สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 30 เม.ย. 67
ไขข้อข้องใจสาวก AVET : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 17 - [29 มิ.ย. 52, 11:27] ดู: 10,082 - [30 เม.ย. 67, 00:33] โหวต: 4
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
jose^_^ offline
1 พ.ค. 51, 22:42
1
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
ภาพที่ 1
    สวัสดีครับ สาวก AVET ทุกๆท่าน หรือผู้ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ยำวุ้นเส้น(จริงๆ แล้วก็ร่วมผมเป็นหนึ่งในนั้นด้วย)ซึ่งไม่จำเป็นแต่กับ AVET นะครับ 
      เริ่มแรกจากที่ผมตัดสินใจเลือกที่จะเอา AVET MXJ 5.8/1 มาอุปการะเพิ่ม ท่ามกลางเสียงกล่าวขวัญถึงความลื่นจนเกินงามยามตีสาย จนส่งผลให้หลายๆครั้งที่ผมต้องนั่งก้มหน้าก้มตา แก้ยำวุ้นเส้นในมืออย่างชนิดที่บั่นทอนความมั่นใจทุกครั้งที่ตีสาย....และพอหลังจากตีจนหนำใจ(ยังไม่ดีขึ้น) ก็ได้เข้ามาหาข้อมูลการแก้ไขปัญหาในกระทู้บ้าง หรือสอบถามจากเพื่อนๆบ้าง.....จนกระทั่งพบทางสว่าง กับการ ติดหน่วงแม่เหล็ก แต่ก็นั่นแหละครับ ตอนแรกก็ลองทำตามคำแนะนำของหลายๆท่านในบ้านหลังนี้(ขอขอบคุณไว้ ณ. ที่นี้ด้วยครับ) อย่างที่ไม่ค่อยจะอยากเชื่อนัก แต่ปรากฎว่า ได้ผลอย่างเหลือเชื่อ  จึงเริ่มส่งสัยและลองค้นข้อมูลต่างดู ซึ่งผมคาดว่าน่าจะมีอีกหลายๆท่านที่สงสัยเหมือนผม ว่าการทำงานของมันเป็นอย่างรัย
      จึงขออนุญาตินำข้อมูลที่เจอมาให้ เพื่อนๆ น้าๆ ได้อ่านเล่น โดยที่คัดลอกเอามาบางส่วนหากผิดตกประการใดขออภัยด้วยครับ ท่านที่รู้แล้วก็แนะนำเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องได้เลยครับ
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
ภาพที่ 2
กระแสไหลวน(EDDY CURRENT)คืออะไร
        คำว่า “กระแสไหลวน” ในทางฟิสิกส์มีใช้อยู่ในสองสาขาคือ พลศาสตร์ของไหลและแม่เหล็กไฟฟ้า ในพลศาสตร์ของไหล กระแสไหลวน (eddy current หรือ vortex ) คือกระแสของของไหลที่เคลื่อนที่แตกต่างไปจากกระแสหลักของของไหล โดยปกติกระแสไหลวนจะมีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ก้นหอย หรือเกลียว ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดกระแสไหลวน เช่น กระแสไหลวนเกิดขึ้นบริเวณรอบๆพื้นที่ที่มีความดันต่ำและดึงดูดของไหลเข้าหาจุดศูนย์กลางของมัน (พายุใต้ฝุ่น) วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในของไหล (กระแสไหลวนด้านหลังเครื่องบิน) กระแสไหลวนที่เกิดขึ้นเมื่อของไหลไหลผ่านสิ่งกีดขวาง (น้ำไหลผ่านก้อนหินที่โผล่เหนือน้ำในแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว หรือท้ายกระแสหลังตอหม้อสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำลำคลอง)
      สำหรับในแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไหลวน (Eddy current) คือกระแสไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใน วัตถุตัวนำโดยกระบวนการที่เรียกว่าการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ต่อไปนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกระแสไหลวนที่เกี่ยวข้องกับแม่เหล็กไฟฟ้า

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า
  หลักการทางฟิสิกส์ที่สำคัญที่ใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับการเกิดกระแสไหลวนคือ กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s law) และ กฎของเลนซ์
    ในปี ค.ศ. 1824 เออร์สเต็ดได้ค้นพบว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถทำให้เข็มทิศเบี่ยงเบน อีก 7 ปีต่อมา ฟาราเดย์ ได้ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับกระแสเหนี่ยวนำ โดยใช้แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าไปในขดลวดโซเลนอยด์ที่ต่อครบวงจร จากการทดลองพบว่าเกิดกระแสขึ้นทุกครั้งที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้า-ออกจากขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่เข้า-ออกจากแท่งแม่เหล็ก ซึ่งกระแสที่เกิดขึ้นในขดลวดในขณะที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหากับออกจากขดลวดมีทิศตรงข้ามกัน และเมื่อกลับขั้วของแท่งแม่เหล็กก็จะทำให้กระแสไหลเปลี่ยนทิศไปด้วย กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า กระแสเหนี่ยวนำ
การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กตัดกับขดลวดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเรียกว่าการเหนี่ยวนำในขดลวด การเปลี่ยนแปลงสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก การเคลื่อนที่แม่เหล็กถาวรเข้าหรือออกจากขดลวด การเคลื่อนที่ขดลวดเข้าหรือออกจากสนามแม่เหล็ก ซึ่งฟาราเดย์กล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่สนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้นหรือลดลงตัดผ่านตัวนำไฟฟ้ามันจะสร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นบนตัวนำไฟฟ้านั้น ยิ่งสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงเร็วเท่าใดแรงเคลื่อนไฟฟ้าก็จะมากขึ้นเท่านั้น” ขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดหรือตัวนำไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
ภาพที่ 4
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการศึกษาเรื่องกระแสไหลวน
    1. ลูกตุ้มกระแสไหลวน (Eddy current pendulum)
อุปกรณ์ลูกตุ้มกระแสไหลวนมีส่วนประกอบดังแสดงในรูปที่ 6 จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อยกลูกตุ้มพลาสติกให้สูงขึ้นแล้วปล่อยให้แกว่งผ่านสนามแม่เหล็ก และเมื่อยกลูกตุ้มพลาสติกที่มีแผ่นอะลูมิเนียมติดอยู่ให้สูงขึ้นแล้วปล่อยให้แกว่งผ่านสนามแม่เหล็กผลจะเป็นอย่างไรเหมือนกันหรือแตกต่างกันเพราะอะไร (ขณะที่ลูกตุ้มเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กระยะห่างระหว่างแท่งแม่เหล็กกับตัวลูกตุ้มควรน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ขึ้นกับความเข้มของสนามแม่เหล็ก)
    ถ้าเราจัดอุปกรณ์ได้ถูกต้องจะพบว่าลูกตุ้มพลาสติกจะแกว่งไปมาและจะหยุดเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งเนื่องจากการสูญเสียพลังงานจลน์ ส่วนลูกตุ้มที่มีแผ่นอะลูมิเนียมติดอยู่จะเคลื่อนที่ช้าลงอย่างรวดเร็วทันทีที่เข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กและหยุดนิ่งเนื่องจากกระแสไหลวนและขั้วแม่เหล็กเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นบนแผ่นอะลูมิเนียมขณะผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก
  เมื่อแผ่นวัตถุตัวนำขนาดใหญ่เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กปฐมภูมิซึ่งตัดตั้งฉากกับแผ่นโลหะสนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำกระไฟฟ้าวงเล็กๆ ซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กทุติยภูมิที่ตรงข้ามกับสนามแม่เหล็กปฐมภูมิ นี่คือสาเหตุที่ทำไมแผ่นวัตถุตัวนำที่แกว่งผ่านสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง จะหยุดเมื่อมันเริ่มเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก พลังงานจลน์ทั้งหมดของแผ่นวัตถุตัวนำจะเป็นสาเหตุการเปลี่ยนแปลงหลักในสนามแม่เหล็กเมื่อแผ่นวัตถุตัวนำเข้าไปในสนามแม่เหล็กซึ่งจะเหนี่ยวนำวงรอบของกระแสและสร้างสนามแม่เหล็กที่ตรงข้ามเพื่อลดความเร็วของแผ่นวัตถุตัวนำลง ในผลที่ตามมาพลังงานจลน์จะไปขับกระแสเล็กๆ ภายในแผ่นโลหะและจะคายพลังงานออกมาในรูปของความร้อน
 
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
ภาพที่ 5
การใช้ประโยชน์จากกระแสไหลวน
    โดยปกติกระแสไหลวนเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเนื่องจากทำให้สูญสียพลังงานไฟฟ้า AC เพื่อทำให้กระแสไหลวนหมดไป โลหะจะถูกตัดเป็นช่องเล็ก ๆ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสไหลวนขนาดใหญ่ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมแกนของหม้อแปลงจึงเป็นแผ่นเล็ก ๆ และมีฉนวนกั้นระหว่างแผ่นโลหะ สิ่งนี้เป็นการป้องกันการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า AC จากการสร้างกระแสไหลวนภายในแกนของหม้อแปลง
    ในปัจจุบันบางครั้งกระแสไหลวนเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ากระแสไหลวนช่วยเปลี่ยนพลังงานจลน์อย่างรวดเร็วเป็นพลังงานในรูปแบบอื่น ด้วยเหตุผลนี้ระบบเบรกได้รับการสร้างขึ้นมาด้วยการใช้ประโยชน์จากกระแสไหลวน การเพิ่มสนามแม่เหล็กรอบ ๆ แผ่นจานโลหะที่กำลังหมุนจะทำให้เกิดกระแสไหลวนบนแผ่นจานโลหะ กระแสไหลวนจะสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งจะทำให้วัตถุที่กำลังหมุนหมุนช้าลงอย่างรวดเร็วตามความเข้มของสนามแม่เหล็ก
      /// หวังว่า เพื่อนๆ น้าๆ คงพอเข้าใจนะครับ ////  ตกหล่น หรือไม่เหมาะสมประการใด ขออภัยอีกครั้งครับ /// หวังว่าทุกๆท่านคงมีความสุขเพิ่มขึ้น กับรอกตัวโปรด นะครับ ///
ไขข้อข้องใจสาวก AVET
ภาพที่ 6
เพิ่มรูปของผมให้ดูละกันนะครับ ไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่  ของผมใช้แม่เหล็กใน ฮาร์ทดิส ทำเอาครับ ตัดแต่งด้วยคีมตัด และกระดาษทราย แล้วแปะด้วยเทปกาวสองหน้าแบบบางไว้ด้านกริ่งเสียง (เมื่อก่อนติด 4 อัน ตอนี้ถอดออก 1 ครับ) ทำเองได้ครับไม่ยากอย่างที่คิด
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024