สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 มี.ค. 67
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 74 - [13 ก.พ. 60, 15:05] ดู: 216,313 - [28 มี.ค. 67, 15:37] ติดตาม: 34 โหวต: 32
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
jungka (417 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
3 ก.ค. 55, 12:31
1
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 1
สายเอ็น หรือสายเบ็ดตกปลา เป็นอุปกรณ์ประกอบในการตกปลา ที่สำคัญ

อีกตัวหนึ่งขึ้นอยู่กับความคงทนของสายว่า มีความเหนียวทนต่อการขูดขีดแค่ไหน

รวมทั้งความอ่อนนุ่มหรือแข็งกระด้างของสายเอ็นตกปลามีผลต่อการเข้ามากินเหยื่อของปลาด้วย

ทั้งในบ่อตกปลาและอ่างเก็บน้ำธรรมชาติซึ่งมีอุปสรรค์ต่างๆ ใต้น้ำอีกมากมาย...

สายเอ็นจึงเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่ง ที่เป็นตัวชี้วัดของนักตกปลาให้ได้พบกับความสมหวัง หรือ ผิดหวังในเกมส์การตกปลา

ปลาแต่ละชนิดแรงดึงย่อมแตกต่างกัน หรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกัน

แต่ต่างสถานที่กันถึงแม้น้ำหนักจะเท่ากัน แต่แรงดึงและพละกำลังของปลาแต่ละตัวก็ย่อมไม่ เหตุผลนี้มีความเป็นจริงอย่างมาก

สถานที่แหล่งน้ำ บ่อตกปลา มีทั้งตอไม้ กิ่งไม้ใบหญ้า

หินผาล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรค์ต่อสายเอ็นตกปลาทั้งสิ้น ดังนั้นสายที่จะนำมาตกปลาได้ดี

ก็ต้องเป็นสายที่มีความเหนียวความทนทานต่อการขูดขีด และรับแรงดึงบวกของปลาและแรงอัดของคน

สายเอ็นที่เห็นกันอยู่ในตลาดบ้านเรามีมากมายหลายชนิดและหลายยี่ห้อ

หากดูภายนอกทั่วไปก็จะเห็นว่าคล้ายคลึงกัน แต่การเปรียบเทียบจริง ๆ

แล้วคุณภาพของสายจะมีความเหนียวความยืดหยุ่นและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อซึ่งถ้ามองด้วยสายตาอาจจะไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าสายที่เรามองอยู่มีคุณภาพดีดั่งที่เราต้องการหรือไม่

แต่ที่เราจะเลือกได้ก็ขนาดและสีสันสวยงาม ของสายเอ็น

ซึ่งสายเอ็นจะทำมาจากพลาสติกประเภทต่างๆ เช่นไนล่อน โพลีเมอร์

หรือ โพลีเอสเตอร์ชนิดต่างๆ สายประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทสายเดี่ยว

ส่วนมากแล้วสายเอ็นมักจะมีคุณสมบัติในตัวของตัวเองไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวัสดุในการนำเอามาผลิต นั่นก็หมายความว่าเรื่องของคุณภาพด้วย

โดยปกติแล้วสายเอ็นประเภทนี้เมื่อได้ทำการใช้ไปแล้ว จะมีความยืดในตัวของมันเอง

ไม่ว่าจะยี่ห้อใดก็ตาม การยืดตัวของมันจะมีผลทั้งสิ้น มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

เช่น การที่เราใช้ตกปลาขนาดใหญ่มามากตัว หรือในกรณีที่เราตกปลาตามหมายธรรมชาติ

แล้วเกิดติดสิ่งกีดขวาง เมื่อติดแล้วมีการดึงมาก ๆ เข้าสายที่เราว่าเหนียว ๆ นั้นจะเสื่อมสภาพไปโดยที่เราไม่รู้ตัว และนั่นเอง

เมื่อเราเกิดตกปลาใหญ่ได้ ในระหว่างที่อัดปลาก็จะเกิดอาการเครียดกับสายจนขาดได้

สายเอ็นส่วนมากจะทำมาให้อ่อนนิ่มเพื่อเหมาะกับการกินเหยื่อของปลาที่ระแวง

เช่นการตกปลาในบ่อตกปลา ซึ่งปลาส่วนมากมักจะโดนเบ็ดเสียจนเข็ดแล้ว

เอ็นจึงมีส่วนช่วยในการทำให้ปลากินเบ็ดได้ง่ายขึ้น มากกว่าการใช้เอ็นที่มีความแข็งกว่า

