อ่านสักนิดก่อน เรื่องกฏหมายทางอินเตอร์เน็ท: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 23 อ่าน 5,016 โหวต 8
อ่านสักนิดก่อน เรื่องกฏหมายทางอินเตอร์เน็ท
ตั้ง: 8 พ.ค. 51, 19:18
ลองอ่านกันดูสำหรับนักเลง คีบอร์ดทั้งหลาย หรือ พวกมือดี..หัวคิดแจ่มที่
ระบาย หรือ ทำสิ่งอื่นใดผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต

สำหรับคนที่คิดจะ Hack
สำหรับคนที่เป็นพวกนักเลงคีย์บอร์ด
สำหรับคนที่ไม่รุ้กฎหมาย
สำหรับคนที่ป่วนโลก Cyber

กรุณาอย่านำข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่นมาโพสต์กระทู้นะครับ เพราะคนโพสต์สามารถถูกฟ้องรองเอาได้นะครับ

อ้างอิง

http://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=O24440


ข้อมูลรวมทั้งหมด ศึกษษเพิ่มเติมได้จาก

http://www.lawyerthai.com/articles/it/index.php


ขอได้รับความสุขความเจริญ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตาม... ขอบคุณครับ
คห.1: 8 พ.ค. 51, 19:19
กฎหมายการใช้งานอินเตอร์เน็ต...
หมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตกับความรับผิดทางแพ่ง :: Lawyerthai.com

ผมเขียนเกี่ยวกับการหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตมาหลายเรื่องแล้วครับ

แต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทางอาญาทั้งสิ้น จริง ๆ แล้วถ้ามีคนมาหมิ่นประมาท

เราทางอินเทอร์เน็ต นอกจากการไปฟ้องร้องเป็นคดีอาญา หรือการแจ้ง

ความร้องทุกข์กับตำรวจแล้ว เราก็ยังมีช่องทางอีกช่องทางหนึ่งครับ

เพราะเราอาจจะไม่ต้องการให้คนทำผิดได้รับโทษอาญา แต่อยากจะฟ้อง

ร้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง อันนี้ก็ทำได้เช่นกันทางกฎหมาย แต่เงื่อน

แง่ทางกฎหมายอาจจะต้องต่างกันสักนิดครับ คือหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น

กฎหมายเขาหมายถึง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน

ความจริง (คือข้อความเท็จจริงเท่านั้นถึงจะผิดครับ ถ้าจริงก็ไม่ผิด ต่างกับ

ทางอาญาที่หลักคือจริงหรือไม่จริงก็ผิดครับ เพียงแต่มีข้อยกเว้นให้พิสูจน์

ความจริงได้ในบางกรณี) และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสีย

หายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่นครับ

ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง

แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นครับ

คดีหมิ่นประมาทที่ผมสังเกตส่วนใหญ่เขาก็จะไปฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งกันครับ

แล้วก็เรียกค่าเสียหายกันมากๆ นัยว่าเพื่อจะให้จำเลยเข็ดหลาบครับ ซึ่งถึง

เรียกไปสูง ศาลไทยท่านก็จะลดลงมาโดยดูจากความเสียหายที่แท้จริงเท่า

นั้นครับ เพราแนวคิดของไทย การลงโทษให้จำเลยหลาบจำถือเป็นเรื่องของ

การดำเนินคดีอาญาครับ ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น อเมริกานั้น แม้ในคดีแพ่ง

เขาก็มีแนวคิดในเรื่อง “ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ” (punitive damage) ด้วย

ครับ ซึ่งก็จะใช้กับคดีที่มีการฟ้องรัองบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ

ประชาชนจำนวนมาก ศาลเขากำหนดค่าเสียหายให้กับฝ่ายโจทก์จนบริษัท

เหล่านั้นบางบริษัทต้องล้มละลายไปเลยก็มีครับ ส่วนกรณีหมิ่นประมาทผม

ไม่แน่ใจว่าศาลอเมริกาเขาจะนำแนวคิดเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษมาใช้

