สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 30 เม.ย. 67
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3 : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 14 - [17 พ.ค. 52, 02:33] ดู: 12,577 - [29 เม.ย. 67, 01:03] โหวต: 3
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
19 พ.ค. 51, 04:09
1
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3
ภาพที่ 1
ก่อนอื่นต้องกล่าวขอโทษน้า ARTIS16. กับ น้า เล็กแปดริ้ว ที่นำภาพของน้าทั้ง 2 ท่านมาใช้โดยมิได้ขออนุญาตหรือบอกกล่าวล่วงหน้าครับ.

มักมีนักตกปลาหน้าใหม่ๆ คนเลี้ยงปลา  รวมทั้งตัวผม (ที่ไม่มีโอกาสเดินทางตกปลาแบบน้าๆหลายท่าน)  ที่ยังสับสนระหว่าง "ปลาม้า กับ ปลาหางกิ่ว ว่า ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร? " หรือ คำถามที่ว่า "เอาเป็นว่า ปลาม้า เราทราบว่าเราใช้ชื่อวิทย์ว่า Boesemania microlepis ( Bleeker,1858.) และ ปลาหางกิ่ว เราจะใช้ชื่อว่าอะไร? "

จากประสบการณ์ของน้าหลายๆท่านที่ได้สัมผัสตัวจริงของทั้งเจ้าปลาม้าและหางกิ่ว ยืนยันได้ในส่วนของความแตกต่างในเรื่อง "ชนิดของเกล็ดปลาตามลำตัว สีลำตัวของปลา." ในกระทู้บทความนี้ผมเลยลองสอบถามหาข้อมูลเพิ่มเติม ขอเน้นน่ะครับว่า เพิ่มเติมข้อมูล หรือ สันนิษฐาน จากข้อมูลที่ตนเองหามาได้.
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3
ภาพที่ 2
ก่อนอื่นขอกล่าวอ้างฐานข้อมูลที่ผมได้หยิบยกมาอ้างอิง.
1) ภาพพรรณปลาปากแม่น้ำและป่าชายเลน ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
2) THE LIVING MARINE RESOURCES OF THE WESTERN CENTRAL PACIFIC VOL.5.

เริ่มต้นในรายละเอียดที่น้าๆน้องๆส่วนใหญ่ทราบว่า ทั้ง ปลาม้า ปลาหางกิ่ว ปลาจวด ทั้งหมดนั้นอยู่ในวงศ์ปลาเดียวกันคือ วงศ์ Sciaenidae.และจากในหลักฐานอ้างอิงจากหนังสือมีการระบุว่า การจะชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนที่สุดคือ ให้ดูที่.

A) ถุงลม หรือ swimbladder.
B) กระดูกหู หรือ earstone.
ทั้ง 2 อย่างที่พูดถึง เพราะ ในวงศ์ปลาจวดที่ประกอบด้วยหลายสกุล และ หลายชนิดลงมานั้น มีถุงลม และ กระดูกหูที่ไม่เหมือนกันเลยสักชนิด.
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3
ภาพที่ 3
แต่สำหรับนักตกปลา เราคงจะขอดูจากลักษณะภายนอกก็คงพอกระมัง ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนน่ะครับว่าวงศ์ปลาจวดที่เข้ามาในแถบบ้านเรามีการรายงานว่า พบทั้งชายฝั่งทะเล น้ำกร่อย หรือ แม้กระทั่งในระบบแม่น้ำ. ผมจะขอกล่าวอ้างในสกุลต่างๆที่ระบุว่าพบในไทยเช่น สกุล Boesemania , Panna ,Otolithes,Bahaba ,Nibea,Aspericorvina,Johnius (Johnius), Chrysochir , Dendrophysa,Protonibea,Otolithoides,Pennahia, คือในแต่ละสกุลก็จะแตกออกเป็น ชนิด บางสกุลมีชนิดเดียว สองชนิด หรือ มากกว่าสองชนิด

ต่อมาผมจะลองสโคปลงมาให้แคบอีกนิดน่ะครับ ในภาพวาดของวงศ์ปลาจวดในหนังสือเล่มนี้วาดออกมา และ นำมาเทียบกับรูปของน้าเล็กที่ระบุว่าเป็นปลาหางกิ่ว(อยากให้ดูตัวใหญ่ล่างสุด จากในภาพที่3) คือ ส่วนตัวผมสะดุด ที่ก้านครีบแข็งใหญ่ที่ดูเป็นแท่งของครีบก้น ( จากในรูป ครีบก้น คือ ครีบที่อยู่ก่อนครีบหาง) และ ริ้วของครีบท้อง( ครีบท้อง คือ ครีบที่อยู่ใต้ครีบหูหรือที่เราเข้าใจว่าครีบว่ายนั่นแหละครับ) คือเมื่อนำมาเทียบแล้ว ประกอบคำบรรยายที่เทียบการกระจาย สีลำตัว ขนาด มีอยู่ชนิดนึงคือ Bahaba polykladiskos ( Bleeker,1852.) ลองดูในภาพที่ 4 น่ะครับ.
เอารูปปลามานั่งเทียบกันครับ 3
ภาพที่ 4
** หมายเหตุ** 
1) จากในภาพวาดที่ 2 ที่เป็นรูปปลาจวดเขี้ยว เท่าที่ดู จะสังเกตุเห็นว่า ก้านครีบแข็งที่ผมบอกจะมีขนาดเล็กกว่า เมื่อนำมาเทียบกับรูปของน้าเล็ก
2) ผมสันนิษฐานว่า ที่เหล่านักตกปลาบางท่าน เรียกปลาหางกิ่ว ตามความเข้าใจของตนนั้น อาจมีมากกว่าหนึ่งชนิดก็เป็นไปได้ครับ.
3) ในปลาม้าถ้าสังเกตุจะพบว่ามีก้านครีบแข็งนี้ด้วยน่ะครับ แต่ความยาวมันจะยาวไม่สุดปลาย.

ทั้งหมดนี้ผมสันนิษฐานด้วยความเข้าใจส่วนตัวโดยนำมาเทียบกับหลักฐานอ้างอิงตามที่กล่าวข้างต้น หากท่านใดมีรายละเอียดและข้อมูลมากกว่า หรือ ข้อมูลที่ขัดแย้งที่หักล้างได้ อยากรบกวนโพสท์มาเลยครับ ผมจะดีใจมากๆ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับนักตกปลาที่อยู่ในเว็บแห่งนี้ครับผม ท้ยสุด หากตัวอักษรใดที่ผมพิมพ์ตกหล่น หรือ เกินมา ต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้ด้วยน่ะครับ และต้องขอขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาอ่าน แต่อย่าเพิ่งฟันธงว่าถูกต้องทั้งหมดน่ะครับ.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024