แม้แต่ขนาดเอ็นจะเท่ากันก็ตาม สายเอ็นที่อ่อนถึงแม้ว่าจะมีข้อเสียในการยืดตัวง่าย

แต่ความเหมาะสมกับการตกปลาบางประเภท ก็มีความจำเป็นที่เราจะต้องเลือกใช้

ในกรณีที่เราเลือกใช้สายเบ็ดที่อ่อนนิ่มมาก ๆ เราก็ต้องพึงคิดอยู่เสมอว่า

เมื่อเราตกปลาได้ในขณะที่เราวัดปลาสายจะยืดตัวตามแรงที่เราวัดปลา

ดังนั้นเมื่อเราจะวัดปลาก็ต้องวัดให้แรงเต็มที่เพื่อที่เบ็ดจะได้ฮุ๊คปากปลาเต็มที่

คมเบ็ดจะฝั่งแน่นแล้วท่านก็จะได้ปลาสมความตั้งใจ

เมื่อปลาติดเบ็ดแล้วที่นี้สายก็จะส่วนช่วยท่านได้ ตรงที่ว่า เมื่อใช้สายไม่ขาดง่าย

ทั้งยังยืดหยุ่นเข้ากับแอ๊คชั่นของคันเบ็ด มีผลทำให้ปลาเหนื่อยเร็วขึ้นสามารถที่จะเอาปลาขึ้นได้เร็วกว่าปกติ

การใช้สายที่แข็งกระด้างนั้นกลับจะวัดปลาได้ง่ายมากเพียงกระตุกครั้งเดียวกันจะทำให้เบ็ดติดปากปลา

และเมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ระหว่างที่ปลาดึงสายเอ็นอยู่นั้นความที่ไม่มีความยืดหยุ่นได้มากนั้น

บางทีปากปลาประเภทที่มีความบางมากก็จะฉีกขาด และทำให้ปลาหลุดได้ง่าย บางทีอาจจะหลุดตั้งแต่เราวัดปลาเลยก็ได้


การเลือกสายก็ต้องมีเทคนิคในการใช้เฉพาะตัวด้วย การเลือกสายควรเลือกสายที่มีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิเศษ

เช่น แสงแดด น้ำ ฯ การที่เรานำสายมาใส่รอกในครั้งแรก

จะดูเหมือนว่าสายที่เราได้ทำการเลือกแล้วว่าดีดั่งที่เราต้องการ

ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนหรือแข็ง แต่เมื่อเรานำเองไปตกปลาเพียงครั้งเดียวกลับมาแล้วสายที่ใช้นั้นกลับมีความกระด้างผิดกับเมื่อใส่สายใหม่ ๆ นั่นก็เป็นเพราะคุณภาพสายที่เราซื้อมานั้นมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร

แต่ก็ยังสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง แต่สีสันที่สวยนั้นก็จะหมดไปเรื่อย ๆ

การแก้ไขมีเพียงวิธีเดียวก็คือ การกลับสายที่อยู่ข้างในออกมาใช้เอาสายที่อยู่ด้านนอกไปไว้ด้านใน

สายในรอกของท่านก็จะใช้ได้ต่อไปอีกระยะหนึ่งหากไม่ทำเช่นนั้นสายเมื่อเกิดการกระด้าง

จนแข็งมากก็จะเกิดความกรอบ และขาดได้อย่างง่าย ๆ เลย

ในด้านราคา นั้นเนื่องจากมีผู้ผลิตอยู่หลายบริษัท แต่จะไม่ขอเอ่ยว่าสายยี่ห้ออะไรบ้าง ให้ท่านเป็นผู้เลือกความเหมาะสมเอง แต่จะขอแนะแนวทางเอาไว้

หากท่านต้องการที่จะซื้อสาย ควรเลือกความเหมาะสม เช่นขนาดที่กำหนดของสาย

ที่เรียกกันว่า ปอนด์ สายจะมีขนาดเป็นมาตรฐาน ตั้งแต่ 4 ปอนด์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเป็นร้อยปอนด์

แต่ที่เรานยิมใช้ตกปลากันทั่ว ๆ ไปก็อยู่ที่ขนาด 10 12 15 20 25 ปอนด์ หากเกินกว่านี้ ก็จะเป็นการตกปลาแบบทลอลิ่งหรือตกปลาขนาดใหญ่

ขนาดสายก็จะใช้ ตั้งแต่ 25 30 40 50 และถึงร้อยกว่าปอนด์ขึ้นไปก็มี

การตกปลาขนาดที่มีน้ำหนักเป็นร้อยกิโลขึ้นไปส่วนมากแล้วจะใช้สายที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเกมส์นี้โดยเฉพาะ

การเลือกซื้อสายเบ็ดควรอ่านที่ฉลากข้างหลอดเก็บสายที่เป็นที่ระบุว่ารายละเอียดต่าง ๆ