หรือไม่ แต่ยังไงผมก็มองว่าแนวทางของศาลไทยในเรื่องนี้น่ะถูกต้องแล้ว

ครับ เสียหายเท่าใดก็ควรได้รับค่าเสียหายเพียงเท่านั้น

คดีแพ่งเรื่องหมิ่นประมาท ในประเทศไทยยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็น

คือ เรื่องศาลที่จะฟ้องคดีครับ หลักในเรื่องนี้คือโจทก์ฟ้องคดีได้ที่ศาลที่

จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่เป็น ที่เกิดของเหตุในการฟ้องคดีครับ

ทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ หนังสือ

พิมพ์มันส่งไปขายทั่วประเทศนี่ครับ ฝ่ายผู้เสียหาย ซึ่งมักเป็นนักการเมือง

เขาก็ถือว่าความผิดเกิดขึ้นทั่วประเทศครับ ก็เลยตระเวนไปฟ้องตามศาลต่าง

ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้จำเลยต้องตามไปแก้คดีครับ เรื่องหมิ่นประมาททาง

อินเทอร์เน็ตนี้ผมว่าอาจทำให้เกิดปัญหาอย่างเดียวกันตามมาก็ได้ เพราะข้อ

ความหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตมันก็ไปเปิดดูได้ทั่วประเทศนี่ครับ ไป

หมิ่นประมาทใครก็ควรเตรียมวิ่งรอกแก้คดีไว้ด้วยนะครับ

อ้างอิง 


http://www.lawyerthai.com/articles/it/020.php
คห.2: 8 พ.ค. 51, 19:20
Webmaster ไม่มาดูแล Website มีความผิดหรือไม่ ::
โดย Lawyerthai.com

หลายคนคงเคยเจอปัญหาแบบเดียวกับผม คือ เข้าไปดู Website ที่ชอบครั้ง

แล้วครั้งเล่า วันแล้ววันเล่า ก็พบว่า เจ้าของเวบหรือ Webmaster ไม่มาดูแล

หรือมา Update เวบบ้างเลย โอยย มันช่างน่าหงุดหงิดเสียจริง ข่าวสารที่

อยากเข้ามาดูก็พบว่าเป็นข่าวเก่าตั้งแต่ปีมะโว้ เรื่องราวต่างๆภายในเวบก็นิ่ง

สนิท หยุดอยู่กับที่ คงมีแต่ส่วนของ Webboard และ Guessbook เท่านั้นที่

ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่บ้าง จากบรรดาขาประจำทั้งหลาย (รวมทั้งผม

ด้วย)

ผมก็เลยลองมาคิดดูว่า การกระทำของ Webmaster ดังกล่าว ถือว่ามีความ

ผิดตามกฎหมายหรือไม่ ก็ได้ความว่า ในเบื้องต้นหากไม่มีเหตุการณ์อะไร

เกิดขึ้น ก็ต้องบอกว่า ไม่มีความผิด เพราะการไม่มาดูแล Website ไม่ถือว่า

มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด

แต่ปัญหามันจะเกิดหากว่า ใน Website ดังกล่าว เกิดมีเรื่องมีราว หรือเกิดมี

คดีความขึ้น หรือเกิดเหตุที่ต้องพิพาทกันตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิด

จากตัว Webmaster เลย กรณีนี้เราจะมาดูกันว่า Webmaster ต้องร่วมรับ

ผิดกับการกระทำดังกล่าวด้วยหรือไม่

ขออนุญาตยกตัวอย่าง กรณีเวบ www.metalthai.com (ที่ผมชอบมาก ต้อง

เข้าไปดูทุกวัน) ในส่วนของกระทู้ มีการ Post ข้อความโต้ตอบกัน (ด่ากัน)

ไปมา แล้วคราวนี้ลามปามไปพาดพิงถึงสถาบันต้องห้ามของสังคมไทย ซึ่ง

การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอาญา แล้ว Webmaster ของ

www.metalthai.com ต้องรับผิดด้วยหรือไม่

ในกรณีนี้ ตัวคนที่ Post ข้อความดังกล่าวย่อมต้องมีความผิดตามกฎหมาย

อาญาอยู่แล้ว และถ้า Webmaster มาเจอข้อความดังกล่าวแล้วยังเพิกเฉย

ไม่รีบทำการลบ หรือแก้ไขข้อความนั้นเสีย Webmaster นั้นก็อาจจะมีความ

ผิดด้วย (มีข้อยกเว้นให้อาจไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าไม่ทราบหรือไม่รู้

