สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 19 เม.ย. 67
ตกปลาบึกฟิชชิ่งปาร์ค-ธรรมชาติ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 10 - [18 ธ.ค. 52, 11:56] ดู: 17,292 - [16 เม.ย. 67, 23:46] โหวต: 3
ตกปลาบึกฟิชชิ่งปาร์ค-ธรรมชาติ
wizard_of_ta_river offline
25 พ.ค. 51, 12:05
1
ตกปลาบึกฟิชชิ่งปาร์ค-ธรรมชาติ
ภาพที่ 1
"ปลาบึกตามธรรมชาติควรจะอนุรักษ์ไว้ ถ้าจะตกก็ไปตกตามฟิชชิ่งปาร์คจะดีกว่า"

          ในปัจจุบันปลาบึกได้มีการขยายพันธุ์โดยการผสมเทียม และมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย จนเกือบพูดได้ว่าจะกลายเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ก็ว่าได้

          เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำบางแห่งในขณะนี้ ส่วนมากก็ได้มีการปล่อยพันธุ์ปลาบึก ทั้งที่ในอดีตปลาบึกจะพบในแค่แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น

          กรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกโดยใช้พ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำโขง ในปี 2526  จากนั้นได้ทำการศึกษาวิจัยปลาบึกรุ่นลูก (F1)  โดยเลี้ยงในบ่อดินเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา จนมีความสมบูรณ์เพศ นำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้เป็นครั้งแรกในปี 2543 จึงได้ทำการทดลองเพาะพันธุ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในครั้งนั้นสามารถรีดไข่จากท้องแม่ปลาบึกได้ประมาณ  100  กรัม  สำหรับพ่อปลาบึกรีดน้ำเชื้อได้ปริมาณมาก แต่ไข่ปลาที่ได้รับการผสมจาก น้ำเชื้อพัฒนาไปได้ระดับหนึ่งเท่านั้น และไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวปลาได้ จากประสบการณ์และแนวทางในการเพาะพันธุ์ปลาบึกในคราวนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกในปี 2544  โดยสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544  แม่ปลาน้ำหนัก 54 กิโลกรัม และพ่อปลาน้ำหนัก 41 กิโลกรัม ได้ลูกปลาบึกรุ่นแรก จำนวน 9 ตัว ขณะนี้เหลือรอดเพียง 1 ตัว ถือว่าเป็นปลาบึกตัวแรกที่เพาะพันธุ์ได้สำเร็จ (ปลาบึกรุ่นหลาน F2) โดยใช้เวลารอคอยนานถึง 18 ปี การเพาะพันธุ์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 แม่ปลามีน้ำหนัก 54 กิโลกรัม พ่อปลาน้ำหนัก 60 กิโลกรัม รีดไข่จากแม่ปลาได้ไข่น้ำหนัก 1,200 กรัม น้ำหนักไข่ 1 กรัม นับได้ 656 ฟอง ได้ไข่ปลา 787,200 ฟอง ไข่ได้รับการผสม 558,940 ฟอง (71.0%) ได้ลูกปลา 441,176 ตัว (อัตรารอด 56.04%) เมื่อลูกปลามีอายุ 3 วัน เหลือลูกปลาจำนวน  330,250  ตัว (41.95%) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 แม่ปลามีน้ำหนัก 47 กิโลกรัม พ่อปลาหนัก 40 กิโลกรัม ทำการเพาะพันธุ์และรีดไข่ได้ 743 กรัม น้ำหนักไข่ 1 กรัม นับได้ 506 ฟอง ได้ไข่ปลา 375,958  ฟอง ไข่ได้รับการผสม 242,004 ฟอง (64.37%) เมื่อลูกปลามีอายุ 3 วัน เหลือลูกปลาจำนวน  70,000  ตัว (18.62 %)  ขณะนี้เหลือลูกปลาจากการเพาะพันธุ์ครั้งที่ 2 จำนวน 60,000 ตัว และเหลือจากการเพาะพันธุ์ครั้งที่ 3 จำนวน 10,000 ตัว ลูกปลามีขนาด 5-7 นิ้ว และกรมประมงได้สั่งการให้กระจายลูกปลาไป 4 ภาค ทั้งประเทศ เพื่อปล่อยแหล่งน้ำและจำหน่ายให้ประชาชนนำไปเลี้ยง โดยภาคใต้มีจุดรวมปลาอยู่ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฏร์ธานี  ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น  ภาคตะวันออกอยู่ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี  ภาคกลางอยู่ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดพระนครศรีอยุธยา  ภาคเหนืออยู่ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา  และสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย  นอกจากนี้กรมประมงได้ส่งลูกปลาชุดนี้ไปเลี้ยงยังสถานีประมงทุกแห่งทั่วประเทศ แห่งละ 50 ตัว และศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด แห่งละ 100 ตัว เพื่อเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในรุ่นต่อไป