เท่าไร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก เรื่องราคาก็เลือกเอาราคากลาง ๆ ค่อนข้างถูกเอาไว้ก่อน

เพราะถือว่าตกปลาได้เหมือนกัน สายที่มีราคาแพงก็ตกปลาได้จำนวนครั้งไม่ต่างกันนัก

และจะทำให้เกิดความเสียดายเมื่อต้องการตัดทิ้งยกตัวอย่างเช่น เมื่อสายเกิดเป็นตำหนิเล็กน้อย

การดันทุรังไม่ยอมตัด ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากว่าเราตัดทิ้งยกตัวอย่างเช่น

เมื่อสายเกิดเป็นตำหนิเล็กน้อยการดันทุรังไม่ยอมตัด ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้

หากว่าเราตัดทิ้งก็จะหมดปัญหาไป แต่เมื่อจะตัด ถ้าเป็นสายที่มีราคาแพงก็ต้องคิดหนัก

แต่ถ้าเป็นราคาปานกลางค่อนข้างถูกก็ไม่คิดอะไรเป็นหลา ๆ ขายเลยราคาตกหลาละหลายบาท ลองคิดดูซิว่ารอกตัวหนึ่งใส่สายร้อยกว่าหลา เป็นเงินหลายบาทคูณเข้าไป เท่าไร?...

ขอสนับสนุนของถูกประหยัดเงินดีกว่า ม้วนหนึ่งก็ตก ร้อยบาทอาจจะกว่าเล็กน้อยตามยุค

ของการขึ้นสินค้าอย่างไม่มองหน้าคนซื้อนี้ แต่การใช้ก็ใช้ได้นาน ม้วนหนึ่งตก 4-5ร้อยหลา หรือเมตร

ใช้กันลืมไปเลย ท่านที่มีเงินเหลือใช้ก็เลือกหาซื้อของแพงไม่มีใครว่า ส่วนท่านที่มีน้อยก็ซื้ออย่างน้อยดีกว่า จะได้มีเงินเหลือเก็บ

บทความนี้ผมได้เขียนขึ้นบ้าง และได้นำจากที่ต่างๆ ซึ่งจำที่มาไม่ได้

จังขออนุญาตจากเจ้าของบทความ นำความรู้ให้นักตกปลาได้ศึกษาต่อไปครับผม

สายเอ็นที่เราใช้กันอยู่นั้น เรียกกันว่าสาย Monofilament

Mono แปลว่า “เดี่ยว” หรือหนึ่ง

Filament แปลว่า “เส้นใย”

เมื่อนำมารวมกัน Monofilament ก็แปลว่า “เส้นใยเดี่ยว” หรือสายเส้นเดี่ยว...ฮิๆ

ซึ่งก็คือสายเอ็นตกปลาที่นักตกปลารู้จักและคุ้นเคยกันดี

ฉลากหรือสติ๊กเกอร์ที่แปะอยู่บนม้วนของเอ็นนั้นปกติจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้

- น้ำหนัก เป็นปอนด์หรือกิโลกรัม (Breaking Strain)

- ประเภทของวัสดุ (Nylon or Copolymer)

- ขนาดหน้าตัดเป็นนิ้ว หรือซม. (Line Diameter)

- คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น Low Memory, Extra-Low Memory, Abrasion Resistance, และคำอื่นๆ อีกมากมายหลายหลาก

ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 2
เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว

1. Memory คืออะไร - เวลาที่เพื่อนๆ ดึงเอ็นออกจากม้วนแล้ว จะพบว่าบางยี่ห้อเอ็นจะขดเป็นวงๆ บางยี่ห้อจะขดน้อยมากจนเกือบตรง ซึ่งลักษณะขดเป็นวง หรือหงิกๆ งอๆ

นี่แหละค่ะเค้าเรียกว่าเมมโมรี่ ดังนั้นถ้ายี่ห้อไหนบอกว่า Extra low / Super low / Zero memory

แสดงว่าปัญหาสายขด หรือหงิกงอ จะน้อย ปัจจุบันมีสายบางยี่ห้อถึงขั้นตั้งชื่อว่า Amnesia เลยคะ คือสมองเสื่อมไปเลย เมมโมรี่ต่ำสุดๆ


2. Line Diameter - หมายถึงความหนาของสาย บางยี่ห้อจะไม่ได้บอกเป็นนิ้วหรือซม.

แต่บอกเป็นปอนด์แทน เช่น 14/6 Lb Line dia. ก็หมายถึงว่าสายนี้เป็นสายโหลด

รับน้ำหนักได้ 14 ปอนด์ แต่มีหน้าตัดขนาดเท่าสายเต็ม 6 ปอนด์ (ประมาณ 0.23 ซม.)