เห็นเรื่องดังกล่าวเลยจริงๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเปรียบเทียบกับ Webmaster โดย

ทั่วๆไปด้วย-ผู้เขียน)

เช่นกันว่า หากบางเวบไซต์ ให้มีการ Post รูปภาพได้ แล้วคนที่มาเล่นก็

Post รูปโป๊ ลามกอนาจารเข้าไป เมื่อ Webmaster ไม่มาดูแล ก็จะไม่ได้

เห็น(ไม่ได้ดู) ว่ามีอะไรเกิดขึ้น กรณีนี้ก็น่าจะถือว่ามีความผิดด้วยเช่นกัน แต่

ก็ต้องดูด้วยว่าทาง Webmaster ได้วางมาตรการอย่างไรไว้บ้าง ในการ

ป้องกันปัญหาดังกล่าว

แม้ว่ากฎหมายของไทยอาจจะยังไม่พัฒนาถึงขั้นเอาผิดทางอาญาได้ แต่

Webmaster ก็อาจมีความผิดตามกฎหมายแพ่งได้ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ก่อ

ความเสียหายขึ้นเอง แต่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยให้ร่วมรับผิดได้เช่นกัน

ท่าน Webmaster ทั้งหลาย หากได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็ขยันหมั่นดูแล

Website ที่อยู่ในความรับผิดชอบกันด้วยนะครับ เพราะถ้าจะต้องเป็นเรื่อง

เป็นราวกันแล้ว ต้องเสียทั้งเงินทอง เสียทั้งเวลา ดีไม่ดีอาจต้องเสียอิสรภาพ

ไม่คุ้มค่าครับ

ท้ายนี้ ขอขอบคุณ คุณศรรณ ทองประเสริฐ Webmaster แห่ง

www.metalthai.com ที่กรุณามาเป็นตัวอย่างให้ครับ

Heavy Metal Regards

อ้างอิง  http://www.lawyerthai.com/articles/it/059.php
คห.3: 8 พ.ค. 51, 19:20
ถูกละเมิดลิขสิทธิ์แล้วควรฟ้องผู้ทำผิดเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา? ::
โดย Lawyerthai.com

เมื่อท่านถูกใครละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน แล้วท่านรู้ว่าไอ้ใครที่ว่านั้นเป็นใคร

และการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นการกระทำเพื่อการค้า ท่านก็มีทางเลือกทาง

กฎหมายอยู่ 2 ทางครับ คือจะเลือกฟ้องผู้กระทำผิดเป็นคดีแพ่งหรือเลือก

ดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด การเลือกดำเนินคดีอาญานั้นก็อาจจะทำได้

2 ทางอีกเช่นกันครับ ทางหนึ่งคือไปแจ้งความกับตำรวจ ให้ตำรวจสอบสวน

แล้วอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแทนท่านครับ อีกทางหนึ่งคือท่านไป

เป็นโจทก็ฟ้องคดีต่อศาลเองโดยตรงเลยครับ

การเลือกฟ้องคดีแพ่งกับคดีอาญามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันครับ ข้อแรกท่าน

คงต้องถามตัวเองว่าอยากได้อะไรจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดครับ ถ้า

อยากจะได้ค่าเสียหายเป็นหลัก ก็ควรฟ้องคดีแพ่งครับ ถ้าต้องการให้คน

ละเมิดลิขสิทธิ์เข็ดหลาบและต้องการแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่าคนผิดควรรับ

โทษก็ไปแจ้งความหรือฟ้องคดีอาญาครับ ซึ่งถ้าเลือกจะดำเนินคดีอาญาก็

ต้องรีบทำภายใน 3 เดือนนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดครับ

เพราะความผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอม

ความได้ครับ กฎหมายจะกำหนดอายุความทางอาญาไว้ค่อนข้างสั้น ส่วนถ้า

จะดำเนินคดีแพ่งท่านก็มีเวลาในการตัดสินใจฟ้อง 3 ปีนับแต่รู้ถึงการกระทำ

ผิดและรู้ตัวผู้ทำผิดครับ (คดีแพ่งเกี่ยวกับลิขสิทธิ์มีอายุความมากกว่าคดีแพ่ง

ทั่วไปที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีนับแต่รู้ถึงการทำผิดและรู้ตัวผู้ทำผิด)

การฟ้องคดีแพ่งกับคดีอาญามีเงื่อนแง่ทางกฎหมายที่แตกต่างกันครับ ที่ผม

เคยพูดถึงตอนที่เล่าถึงคดีไมโครซอฟท์ - เอเทค ก็คือ คดีแพ่งจะไม่นำหลัก

ผู้เสียหายทางนิตินัยมาใช้ครับ กรณีปัญหาข้อกฎหมายเรื่องล่อซื้อก็จะไม่

เป็นอุปสรรค อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นจุดต่างก็คือ เรื่องมาตรฐานการพิสูจน์ครับ

พูดให้ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าท่านฟ้องคดีแพ่ง ท่านมีโอกาสชนะคดีมากกว่า เพราะ

ในคดีแพ่งเพียงแต่ถ้าพยานหลักฐานของท่านมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายจำเลย

(เช่น 51 : 49) ศาลก็จะตัดสินให้ท่านชนะคดีแล้วครับ เรียกมาตรฐานการ

พิสูจน์นี้โก้ ๆ เป็นภาษากฎหมายว่า preponderance of evidence ครับ ส่วน

ในคดีอาญานั้นแค่ 51 : 49 น่ะ ไม่พอครับ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี

ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นจนปราศจากข้อสงสัยตามสมควร (Proof beyond

reasonable doubt) ครับว่ามีการทำผิดเกิดขึ้น และจำเลยที่ถูกฟ้องเป็นผู้

กระทำผิด ถ้าจะเทียบเป็นตัวเลขก็คงต้องมากกว่า 80 : 20 ล่ะครับ

คดีไมโครซอฟท์-เอเทคนั้นโจทก์เลือกฟ้องเป็นคดีอาญาครับ คงจะเพราะ

ต้องการให้ผู้ทำผิดหลาบจำไม่คิดทำผิดอีก ซึ่งก็ทำให้ศาลนำหลักผู้เสียหาย

โดยนิตินัยมาใช้และมาตรฐานการพิสูจน์ก็เป็นไปอย่างเข้มข้นครับ ส่วนท่าน

ผู้อ่านที่คิดจะฟ้องคดีก็ควรชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับ

เพราะถ้าฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้วแพ้ อาจจะให้ฟ้องคดีแพ่งอีกไม่ได้นะ

ครับ เพราะหลักกฎหมายเขามีว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามคำ

พิพากษาคดีส่วนอาญาครับ (แต่หลักนี้ก็มีรายละเอียดและข้อยกเว้นนะครับ

ซึ่งคงไม่กล่าวในที่นี้ เพราะไม่อยากให้บทความนี้กลายเป็นตำรากฎหมาย

ครับ)

อ้างอิง 

http://www.lawyerthai.com/articles/it/056.php
คห.4: 8 พ.ค. 51, 19:21
Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า? :: โดย Lawyerthai.com

คงต้องยอมรับนะครับว่า ที่มนุษยชาติของเรามีเทคโนโลยีที่ก้าวไกลไปได้

อย่างทุกวันนี้ก็เพราะเราเรียนรู้จากในอดีต เราสามารถเรียนรู้จากความผิด

พลาดของบุคคลอื่นแล้วนำมาพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ การที่มีกฎหมายทรัพย์สิน

ทางปัญญาเข้ามาคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและ

ทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ นั้นก็ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ

ครับ จริงๆ แล้วการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานอกจากจะเป็นการ

คุ้มครองผู้มีความคิดริเริ่มแล้วยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

อีกด้วย เช่นในเรื่องสิทธิบัตร เมื่อเราไปจดทะเบียนให้กฎหมายคุ้มครอง เรา

ก็ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประดิษฐ์ของเราเพื่อให้บุคคลอื่นนำไปพัฒนา

