อยแต่มีก้างฝอยมาก
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 19
ชื่อไทย
งัวใหญ่หางตัด, แรดทะเล
ชื่อสามัญ
YELLOW-FINNED LEATHER JACKET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alutera monoceros (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามหน้าดินและแนวหินใต้น้ำ พบทั่วไปในอ่วไทยบริเวณก้นอ่าว
อาหาร
กินสัตว์น้ำที่พบในบริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-45 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
สายพันธู์ปลาน้ำเค็ม 2
ภาพที่ 20
ชื่อไทย
จวดเตียนเขี้ยว
ชื่อสามัญ
TIGER-TOOTHED CROAKER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Otolithes ruber (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย
หากินตามชายฝั่งบริเวณน้ำลึก ๆ มีชุกชุมในแถบทะเลอันดามันและอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 21-62 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงอาหาร
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024