ศัพท์พวกนี้นักตกปลาจะเข้าใจกันดี แต่สำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องตกปลาเท่าไหร่อาจจะงง ให้ถามคนขายให้ชัวร์จะดีกว่าคับว่ามีความหนากี่นิ้ว หรือกี่ซม.กันแน่

3. Abrasion Resistance, Extra Tough - จุดอ่อนอย่างหนึ่งของสายโมโนคือมันเป็นสายประเภทที่แข็งแรงน้อยกว่าสายประเภทอื่น

ดังนั้นผู้ผลิตก็พยายามเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้น คือมีการพัฒนากันอยู่ตลอดสำหรับปัจจุบัน

สายเอ็นหลายยี่ห้อที่วางขาย ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นมาก มีคุณสมบัติดี และราคาไม่สูงมากนัก...
มีสายเอ็นบางย่าง จะให้ความยาวมาเป็น Yard (YD.) แล้วมันจะเท่ากับกี่เมตร

ส่วนมากรอกที่เราๆ ท่านๆ ใช้อยู่จะบอกการบรรจุสายให้เช่น

LB./M. ปอนด์/เมตร หรือ MM./M. หน้าตัด/เมตร เป็นต้น

ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 3
เรามาดูที่ตารางแปลงหน่วย Table of conversion เกี่ยวกับความยาว

Length
1 inch = 2.54 centimetre
1 centimetre = 0.394 inch
1 foot = 0.3048 meter
1 metre = 3.281 feet
1 yard = 0.9144 meter
1 metre = 1.094 Yard
1 mile = 1.6093 kilometer
1 kilometre = 0.621 mile
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 4
จากรูป สายม้วนนี้ ขนาด 40LB. ยาว 370YD.จะยาวกี่เมตร
1 yard = 0.9144 meter
ถ้า 370*0.9144 = 338.328 meter
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 5
มาต่อกันที่น้ำหนัก

ปอนด์ กับ กิโลกรัม Pound/Kilogram (BL/Kg)

บางยี่ห้อสายเอ็นจะบอกรายละเอียดแค่รับน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม แต่ไม่ได้บอกขนาดเป็นปอนด์

Weight
1 Pound = 0.4536 Kilograms
1 Kilograms = 2.205 Pound
1 Ton = 1016 Kilograms
1 Kilograms = 0.0009 Ton
1 Pound = 453.6 Grams
1 Gram = 0.0022 Pound
1 Gallon = 4.546 Litres
1 Litre = 0.22 Gallon

จากรูปตัวอย่าง สายม้วนนี้รับน้ำหนักได้ 9.1กิโลกรัม แต่ไม่บอกว่ากี่ปอนด์ เราสามารถหาได้

ดูจากตาราง

1 Kilograms = 2.205 Pound

ถ้า 9.1Kg. เท่ากับ 9.1*2.205 = 20.06LB.

สายม้วนนี้ ขนาด 20LB รับน้ำหนักได้ 9.1Kg. ตามการคำนวณ ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...ฮ่าๆๆๆๆๆ
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 6
บอกขนาดสายแต่ไม่ได้บอกว่ารับน้ำหนักได้เท่าไหร่

1 Pound = 0.4536 Kilograms

ดังนั้น 20*0.4536 = 9.072 Kg.

สายม้วนนี้ขนาด 20LB. สามารถรับน้ำหนักได้ 9.072Kg. ตามการคำนวณ

แต่สายต่างๆ จะรับน้ำหนักได้มากได้น้อย ขึ้นอยู่กับการผลิตของแต่ละยี่ห้อ และปัจจัยภาวะแวดล้อมต่างๆ ด้วย

รวมไปถึงอุปกรณ์ตกปลาที่เราใช้ ส่วนต่างๆ ที่สัมผัสกับสายเอ็น รวมไปถึงแรงฉุดกระชาก

ลากถูต่างๆ รวมไปถึงเงื่อนที่ใช้ผูกมีผลกระทบเป็นอย่างมากครับผม.....
สายเต็มกับสายโหลด

มาเข้าเรื่องเกี่ยวกับสายเอ็นเต็ม กับสายเอ็นโหลด ตามที่ผมเข้าใจ

.

ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 7
สายเต็มปอนด์

ก็คือจะมีขนาดหน้าตัดตามมาตรฐานสายเช่น 20LB ขนาดหน้าตัด ก็ประมาณ 0.45mm

สายโหลด

ก็คือ สายที่ปอนด์สูงๆ เช่น 25LBแต่ขนาดหน้าตัดจะเท่ากับ 0.45mm. งงก็ครับ..ฮิๆ

การเลือกใช้สายเอ็น มันก็แล้วแต่ใครจะชอบอย่างไร

ตามที่ผมเคยใช้มาตามอ่างเก็นน้ำต่างๆ อุปสรรค์มีมาก ผมเลือกใช้สายเอ็นเต็มๆ ดีกว่าครับ

แต่ถ้าต้องการแรงดึงเยอะรอกเราบรรจุสายได้น้อย ก็เลือกเอ็นโหลดจะไส่สายได้เยอะกว่าเอ็นเต็มปอนด์ครับผม...ลองผ่อเน้อครับ


ขนาดหน้าตัดของสายเอ็น เต็มปอนด์มาตรฐาน

หน้าตัด(mm.)....... แรงดึง(LB.)............. แรงดึง (LB.)
..................เอ็นเต็มปอนด์............... เอ็นโหลด
0.26................ 6...................... 10
0.28................ 8...................... 12
0.30................ 10..................... 14
0.35................ 12..................... 19
0.40................ 15..................... 23
0.45................ 20..................... 28
0.50................ 25..................... 33
0.55................ 30..................... 38
0.60................ 35..................... 43
0.65................ 40..................... 48
0.70................ 45..................... 53
0.75................ 50..................... 58

จะเป็นอย่างนี้ครับ

บางคนมาถามเอ็น10ปอนด์ โหลด 6ปอนด์

เราก็ดูที่หน้าตัด ก็จะประมาณ 0.26mm.แต่จะเขียนที่ม้วนว่า 10ปอนด์

สายบางยี่ห้อ จะบอกหน้าตัดสายเอ็นมาเป็นนิ้ว (Inch)

ยกตัวอย่างของม้วนนี้ ขนาดหน้าตัด 0.028"

ถ้าเราอยากรู้ว่า 0.028" เท่ากับกี่ มิลิเมตร (mm.)

1 Inch = 2.54 Centimetre

1 centimetre = 10 millimetre

ดังนั้น (0.028*2.54) = 0.07 Centimetre

ทำ Centimetre ให้เป็น millimetre

0.070*10 = 0.70 millimetre

สรุป สายขนาด 0.028Inch จะเท่ากับ 0.70mm. โดยประมาณ
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 8
มาว่ากันต่อเรื่องสายๆ Monofilament ( Shock leader, Fluorocarbon )

shock อาการตกใจสุดขีด สภาวะช็อก, อาการสะเทือนใจ.ทำให้สะดุ้งตกใจ

ทำให้ช็อก, ทำให้ตกตะลึง, ทำให้สะเทือนใจสุดขีด.

Leader นำ หรือ ผู้นำ

เมื่อนำมารวกัน Shock Leader ก็คือ ผู้นำอาการซ็อก..ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ

หรือสายหน้าเพื่อป้องกันแรงกระชากอย่างรุนแรง


ก็เคยได้ยินมาสายซ๊อคลีดมีหน้าทีทำอะไร ทำไมเราต้องใช้ ไม่ใช้ไม่ได้หรือ

สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่ตกปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ยี่สก นวลจันทร์ ปลานิล ปลาใน

บ่อตกปลา สวาย บึก ที่มี่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากเราจะใช้สายเอ็นอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปหาเหามาไส่หัว..ฮิๆ

เมื่อไหร่ที่เราต้องใช้สายซ็อกลีด เมื่อเราใช้สายในรอกเป็นแบบสายถัก

ไม่ว่าจะเป็นสายไดสนีม่า สะเป็กตร้า พีอี สายจำพวกนี้ไม่มีคุณสมบัติที่จะยืดหยุ่นรองรับแรงกระชากหนักๆ ได้ เมื่อใดที่โดนแรงกระชากหนักๆ ไม่สามารถยืดได้ก็จะขาด

ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเลตัวใหญ่ๆ หรือ ปลาบึกตัวมหึมา ในบ่อต่างๆ หรือไม่ก็ปลาประเภท

ที่มีฟันแหลมคมเท่านั้น


Shock leaders are most often used when fishing for large fish or fish that hit the hook or lure hard and, when the turn to run, will snap a light line. Shock leaders take the brunt of the hit and reduce stress on the main line. Saltwater fishermen use shock leaders even with what most catfishermen would consider very heavy line. As you look at the terminal end of a line, the shock leader will be a section of line either tied directly to the main line, or tied with a swivel. Catfishermen use what could be called a shock leader, usually a short section that may be anwhere for 1.5 to 3 or 4 times as strong as the main line. In the case of catfish, while they may hit the bait hard enough to break light line, the leader is used to reduce abrasion and helps when casting fairly heavy weights and baits. When casting heavy objects, a lot of stress is placed on the line, the heavier leader absorbs much of it.

ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 9
Fluorocarbon ใช้ทำเป็นสายหน้าเหมือนกับช็อกลีด แต่คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป

เช่น ทนต่อการขูดขีด ทนความร้อน รับแรงแรงกระชากลากถูได้ดี

ดังนั้นเราจึงเห็นนักตกปลาในบ้านเราใช้เป็นสายหน้า สำหรับตกปลาชะโดด้วยเหยื่อปลอม กระพง กระสูบ และปลาชนิดอื่นๆ

ที่มีฟันอันแหลมคม ซึ่งจะทำให้รับแรงกระชาก ทนต่อฟันปลาอันแหลมคมได้

ในการทดสอบว่าทนความร้อน หรือ การขูดขีดได้ดีกว่าเอ็นตกปลาโดยทั่วไป

ลองใช้ทิชชู่ทาบกับสายแล้วถูไปมา สายฟูโอโรคาร์บอน จะทนกว่าสายเอ็นธรรมดาหลายๆ เท่า

และคุณสมบัติของสายจำพวกนี้ที่ใช้ทำเป็นสายหน้า ส่วนมากจะเป็นสีใสๆ เวลาลงน้ำแล้ว

จะกลมกลืนกันสีของน้ำเป็นอย่างดี ทำให้ปลากัดเหยื่อปลอมดีกว่า..

มาถึงสายถัก PE, Dyneema, Spectra Braid Fishing Line

สายจำพวกนี้เป็นสายที่ถูกถักทอขึ้นมาโดยนำเส้นใยเล็กๆ หลายๆ เส้นมารวมกัน

ความยืดหยุ่นไม่ค่อยมี หรือไม่มีเลย มีความคงทนระดับต่างๆ กันไป

เวลาวัดปลาหรือ Sethook จะใวเพราะว่าแรงจากคันส่งไปตามสายได้เร็ว

แต่ถ้าโดนแรงกระชากอย่างมากมายหรือ Shock!!! จะทำให้สายขาดได้ง่ายๆ

ดังนั้นถ้าใช้สายเหล่านี้ถ้าใช้เป็นสายในรอก ดังนั้นจะต้องมีสาย Shock Lead หรือ

สาย Fluorocarbon เป็นสายหน้าเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้...

ส่วนชาวหน้าดิน..ใช้สายเอ็นในรอก จะใช้สาย PE, Dyneema, Spectra
เป็นสายลีดผูกเบ็ดกับตะกร้อครับผม...

ถ้ายังไม่เข้าใจถึงเรื่องสาย PE, Dyneema, Spectra ลองเข้าไปอ่านบทความของน้าแหลมแท่นดูครับผม
ว่าด้วยเรื่อง สายเอ็น
ภาพที่ 10
สายถัก สายพีอี สายไดนีม่า สายสเปคตร้า
คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ คือ สายถัก สายพีอี สายไดนีม่าและสายสเปคตร้าแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลที่ผมรวบรวมขึ้นนี้ ผมได้มาจากหนังสือเอ็นไซโคปีเดียบริทานิก้าและหนังสือ The UHMWPE Handbook, Academic Press, New York, 2004, หนังสือ Hoechst: Annealing (Stress Relief) of Hostalen GUR

ผมจะคัดมาเฉพาะส่วนที่น่าจะเกี่ยวข้องกับนักตกปลา หวังว่าคงจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยเพราะว่าผมเองก็ไม่มีพื้นทางวิศวกรรมหรือเคมี

Polyethylene เป็นชื่อเรียกสารสังเคราะห์ประเภทวัตถุดิบขั้นพื้นฐานในกลุ่มเทอร์โมพลาสติค Polyolefin มีการจำแนกประเภทออกไปอีกขึ้นอยู่กับโครงสร้างของน้ำหนักต่อโมเลกุล ความหนาแน่นและสารเคมีอื่นที่ถูกนำมาประสานกัน

UHMWPE (Ultra high molecule weight Polyethylene)
HMWPE (High density molecule weight Polyethylene)
HDPE (High density Polyethylene)
ฯลฯ
แต่ละปีมีการนำ Polyethylene มาผลิตเป็นสินค้าอุปโภคเป็นจำนวนสูงถึงกว่า 60 ล้านตันต่อปี

ในส่วนของสายที่นักตกปลารู้จักกันในปัจจุบัน เราก็จะเห็นว่ามีการเรียกกันหลากหลายชื่อ
- Braided line อันนี้ก็แปลตรงตัวว่าสายถัก
- PE line สายพีอี
- Dyneema ไดนีม่า
- Spectra สเปคตร้า