ต่อได้ เป็นต้นครับ

เรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกันครับ ทุกวันนี้

เห็นเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็มีที่หน้าตาเหมือนกันบ้างคล้ายกันบ้างครับ เคยสงสัย

ไหมครับว่าการไป copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้เป็นการ

ละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า หลักก็คือไม่ว่ารูปภาพหรือข้อความใดๆ บน

เว็บไซต์ของผู้อื่น เขาก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ครับ การจะ

ไปทำซ้ำ ทำสำเนา หรือดัดแปลงแม้กับสิ่งเล็กน้อยบนเว็บไซต์ของผู้อื่นก็

เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายนะครับ ถ้าจะทำก็ควรขออนุญาตเจ้าของ

เขาเสียก่อน อย่านึกว่าเจ้าของเขาจะไม่รู้นะครับ วันดีคืนดีเขารู้ขึ้นมาก็อาจ

ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา (ถ้าเป็นการกระทำเพื่อการค้า)ได้ และก็

อย่าไปคิดนะครับ copy แค่รูปภาพ/ข้อความเล็กๆ น้อยๆ แล้วจะไม่ใช่การ

ละเมิดลิขสิทธิ์คนอื่น เพราะเรื่องใกล้เคียงกันนี้เคยเป็นคดีเกิดขึ้นในอเมริกา

เมื่อหลายปีก่อนครับที่บริษัท Apple Computer ฟ้องเรื่อง Microsoft เกี่ยว

กับการละเมิดลิขสิทธิ์ใน Icon ครับ จำได้ไหมครับว่าไอ้ Icon ตัวเล็กๆ น่ะมัน

มีในเครื่อง Mac ของ Apple มาก่อนครับ พอ Microsoft ไปพัฒนา

โปรแกรม windows ซึ่งก็มี Icon ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่คุยกับเจ้าของเก่าก็

เลยมีปัญหาครับ

อย่างไรก็ดี เรื่องการ Copy รูปภาพ/ ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ ก็

คงจะมีข้อยกเว้นเหมือนกันอย่างที่ผมเคยเขียนถึงไปแล้วครับ คือถ้าเป็นการ

ทำเพื่อการศึกษาก็ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ต้องมีการ

ให้ credit กับเจ้าของลิขสิทธิ์เขานะครับ ผมว่าทางที่ดีถ้าจะไป copy อะไร

มาก็ขออนุญาตเขาก่อนก็ดีนะครับ อ้อ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดน่ะหมายถึง

เว็บไซต์ที่เขาไม่ได้ระบุนะครับว่าให้ download ข้อความหรือรูปภาพได้ถ้า

เขาระบุเอาไว้ได้ download ได้ ก็คงไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์ครับ




mok(7679 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.5: 8 พ.ค. 51, 20:04
+1 จัดไปครับน้า...เพิ่งรู้จากน้านี่เหละ.....
ae2(171 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.6: 8 พ.ค. 51, 20:50
ไม่ไหวอ่ะ...ยาวเหลือเกิน..ตาลาย..อิอิ..น้าเบนช์สบายดีนะครับ
คห.7: 8 พ.ค. 51, 20:51
อ่านแล้วตาลายง่ะตาเบนซ์  งิงิ  แต่ก็ให้ความรู้ดีแฮะ

ทู้มีสาระ  ไม่เหมือนทู้ไรสาระของตาเบิร์ด  เอิ๊ก ๆ
คห.8: 8 พ.ค. 51, 20:56
ทู้มีสาระ  ไม่เหมือนทู้ไรสาระของตาเบิร์ด  เอิ๊ก ๆ

อุย ป้า เบิ้ด โดน สะ 


ได้ความรู้เยอะดีคับน้า เบนซ์ ขอก๊อบ เก็บไว้อ่านนะครับ 
คห.9: 8 พ.ค. 51, 21:03
eakl(448 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.10: 8 พ.ค. 51, 21:30
มาดันครับ
trophy(4982 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.11: 8 พ.ค. 51, 21:38
 