***ข้อมูลจาก http://www.fisheries.go.th/sf-chiangrai/sara/GiantCatfish.htm ***

          บ่อที่จะผมได้พูดนี้เป็นอ่างเก็บน้ำทั่วไป และมีการลงตาข่ายดักปลาเป็นจำนวนมาก (อ่างเก็บน้ำมี 2 ที่ แต่ละที่มีการปล่อยปลาบึกและมีการให้ลงตาข่ายดักปลา) เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในอ่างจะลดปริมาณลงจนเกือบจะแห้ง ถึงตอนนั้นก็จะมีการประมูลเพื่อให้ได้จับปลากัน เมื่อถึงตอนนั้นปลาบึกที่ได้ปล่อยลงไปก็คงจะไม่เหลือรอดเลย

          การตกปลานั้นไม่ได้ทำลายปลาอย่างมากมายตกมาได้ก็ใช่ว่าจะได้เป็นสิบๆตัวหรือร้อยตัว เหมือนกับการลงตาข่ายและทอดแห ดังนั้นคำพูดที่ว่า "ไม่ควรจะตกเพราะว่าเขาเอามาปล่อยเพื่อขยายพันธุ์ต้องช้วยกันอนุรักษ์ไว้เดียวปลาบึกจะสูญพันธุ์ถ้าจะตกควรไปตกตามบ่อที่เขาให้ตกดีกว่า" จริงอยู่ที่ว่าการที่ตกตามฟิ่ชชิ่งปาร์คเป็นการช่วยอนุรักษ์ แต่อยากรู้ว่าจะช่วยอนุรักษ์ได้มากแค่ไหน ทั้งๆที่ความต้องการภายนอกฟิชชิ่งปาร์คคือความต้องการอาหารของมนุษย์ และไม่มีวันจะสิ้นสุด และไปในทางเดียวกันกับความต้องการของนักตกปลาที่เข้าไปตามฟิ่ชชิ่งปาร์คและอยากตกปลาบึกให้ได้มากที่สุดและตัวใหญ่สุด

          อย่างที่เคยอ่านเจอมาว่า ปลาตามฟิชชิ่งปาร์คจะกินอาหารแต่ละทีก็ต้องเจ็บตัวทุกทีไป ปลาตัวนึงอาจมีแผลเป็นสิบๆครั้งจากการกินอาหารเพื่อความอยู่รอด เพื่อแลกกับความสนุกของนักตกปลา "ที่ยิ้มได้เวลาที่ได้ปลาใหญ่" จะตายให้มันรู้แล้วรู้รอดก็ไม่ได้ เพราะปลาฆ่าตัวตายไม่เป็นนิ แต่ในทางกลับกันตามธรรมชาติ อาหารในแหล่งน้ำอาจมีมากพอที่จะไม่กินเหยื่อของนักตกปลาด้วยซ้ำ จะเลือกกินก็ได้ ไม่เลือกกินก็ได้ ไม่มีใครบังคับ ไม่ต้องทรมานจากการติดเบ็ดหลายครั้งซ้ำๆติดต่อกัน อยู่สบายกว่าฟิชชิ่งปาร์คตั้งเยอะ (ในความคิดผมนะ) ในธรรมชาติน่ะ ติดเบ็ดเพียงครั้งเดียวก็ไม่ต้องทรมานแล้ว (อยู่ในหม้อเลยครับท่าน)

          บางท่านก็เคยพูดเอาไว้ว่า การไปตกปลาเดี๋ยวนี้นักตกปลาส่วนใหญ่ก็อยากได้ปลาติดมือกลับบ้านกันทุกคน เพราะเดี๋ยวนี้อะไรๆมันก็มีราคาแพงขึ้น ลงทุนทั้งที ก็อยากได้ผลตอบแทน อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ได้อะไรติดมือเลย

      และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ถ้าผมจะตกปลาบึกจริงๆ ก็ต้องไปตกบ่อที่ไกลจากบ้านผมประมาณเกือบ 60 กิโลเมตร ค่าน้ำมันก็คงต้องเสียมากแน่ๆ แต่ถ้าเป็นอ่างเก็บน้ำแถวใกล้บ้าน ก็ไม่ถึง 15 กิโลเมตร ไปไกลขนาดนั้นถึงตกปลาบึกได้ แต่ก็เอากลับบ้านไม่ได้ อย่างนี้มันจะคุ้มหรือครับ

          ผมจึงอยากรู้ความคิดเห็นของนักตกปลาทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาอ่านบทความที่ผมเขียนในครั้งนี้ เพราะนี่เป็นความคิดเห็นของผมเองและตกปลาบางท่านมาเขียนลงไว้ด้วย

******* ปล. หากเวปมาสเตอร์เห็นว่าความเห็นในครั้งนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างนักตกปลา หรือไม่สมควรประการใด ก็สามารถลบกระทู้บทความ หรือความเห็นอันนี้ได้ครับ *******
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024