เพื่อมิให้สับสนผมจะใช้คำว่าสายถัก หากไม่ได้เจาะจงที่สายประเภทหนึ่งประเภทใด


กรรมวิธีในการผลิตก็คือการนำเอาวัตถุดิบ Polyethylene มาแปรรูปเป็นเส้นใย ขั้นตอนในการแปรรูปของแต่ละบริษัทก็อาจจะแตกต่างกัน บริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มก็น่าจะเป็นบริษัท DSM ซึ่งมีโรงงานอยู่ที่เมือง Heerlen ประเทศเนเธอแลนด์

บริษัท DSM ได้ทำการจดลิขสิทธิ์กรรมวิธีในการแปรรูปสารพีอีในกลุ่ม UHMWPE ขึ้นเป็นเส้นใยในปี 1979 และเริ่มทำการผลิตในเชิงพาณิชย์ในปี 1990 มีการร่วมทุนกับบริษัท Toyobo เพื่อตั้งโรงงานผลิตในญี่ปุ่น มีโรงงานอีกหนึ่งแห่งที่เมืองกรีนวิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลน่า ชื่อของเส้นใยที่บริษัท DSM จดทะเบียนไว้คือ Dyneema

บริษัทฮันนี่เวล แห่งอเมริกาก็ได้พัฒนากรรมวิธีในการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกับของบริษัท DSM และจดทะเบียนชื่อเส้นใยว่า Spectra

นอกเหนือจากนี้ยังมีชื่อทางการค้าของสารพีอีในกลุ่ม UHMWPE ที่จดทะเบียนไว้โดยบริษัทอื่นๆ อีก เช่น TIVAR ของบริษัท Poly Hi Solidur และ Polystone-M ของบริษัท Rochling Engineered Plastics

มาถึงตรงนี้ผมก็อยากจะสรุปคร่าวๆ ว่า
- พีอี คือชื่อของวัตถุดิบพื้นฐาน
- ไดนีม่าคือชื่อจดทะเบียนการค้าของบริษัท DSM เนเธอร์แลนด์
- สเปคตร้า คือชื่อจดทะเบียนการค้าของบริษัท ฮันนี่เวล อเมริกา
- อนาคตอาจจะมีเส้นใย TIVAR และ/หรือ Poly Hi Solidur เข้ามาในตลาดอีก

คุณสมบัติของเส้นใยที่ทำมาจาก UHMWPE Polyethylene คือ
- แข็งกว่าโลหะ 15 %
- จุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 144-152 องศาเซ็นติเกรด (บริษัท DSM แนะนำว่าไม่ควรใช้เส้นใยนี้ในสถานที่ๆ มีอุณหภูมิ 80-100 องศาเซ็นติเกรดเป็นเวลานาน)
- เส้นใยจะกรอบและแตกหักที่อุณหภูมิ –150 องศาเซ็นติเกรด
- ไม่เปียกน้ำง่ายนัก แต่ก็ดูดซึมน้ำได้ในระดับหนึ่ง
- ไม่ค่อยมีปฏิกิริยากับผิวหนัง จึงทำให้รู้สึกลื่นมือ
- มีความต้านทานต่อน้ำ ความชื้น สารเคมีหลายชนิด รังสีUV รวมถึงไมโครชีวภาพ
- ภายใต้แรงดึงต่อเนื่อง เส้นใยจะศูนย์เสียรูปทรง เงื่อนที่ผูกไว้อาจจะมีการไหลเคลื่อนตัวออกได้

หมายเหตุ: การชุบเส้นใยเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมสามารถทำได้โดยการเผาในเตาเผาหรือต้มในน้ำมันซีลิโคนหรือน้ำมันก๊าดที่อุณหภูมิ 135-138 องศาเซ็นติเกรด จากนั้นจึงปล่อยให้เย็นลงด้วยอัตรา 5 องศาต่อชั่วโมงจนเหลืออุณหภูมิ 65 องศา จากนั้นจึงนำมาอบในผ้าฉนวนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงจนอุณหภูมิลดเหลือเท่าอุณหภูมิห้อง

คิดว่าข้อมูลแค่นี้น่าจะเพียงพอเพราะขืนมากกว่านี้ก็คงจะงงกันใหญ่ ผมเองก็เริ่มงงแล้วเหมือนกัน


เอาเป็นว่า สำหรับนักตกปลาซึ่งก็คงสนใจแต่เฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ผมก็อยากจะสรุปแบบ “วิศวกะ” ว่า