ขอแบบสรุปๆ หน่อย ดิน้าเบ็นซ์ อ่านจนตาลายเหมือนกัน 
คห.12: 8 พ.ค. 51, 23:25
+1ไปครับ

ตาลายจริง



ขอบคุณมากๆครับสำหรับความรู้

artorokung(104 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.13: 9 พ.ค. 51, 08:09
+2 ครับน้า ถึงตาลายก็อดทนอ่านจนหมดครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ ครับน้า
คห.14: 9 พ.ค. 51, 09:05
kookai(49 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.15: 9 พ.ค. 51, 11:05
ไม่เหมือนทู้ไร้สาระของตาเบิร์ด  เอิ๊ก ๆ

แบบนี้ถือว่าหมิ่นประมาท ฟ้องเรียก 100 ล้านเลยครับน้าเบิร์ด


เพี๊ยงงง  ใครแซว ขอให้  แห้ว  ขอให้  อ่อน

อันนี้ถือว่าหมิ่นด้วยวิชาไสยศาตร์ ต้องฟ้องกลับ 150 ล้านครับป้านู๋นิ่ม 








ปล.ขออภัยถ้ารบกวนความมีสาระของกระทู้นะครับน้าเบนซ์

คห.16: 9 พ.ค. 51, 11:14
กลับมาเว้นวรรคหน่อยสิ่

จะได้อ่านกันสบายตานิดนึง
คห.17: 9 พ.ค. 51, 11:40
ขอแบบสรุปๆ หน่อย ดิน้าเบ็นซ์ อ่านจนตาลายเหมือนกัน 


ได้ครับน้าเต่า... 

ปล.ขออภัยถ้ารบกวนความมีสาระของกระทู้นะครับน้าเบนซ์


ด้วยความยินดีครับน้าไก่.... 

กลับมาเว้นวรรคหน่อยสิ่


ทีหลังก็แก้เอาเองเลยจิ.... password เค้าตะเองก็มี...


มีอีกหลายกรณีนะครับ.... ลองอ่านเพิ่มเติมดู พอดีผมเพิ่งกลับ

เข้าฝั่งมา....ยังไม่ได้นอนตาลายเหมือนกัน


ขออภัย....หากไม่ได้ทักทายครบทุกท่านนะครับ... 


http://www.lawyerthai.com/articles/it/index.php
คห.18: 9 พ.ค. 51, 12:37
คห.19: 9 พ.ค. 51, 12:44
ทีหลังก็แก้เอาเองเลยจิ.... password เค้าตะเองก็มี...

ลืมไปแล้วง่า อิอิ


จริง ๆ แล้วโจ้เองก็เคยมีปัญหาเกี่ยวกับกรณี การถูกนำภาพไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ไม่ใช่คนเจ้าระเบียบอะไรค่ะ เพียงแต่รับไม่ได้กับคนบางพวกที่นำภาพไปแอบอ้าง

แม้ภาพจะไม่ได้ดีเลิศประเสริฐศรีแม้แต่น้อย แต่ก็มีความภูมิใจที่มันเป็นผลงานของตัวเอง

การละเมิดแบบนี้ เรียกได้เลยว่าไร้ศักดิ์ศรี และดูถูกตัวเองอย่างแรงกล้า

ภาพทุกภาพที่นำมาลงอินเตอร์เนต เจ้าของภาพเต็มใจที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะอยู่แล้ว

แต่ไม่ยินยอมให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพราะลิขสิทธิ์มันเป็นของเจ้าของภาพ

โดยชอบธรรมตั้งแต่กดชัตเตอร์ค่ะ ดังนั้น หากเป็นไปได้การให้เครดิตเจ้าของภาพเอาไว้

ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย มิใช่หรือ อิอิ
คห.20: 9 พ.ค. 51, 23:02
ขอบคุณครับ ตาเบนซ์   :grin: :laughing: :sleeping: :tongue: :laughi
ขอบคุณครับ ตาเบนซ์ 
คห.21: 11 พ.ค. 51, 23:39
คิดฮอด.....หลายเด้อ...
ความรู้...มากมาย......
คห.22: 14 พ.ค. 51, 18:41
คห.23: 14 พ.ค. 51, 20:06
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024