- สายถักที่นักตกปลารู้จักและยอมรับกัน ทำมาจากวัตถุดิบ ในกลุ่ม Olefin มีชื่อเรียกกันรวมๆ ว่า UHMWPE Polyethylene
- สายที่ทำจากเส้นใยไดนีม่า ก็คือสายที่ทำจากวัตถุดิบในกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ว่าบริษัท DSM ได้จดทะเบียนกรรมวิธีในการรีดเส้นใยและตั้งชื่อเส้นใยนี้ว่า Dyneema
- สายที่ทำจากเส้นใยสเปคตร้า ก็คือสายที่ทำจากวัตถุดิบในกลุ่มเดียวกัน แต่บริษัทฮันนี่เวลของอเมริกาได้จดทะเบียนกรรมวิธีการรีดเส้นใยและตั้งชื่อเส้นใยนี้ว่า Spectra
- สายพีอี คือชื่อเรียกสายที่ทำจากวัตถุดิบ UHMWPE Polyethylene แต่ใช้กรรมวิธีในการรีดเส้นใยที่เป็นที่รู้กันทั่วไป ไม่ได้มีการจดทะเบียนกรรมวิธีการนั้นโดยผู้ใด


สรุปแบบชาวบ้านก็คือ

- สายพีอีเปรียบเสมือน ผงซักฟอก ใครทำสินค้าสำหรับการซักเสื้อผ้าออกมาก็สามารถเรียกสินค้าของตัวเองว่า ผงซักฟอกได้

- สายไดนีม่า และ สเปคตร้า น่าจะเป็นเหมือน แฟ้บและบรีส คนอื่นไม่สามารถเรียกชื่อสินค้าว่าแฟ้บและบรีสได้ แม้จะผลิตขึ้นมาด้วยสารเคมีคล้ายๆ กัน หรือเหมือนกัน แต่กรรมวิธีในการผลิตต่างกัน


แล้วความแตกต่างของสายแต่ละแบบอยู่ที่ไหน

ขั้นตอนในการผลิตสายถักสำหรับตกปลาก็คงจะเริ่มจากการรีดเส้นใย จากนั้นก็นำเส้นใยเส้นจิ๋วๆ มาทอรวมกันเป็นเส้นด้าย เมื่อได้เส้นด้ายแล้วจึงมามาทอรวมกันอีกเป็นเสมือนเชือก

แต่ละยี่ห้อก็อาจจะมีกรรมวิธีในการทอเส้นด้ายเข้าด้วยกันตามวิธีของตัวเอง บางรายอาจจะใช้เส้นด้ายน้อยเส้น บางรายอาจจะใช้เส้นด้ายมากเส้น บางรายอาจจะมีเส้นด้ายยืนเป็นหลักก่อนจะทอเส้นด้ายอื่นรวมเข้าไป (ลองนึกภาพเชือกต่างๆ ที่เคยเห็นกันตามไปด้วยครับ)

เมื่อทอเป็นเส้นเชือกแล้วแต่ละบริษัทก็อาจจะมีกรรมวิธีเพิ่มเติมเข้าไปอีก เช่นเคลือบสาร ฯลฯ

คุณภาพของสายถักน่าจะต่างกันเนื่องจากกรรมวิธีในการถักทอเป็นเส้นเชือก เพราะพื้นฐานของวัตถุดิบเป็นตัวเดียวกัน

สิ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ สายถักสำหรับตกปลาก็เป็นสินค้าชนิดหนึ่งเฉกเช่นสินค้าอุปโภคทั่วไปที่บางครั้งทางบริษัทก็มีการวางตำแหน่งสินค้าให้แตกต่างจากสินค้าของบริษัทอื่น ความแตกต่างของการวางตำแหน่งสินค้าเป็นไปได้ทั้งความแตกต่างทางกายภาพและความแตกต่างทางบุคคลิค ความแตกต่างทางกายภาพก็คือความแตกต่างของจำนวนเส้นด้าย กรรมวิธีพื้นฐานและกรรมวิธีเพิ่มเติม ส่วนความแตกต่างทางบุคคลิคก็คือการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าที่ดูแตกต่างจากคู่แข่ง เช่นการสร้างภาพว่าบุหรี่ยี่ห้อนี้เป็นบุหรี่สำหรับคาวบอย บุหรี่ยี่ห้อนี้เป็นบุหรี่สำหรับหนุ่มออฟฟิศเป็นต้น



หวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์ ถ้าใครเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ช่วยกันเผยแพร่ไปสู่คนที่เข้ามาใหม่และยังไม่รู้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็ต้องขอโทษที่ทำให้เสียเวลาอ่าน

ขอบคุณ องค์ความรู้
ข้อมูลจาก น้าแหลมแท่น ในเว็บสยามฟิชชิ่ง
และ น้าที่ราบสูงสะเมิง ในเว็ป คนเมืองคับ
no ads
no ads
no ads
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024